การตีความแก้ไข


การเลื่อนตำแหน่งวิทยะฐานะของครูชำนาญการที่ฉันเคยเล่าไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเป็นการให้ส่งเอกสาร 3-5 หน้า เพื่อยื่นต่อ กคศ. คือคณะกรรมการการศึกษา เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติก่อนจากนั้นจึงจะมีคณะกรรมการมาประเมิน โดยมีแบบประเมิน 100 ข้อ โดย รุ่นแรก ที่เขาเป็นเรื่องเป็นราวกันอยู่นั้นคือถ้า พรบ.ผ่านจริงๆปล้วครูคศ.2 ระดับ 7 ที่มีอยู่ 300,000 คนทั่วประเทศนั้น ต้องได้รับการปรับเป็นครูชำนาญการทั้งหมด แต่เขาบอกว่าเป็นการให้อำนาจการดูแลแก่ผู้บริหารเลยต้องมีการ"ประเมิน"ฉันช่วยเขาทำตั้งแต่เสาร์ อาทิตย์ จันทร์ จนถึงนาทีสุดท้ายของการส่งคือเย็นวันอังคารคิดว่าเสร็จแล้วโล่งแล้วที่ไหนได้...ต้องแก้ไข ต้องแก้ไข

พวกพี่ๆ ของฉันก็เข้าประชุม และมีการตีความโจทย์ที่เขาให้มาแล้วก็เขียนตามนั้น มีโจทย์ 3 ข้อ สรุปย่อๆ คือ ข้อ 1 มาตรฐานตามตำแหน่ง ข้อ 2 การปฏิบัติหน้าที่ และข้อ 3 ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน แต่ภาษาหนังสือนั้นทำให้เกิดการเข้าใจผิดอย่างมหาศาล

ที่โรงเรียนของฉันนั้นเป็นธรรมชาติขององค์กรที่มีการแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มละ 5-8 คน แล้วแต่กลุ่มใครกลุ่มมัน ไม่ได้ปิดโรงเรียนทั้งโรงเรียนแล้วร่วมกันทำทั้งโรงเรียนเหมือนที่อื่น การตีความเลยแตกต่างกันไปตามกลุ่ม ทำให้ผู้ตรวจคือท่าน ผอ. ปวดหัวมาก แต่ก็มีพี่ๆ เขาวิพากย์ไว้ว่า"ที่จริง ผอ. น่าจะฉกฉวยโอกาสนี้ แสดงภาวะผู้นำให้ลูกน้องเห็น น่าจะจัดอบรมการเขียน" แต่ก็เป็นไปไม่ได้เพราะเราไม่มีเงินมากพอ ดังนั้นเมื่อเป็นเพราะการสั่งแค่ปากเปล่า และผลของการไมทำร่วมกันทำให้เกิดเรื่องใหญ่ตามมา คือ "ต่องแก้ไขกันทั้งโรงเรียน"

วันส่งคือวันอังคารเย็น พอทุกคนส่งเสร็จเช้าวันพุธสำนักอำนวยการลงเว็บของหลักเกณฑ์ไว้พร้อมทั้งมีข่าวการตีกลับของกลุ่มโรงเรียนที่เขียนผิด ทำให้ 12.30 น. วันพุธ ท่าน ผอ.สั่งแก้ไขทั้งโรงเรียน เดือดร้อนถึงฉันอีกตามเคยเพราะวันที่ 26 ฉันจะไปงานตลาดนัดความรู้ ฉันก็เลยบอกเงื่อนไขพี่ๆ ที่เขาให้ฉันพิมพ์ ว่า ขอให้แก้ไขให้เสร็จคืนนั้น เช้าขึ้นฉันจะไปกรุงเทพฯ พี่ๆ ก็น่ารักมากช่วยกันแก้ไข จนเสร็จ ปาเข้าไป ตี 2 เฮ้อ

การตีความจากตัวหนังสือแล้วนำมาปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องแย่ และยาก ที่จะทำออกมาได้ดี และถูกต้อง เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญกระมังที่เมื่อ"คนที่คิดว่าฉลาด" ตีความเข้าข้างตัวเอง ผลของรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดในขณะนี้ จึงแสดงผลโดยมีกลิ่น ตุ ตุ ให้เห็น อย่างที่เป็นอยู่ ดังนั้น การตีความ จึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมช่วยกันตีความ ไม่เอาเฉพาะความคิดของใครคนใดคนหนึ่ง แต่สังคมครูในวงราชการ เกิดการ sharing ยากจริงๆ เพราะแต่ละคน เก่งกันหมด ...เลยตีความผิดเพราะ ผิดเป็นครู

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13564เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2006 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท