ประชุมร่วมกับ อาจารย์แพทย์พยาบาล เรื่องตัวชี้วัด โรงเรียนแพทย์ (ตอนที่ 3)


เขาเชื่อมั่นในเรา รักเรา และเชื่อว่าเราจะนำสิ่งดี ๆ ไปให้ชีวิตลูกเขา ก็จะยิ่งพึ่งพิงพื่งพา เราตลอด ถึงแม้เราจะถูกยอมรับ แต่นั่นก็หมายความว่า เราจะต้องเหนื่อย ไปตลอดกาล และจะหนักขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ความตระหนัก ความรู้ ความสามารถในการดูแลตนเอง ของประชาชน จะลดลงเรื่อยๆ

ศ.นพ.ประเวศ วะสี กล่าวว่าทฤษฎีทางการแพทย์ปัจจุบันควรเป็น Health-oriented medicine

จากการถามลูกศิษย์ของพวกเราที่อยู่ตามรพ. ว่า

อะไรคือผลลัพธ์ของการรักษาพยาบาล

คำตอบคือ การรักษาพยาบาลที่ได้คุณภาพมาตรฐาน ผู้ป่วยหายจากโรค ภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด re-admission ต่ำ, length of stay สั้น, อัตราความพึงพอใจให้ถึงมากจน 100% ซึ่งนี่ไม่ใช่ผลลัพธ์ แต่เป็นผลผลิต

ของการให้การรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์พึงได้รับ เมื่อเข้ามารับการรักษาที่รพ.

ส่วนผลลัพธ์ที่แท้จริงคือ ผู้ป่วยสามารถเข้าใจในโรคที่ตนเป็นอยู่ มีความรู้ความสามารถในการดูแลตนเองเท่าที่สมควร อยู่ในสภาวะ
แวดล้อมรพ.ที่เอื้อต่อสุขภาพ และเมื่อกลับไปบ้านสามารถจัดการกับตนเอง
และสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยแห่งการเจ็บป่วยได้ นั่นและ ผลพลอยได้
จึงเกิดเป็นการ มีอัตราป่วยซ้ำลดลง พึ่งพารพ.ลดลงหรือไม่ป่วย
ฉะนั้น ที่คือปัญหาที่ว่า จะทำอย่างไร ให้การเรียนการสอน
ในชั่วโมงเรียนและข้างเตียง มุ่งไปที่ให้ลูกศิษย์ของเรามองถึงตรงนี้
ปัจจุบัน ลูกศิษย์เราจะมุ่งตัวชี้วัดเชิงปริมาณ เช่น การพยายามลด
admission การลดเวลานอนในรพ.อย่างผิดๆ ทำให้เกิดวิชามารต่าง ๆ เช่น ในผู้ป่วย COPD มานอนนาน นอนบ่อย ก็เลยแจกถัง oxygen ให้กลับไปที่บ้าน เพื่อให้ re-admission ต่ำ length of stay สั้น ลดภาระของรพ. โดยไม่ตระหนักว่า
การให้ความรู้ความเข้าใจ เช่น การเปิดออกซิเจนปริมาณมากๆใช้ตามอำเภอใจ หรือการป้องกันความเสี่ยงต่างๆไม่เพียงพอ เช่น ไม่ได้คำนึงว่า
นั่นคือการแจกระเบิดลูกใหญ่ให้ผู้ป่วยเอากลับไปไว้ที่บ้าน แล้วให้ไปซื้อขายแลกเปลี่ยนกับบริษัทห้างร้านเอาเอง

ในส่วนของการส่งเสริมสุขภาพก็เช่นกัน เมื่่อถามว่า
ผลลัพธ์ของการส่งเสริมสุขภาพคืออะไร คำตอบก็มักจะเป็นว่า
เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมอย่างมาตรฐาน คุณภาพดี
เด็กได้รับการตรวจครบ แม่ตรวจหลังคลอดครบ 100%

นี่ก็เป็นเพียงผลผลิต เป็นความครบถ้วนทางสิทธิขั้นพื้นฐานเช่นกัน แต่ผลลัพธ์จริง ๆ ควรมุ่งไปถึงจุดที่
ประชาชนได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพ มีความสามารถในการดูแลตนเองและครอบครัว อยู่ในสภาวะแวดล้อม
ที่เอื้อต่อสุขภาพ ที่ตนเองสามารถจัดการได้อย่างเข้าใจ

ตัวอย่างเช่น เวชกรรมสังคม หรือเวชปฏิบัติครอบครัว ไปฉีดวัคซีน
โดยเคาะตามบ้านครบ 100 หลังถือว่าครบ 100%
แต่พอไม่ได้ออกไป ชาวบ้านที่ลูกถึงกำหนดนัด รู้ถึงประโยชน์ของวัคซีน รู้เวลา มีความตระหนัก
ด้านสุขภาพ ก็จะตรงมาที่รพ. บอกว่า มาขอฉีดวัคซืนเพราะ วันนี้ลูกครบ
กำหนดฉีดวัคซีน เราหวังที่จะให้เป็นอย่างหลังมากกว่า บางคนถึงกับบอกว่า แม่ส่วนใหญ่นั้นแม่ไม่รู้ว่าเราฉีดอะไรให้ลูกเขา แม้ว่าจะรู้ชื่อ แต่ลึกๆแล้ว
มีไม่กี่คนที่รู้จริง ถามว่าแล้วทำไมเขายอมให้เราฉีด เพราะว่าเขาเชื่อมั่นในเรา รักเรา และเชื่อว่าเราจะนำสิ่งดี ๆ ไปให้ชีวิตลูกเขา ก็จะยิ่งพึ่งพิงพื่งพา
เราตลอด ถึงแม้เราจะถูกยอมรับ แต่นั่นก็หมายความว่า เราจะต้องเหนื่อย
ไปตลอดกาล และจะหนักขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ความตระหนัก ความรู้ ความสามารถในการดูแลตนเอง ของประชาชน จะลดลงเรื่อยๆ

(ยังมีต่อครับ)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13485เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2006 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บทความอาจารย์อ่านแล้วได้ประโยชน์มหาศาลเห็นแนวทางและข้อควรระวังที่เราอาจละเลยไปได้  สร้างความรู้สึกอยากทำงานคุณภาพมากขึ้น  อยากให้อาจารยเขียนต่ออีกคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท