จุดอ่อนสามประการของนักวิชาการ


แบบนี้เขาไม่เรียกนักวิชาการหรอก

ผมจะมาเล่าต่อ เรื่องที่มสช จัด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานนโยบายสาธารณะ กับเครือข่ายวิชาการซึ่งจำนวนไม่น้อยเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย

เราเชิญผู้มีประสบการณ์จากการเคลื่อนงานนโยบายสาธารณะด้านต่างๆ มาเล่าประสบการณ์อย่างหลากหลาย แต่ที่ผมจะเล่าให้ฟังวันนี้เป็นความเห็นจาก อาจารย์ ปราณ๊ ทินกร คณบดีคณะเศรษศาสตร์ ธรรมศาสตร์ที่นั่งฟังอยู่หลายตัวอย่างก่อนจะยกมือสะท้อนจุดอ่อน 3 ประการของนักวิชาการในมหาวิทยาลัยกับการทำงานเคลื่อนนโยบายสาธารณะ โดยใช้ความรู้ข้อมูล

ข้อที่หนึ่งคือขาด passion แปลว่า ความเร่าร้อน (หรือเปล่า) ในการผลักดันนโยบาย ผมคิดว่าข้อนี้ว่าไปแล้วน่าจะเป็นข้ออ่นอันมาจากวัฒนธรรมของวงการที่คนในวงการเขาอาจถือว่าจุดแข็ง เพราะเวลาผมไปเล่าประสบการณ์การเคลื่อนนโยบายสาธารณสุข ผ่านการทำงานวิชาการ ให้พวกฝรั่งฟัง คำถามที่มักจะเจอก็คือ คุณไม่ทำเกินหน้าที่นักวิชาการไปหน่อยหรือ

ถ้าไม่สุภาพเขาอาจจะอยากบอกเราว่า แบบนี้เขาไม่เรียกว่านักวิชาการหรอกครับ เขาเรียกว่านักเคลื่อนไหวต่างหาก

ข้อสอง่ อจ ปราณีบอกว่า คือการขาด connection ไม่ได้แปลว่าขาดเส้นสายที่จะต่อกับผู้มีอำนาจ (ดพราะเอาเข้าจริงๆนักวิชาการมีเส้นสายต่อได้มากมาย) แต่คงหมายถึงการเชื่อมโยงกับคนในสังคมวงกว้าง เพราะมักมุ่งแต่ภาระกิจในสถาบัน 

ข้อสาม อจ บอกว่านักวิชาการขาดความต่อเนื่องในการทำงาน ซึ่งทางหนึ่งที่อาจจะช่วยได้คือมหาวิทยาลัย ตั้งกลไกที่จะวส่งเสริม สนบสนุอาจารย์ให้ทำงานวิชาการในเรื่องต่างๆ พร้อมกับออกไปมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม ได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น

ถ้ามีกลไกสนับสนุนที่มีงบประมาณชัดเจน อาจจะช่วยให้ข้ออ่อนสองข้อแรกลดความสำคัญลงก็เป็นได้

ท่านอาจารย์ทั้งหลายลองแลกเปลี่ยนหน่อยสิครับ ว่านักวิชาการจะนำความรู้ ข้อมูลจากการวิจัย ไปสู่การพัฒนานโยบายได้แต่ไหนเพียงไร อย่างไร 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13531เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2006 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยครับ  พบได้บ่อยที่ อ.มหาวิทยาลัย ทำวิจัย สักเรื่องแล้วบอกว่าดี  ให้กระทรวงสธ นำไปทำทั้งประเทศ เป็นนโยบาย  โดยที่ไม่ได้เตรียมคน ในระบบหลัก ให้เรียนรู้ สั่งสม ประสบการณ์  ทำโครงการไปด้วยกัน  ดังนั้นเมื่อผลักดันเป็นนโยบาย ใหม่ ได้(รายปี )   คนในระบบหลัก มักไม่เข้าใจเพียงพอ   สักแต่ว่าทำเพราะเป็นนโยบาย  บ้านเมืองจึงไม่ค่อยได้ประโยชน์   และบางทีไม่ได้สื่อกับสาธารณะเพียงพอ กระแสความสนใจก็ไม่ได้รับการตอบรับพอจากชุมชน

ขณะนี้ ระบบเงิน PP โครงการ 30 บาท ทำท่า จะเหลือมาก และ มีแนวโน้ม หลับหูหลับตาใช้จ่าย ให้หมดคล้ายๆงบประมาณประจำปี แผนงานโครงการ ไม่ได้สะท้อนเป้า ผลลัพธ์ที่ดี

ความจริง น่าจะเป็นพันธมิตรกัน ระหว่าง สถาบันวิชาการมืออาชีพ กับ ระบบหลัก ว่า จะมีรูปแบบการทำงานชุดโครงการระยะยาวหน่อย เช่น 3-5 ปี ในเรื่องนี้ เช่น เรื่องอ้วน ก็ได้  โดยจัดสรรเงินจากทั้ง 2 ฝ่าย  ปีละ เท่าใด แล้วแต่จะตกลงกัน  มีคณะทำงาน ที่สนใจจริงจัง ช่วยขับเคลื่อนสังคม หรือ  ช่วย อำนวย ( empower ) ภาคีพันธมิตร ต่างๆ ให้เรียนรู้อย่างว่องไว รับมือได้ทันกับ ตัวอย่างกรณี   การตลาดของภาคธุรกิจ ที่เข้มแข็งมาก    ในโครงการลดปัญหาอ้วนระดับชาติ เคลื่อนไปแล้ว   ผมว่า ยังต้องอาศัยภาคี ระดับล่างๆ ในการต้านทานกับ การตลาดของขนมซองสารพัด

 

 

ประเด็นที่คุณวีรพัฒน์ว่าน่าสนใจมากครับ เพราะเป็นประเด็นที่ตอนประชุมก็มีการคุยกันแยะ นั่นคือเรื่องการที่นักวิชาการต้องลงไปช่วยในขั้นที่เรียกว่า policy implementation ไม่ใช่แค่เสนอว่าควรมีนโยบายอะไร เพราะที่จริงอาจเกิดได้สองกรณี

กรณีแรกคือ หลังเสนอไปแล้ว หรือมีนโยบายไปแล้ว ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะระบบไม่พร้อม

อีกกรณีหนึ่งคือ นโยบายที่เสนอไปเกิดการเอาไปปฏิบัติ แต่เนื่องจากข้อเสนอยังไงก็ไม่มีวันสมบูรณ์จนกว่าจะนำไปปฏิบัติ แล้วนำไปสู่การเรียนรู้ เพื่อเอามาปรับปรุงใหม่

นักวิชาการต้องลงไปคลุกติดตาม เพื่อให้เกิดสิ่งที่ อจ ประเวศ เรียกว่า interactive learning thru actions 

ตัวอย่างนโยบาย 30 บาทที่ว่ามาเป็นตัวอย่างชัดเจนที่ต้องมีการวิจัยคู่ไปการปฏิบัติ เพื่อปรับให้ดีขึ้นเรื่อยๆ มากกว่าไปปล่อยให้ต่างปล่อยข้อมูลมาจากมุมใครมุมมัน

ว่าแต่ว่า คุณวีรพัฒน์ทำงานที่ไหนสนใจจะร่วมประเมินเรื่องงบ pp ของ สปสชไหมครับ ถ้าสน e-mail ไปหาผมที่ มสช ได้ครับ

[email protected] 

สวัสดีครับคุณหมอสมศักดิ์และคุณวีรพัฒน์

ขอบคุณที่ทำให้ผมเกิดอาการ "เอ๊ะ" กรณีที่ทั้งสองท่านเล่าและแลกนั้นพบบ่อยจนจับ pattern ได้ แต่มีบางกรณีที่นักวิชาการไปขลุกและคลุกกับชุมชนและสรรค์สร้างปัญญาและความรู้ออกมา ดังกรณีครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤกษ์ ที่อำเภอสตึก บุรีรีมย์ ท่านมีด็อกเตอร์ด้านดินและด๊อกเตอร์ด้านการศึกาก้าวเดินร่วมทางแบบตีนติดดินด้วยกัน

อย่างนี่น่าจะลองคลี่ minority report ออกมา

คำหลักๆ น่าจะเป็นคำว่า inspired คือมันโดนใจ และมีแฮงขึ้นเยอะเมื่อได้รู้ ได้ฟัง ได้เห็น บุคคลที่เราศรัทธา และ คำว่า compassion อันน่าหมายถึงใจผสานใจเป็นจิตที่ใหญ่ขึ้น

ย้อนตะเข็บของความสำเร็จแม้จะเป็นกรณีหายากหรือ minority report น่าจะเห็นบุคคลผู้สร้างแรงบับดาลใจนะครับ

อย่างคุณหมอสมศักดิ์ แพทย์รุ่นพี่ที่ผมศรัทธานี่ "ใช่เลย" คุณวีรพัฒน์ก็โดนใจไม่เบา

ที่ผมใช้พูดไทยคำอังกฤษคำนั้นรับรองว่าไม่ได้อิทธิพลจาก ฯพณฯ ท่านใด เพราะไม่ดู reality show และเลิกฟังวิทยุเช้าวันเสาร์

ชาตรี เจริญศิริ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท