ผังความคิด


กระบวนการพัฒนาความคิด

                ผังความคิด (Mind Mapping)      ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน  เทคนิคการคิดคือ นำประเด็นใหญ่ ๆ มาเป็นหลักการนำไปใช้
                   1. ใช้ระดมพลังสมอง
                                2. ใช้นำเสนอข้อมูล
                                3. ใช้จัดระบบความคิดและช่วยความจำ
                                4. ใช้วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ
                                5. ใช้สรุปหรือสร้างองค์ความรู้
               
ขั้นตอนการสร้าง
Mind Mapping

                                1. เขียน/วาดมโนทัศน์หลักตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
                                2. เขียน/วาดมโนทัศน์รองที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์หลัก
ไปรอบ ๆ

                                3. เขียน/วาดมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์รอง
                                    แตกออกไปเรื่อย ๆ

                                4. ใช้ภาพหรือสัญลักษณ์สื่อความหมายเป็นตัวแทน
                                    ความคิดให้มากที่สุด

                                5. เขียนคำสำคัญ (Key word) บนเส้นและเส้นต้องเชื่อมโยงกัน
                                6. กรณีใช้สี ทั้งมโนทัศน์รองและย่อยควรเป็นสีเดียวกัน
                                7. คิดอย่างอิสระมากที่สุดขณะทำ
                                               
(ที่มา  :  วิเชียร มหาพรหม,  http://61.19.145.15/CAI2006/33102/m3/joe.htm)
                 ผังความคิด (Mind Map ) เป็นเทคนิคหรือวิธีการสอนที่ผู้สอน
สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งถือเป็น
หัวใจสำคัญให้ผู้เรียนได้คิด ได้ปฏิบัติด้วยตนเอง โดยครูไม่ใช่
ผู้ชี้นำ และผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้ในการพัฒนา
ความคิด การรวบรวมข้อมูล การถ่ายทอดข้อมูล เป็นระบบและ
จดจำได้นานเป็นการถาวร


                          ผังความคิด  เป็นผังภาพที่แสดงถึงความสัมพันธ์
                         ของสาระ  หรือความคิดต่าง ๆ ให้เห็นเป็นภาพรวม
 
                         แล้วมาลำดับความคิดต่าง ๆ ให้เห็นเป็นภาพรวม  
                         แล้วมาลำดับความคิดเรียบเรียงข้อมูล  โดยใช้
                         ความรู้เดิม  มาเชื่อมต่อความรู้ใหม่
 เป็นการสร้าง
                         องค์ความรู้  ให้เกิดในตัวนักเรียน  นักเรียนจะได้คิด
                        วิเคราะห์เอง
 ปฏิบัติจริง  โดยการเขียนหัวข้อหลัก  
                        หรือความคิดรวบ
ยอดไว้ตรงกลาง  
แล้วแตกสาขา
                        ออกไปเป็นความคิดรวบยอดย่อย

                               
( ที่มา 
: 
http://www.edu.pitlok.net/chingchai/tat/mindmapp.html )
                 กระบวนการพัฒนาความคิด 

                            ในการพัฒนาความคิดเราต้องใช้วิธีคิดแบบใหม่  โดยการคิดแบบต่างๆ ดังนี้

1.       การคิดเชิงมโนทัศน์ คือ ความสามารถทางสมองในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง   เรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจน  โดยมีการจัดระบบ  จัดลำดับความสำคัญของข้อมูล เพื่อสร้างความคิดรวบยอดของสิ่งนั้นเรื่องนั้น  การคิดเป็นการคิดแบบสังเคราะห์  คิดแบบวิเคราะห์ 

2.       ประโยชน์

       ช่วย เพิ่มความรู้  ความเข้าใจ  หลักการแนวคิดใหม่ ๆในมโนทัศน์ต้นแบบเช่น  ความยากจนทำให้คนหิวโหย  ความยากจนเกิดจากรายได้  อาชีพ  การศึกษา  สภาพแวดล้อม

                                        ช่วย เปิดประตู  กรงขังแห่งประสบการณ์  ต้องคิดออกนอกกรอบแต่อย่าไปไกลมาก  เดี๋ยวกลับมาไม่ได้  ให้คิดที่เกี่ยวข้องกัน  เป็นการเปิดประตูกรงขังแห่งประสบการณ์

                                        ช่วยแยก แก่น  ออกจาก กระพี้  เช่นขนมเค้ก  ในขนมเค้กอะไรคือ แก่น  อะไรคือ กระพี้

                                        ในตัวขนมเค้ก  อะไรเป็นกระพี้  กระพี้คือ  เนื้อแป้ง  อะไรเป็นแก่น  แก่นคือ  ครีม

กระพี้คือ  ส่วนผสมที่ไม่ใช่หลัก  แก่นคือหลัก   ขนมเค้ก  ส่วนประกอบคือ  ต้องเป็นเนื้อแป้ง  นม  น้ำตาล  เนย  ผงฟู  นี้คือ  แก่น  ส่วนครีม คือ  กระพี้  ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น

 

รูปแบบกรอบมโนทัศน์  มี  5  รูปแบบคือ

 

1)      ผังความคิด(Mind  Mapping)

2)      ผังใยแมงมุม(Web  Diagram)

3)      แผนภูมิเวนน์(Venn  Diagram)

4)      ผังก้างปลา(Fishbone  Map)

5)      ผังมโนภาพ(Concept  Map)

 

หมายเลขบันทึก: 135376เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2007 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เรียนคุณครู

ผมขอชื่นชมครูมากที่พยายามสอนเด็กให้คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความได้ นับว่าเป้นประโยชน์อย่างใหญ่แก่อนาคตชาติต่อไป

เถลิง

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่แวะมาเยี่ยมกัน

ทราบแต่ทฤษฎีจริง ๆ เวลาสอนยังไม่เคยได้ทำมากขนาดนี้..ขอคุณครับ ..ครูบนดอย

สวัสดีค่ะคุณ eyreair

  • ขอบคุณค่ะที่ให้ความสนใจ
  • ขอให้ประสบผลสำเร็จในการนำไปใช้นะคะ
  • เป็นกำลังใจให้ค่ะ

เนื้อหาดีคับ

แต่อยากให้มีรูปแบบผังความคิด

เผื่อจะได้เป็นไอเดียในการทำของผมบ้าง

รูปแบบผังความคิด หรือผังมโนทัศน์มีหลายอย่าง หาดูได้ง่ายๆ จาก google เคยทำเป็น power point ไว้ ลองดูก็ได้ค่ะ คลิกที่นี่

กำลังสนใจวิธีการสอนแบบผังความคิดอยู่คะ เผื่อมีไอเดียในการทำผลงาน

สุดยอดเลยครับครู ขออนุญาต นำไปเผยแพร่ต่อนะครับ ขอบคุณครับ ......

กำลังหาข้อมุลไปสอนอยู่พอดี แผนผังมโนทัศน์การอ่านขอบคุณค่ะ

ขอบคุณทุกๆ ท่านที่สนใจค่ะ

ขอไลนครูนายคะ0982653649ไม่สดวกใช้เมลคะ

ช่วยอธิบาย หรือยกตัวอย่างใช้จัดระบบความคิดและช่วยจำ ให้หน่อยค่ะ

ช่วยอธิบายหรือยกตัวอย่าง ใช้การจัดระบบความคิดและการช่วยจำ ให้หน่อยได้ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท