การควบคุมการประกอบการท่าเทียบเรือประมงและสะพานปลา


ท่าเทียบเรือประมงและสะพานปลาเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำธรรมชาติ

      การควบคุมการประกอบการท่าเทียบเรือประมงและสะพานปลา
     ร่างมาตรฐานน้ำทิ้งจากท่าเทียบเรือประมงและสะพานปลา
       ท่าเทียบเรือประมงและสะพานปลาเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยจากการสำรวจของกรมเจ้าท่าในปี 2541 พบว่ามีจำนวนผู้ประกอบการท่าเทียบเรือประมงและสะพานปลาทั่วประเทศประมาณ 730 แห่ง แบ่งเป็นท่าเทียบเรือประมงขององค์กรสะพานปลา 17 แห่ง ท่าเทียบเรือประมงเอกชน 540 แห่ง และท่าเทียบเรือประมงภายใต้โครงการพัฒนาประมงน้ำเค็มชายฝั่งพื้นบ้านของกรมประมง 190 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งจะมีน้ำเสียเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากจากการล้างทำความสะอาดสัตว์น้ำ แปรรูปสัตว์น้ำ รวมถึงการล้างทำความสะอาดท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา และเรือประมง น้ำเสียเหล่านี้จะมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนอยู่เป็นปริมาณมากซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาต่างๆ ของสัตว์น้ำที่จับได้ และมีเศษซากสัตว์น้ำที่เกิดจากกิจกรรมการแปรรูปปะปนมาด้วย โดยส่วนใหญ่จะถูกระบายทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง จากการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งจากท่าเทียบเรือประมงของกองจัดการคุณภาพน้ำในปี 2540-41 ทั้งหมด 18 แห่ง พบว่าปริมาณและลักษณะน้ำทิ้งของท่าเทียบเรือประมงและสะพานปลาในแต่ละวันมีปริมาณน้ำทิ้งเกิดขึ้นอยู่ในช่วง 4-28 ลิตร/ตร.ม./วัน (Click here) เมื่อน้ำเสียเหล่านี้ถูกปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยไม่ผ่านการบำบัดจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งนอกจากจะทำให้แหล่งน้ำนั้นมีคุณภาพเสื่อมโทรมลงแล้ว ยังจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงคุณภาพของสินค้าสัตว์น้ำอีกด้วย เนื่องจากในขบวนการแปรรูปสัตว์น้ำผู้ประกอบการจะใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาตบริเวณใกล้เคียงในการล้างทำความสะอาดสัตว์น้ำ ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมีโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกกองจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งจากท่าเทียบเรือประมงและสะพานปลาขึ้น โดยแนวทางการกำหนดค่ามาตรฐานฯ จะพิจารณาใช้ค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารเป็นหลัก โดยให้บังคับใช้เฉพาะท่าเทียบเรือประมงและสะพานปลาที่จะก่อสร้างใหม่ สำหรับท่าเทียบเรือประมงและสะพานปลาที่มีอยู่เดิมซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลที่มีระบบบำบัดน้ำเสียให้พิจารณากำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการบังคับใช้ พร้อมทั้งให้จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการน้ำเสียจากท่าเทียบเรือประมงและสะพานปลา โดยเฉพาะพื้นที่ที่ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย และยังไม่มีโครงการที่จะก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
พรบ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย
 
ฉบับที่13 พ.ศ.2525 คลิ๊กที่นี  http://www.kodmhai.com/m4/m4-1/Nthailaw-4-1/N250.html 
ที่มา http://www.marinepcd.org/laws/law.html



คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13556เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2006 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท