เวทีเสมือน


ในความเห็นของผม สำหรับการแลกเปลี่ยนของผู้ปฏิบัติงานแล้ว ควรใช้เวทีจริงมากกว่าเพราะจะได้เสริมสร้างสัมพันธ์ต่อกันได้ง่าย

            ในการจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งผมเปรียบเป็นเหมือนไข่แดงของไข่ทั้งฟองนั้น การจัดเวทีแลกเปลี่ยนจะเป็นการเอื้อโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะมีได้ 2 ลักษณะ คือ

1.  เวทีจริง เป็นF2F เจอหน้ากันจริง เจอตัวจริงเสียงจริง พูดคุยโต้ตอบกันได้เลย อยู่ในพื้นที่การแลกเปลี่ยนเดียวกัน สามารถจัดได้ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการก็ได้

2.  เวทีเสมือน เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วย สื่อสารพูดคุยกันได้ อาจเห็นหน้าตาหรือโต้ตอบกันได้ แต่ไม่ได้อยู่บริเวณเดียวกันขณะแลกเปลี่ยน เช่น

-  การแลกเปลี่ยนกันผ่านทางTeleconference

-  การพูดคุยเป็นกลุ่มทางโทรศัพท์ ผมเคยประชุมพูดคุยหารือกับทีมวิทยากรด้วยกันผ่านระบบนี้ในการประชุมวิทยากรของHA100 อบรมผู้บริหารของ พรพ. ก็ได้ผลดี ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง แต่ไม่เห็นหน้ากัน ได้ยินแต่เสียง

-  การแลกเปลี่ยนผ่านทางอินเตอร์เน็ต สามารถสื่อกันทางตัวหนังสือ รูปภาพหรือการใช้อุปกรณ์ช่วยให้เห็นภาพด้วยก็ได้ แต่จะไม่ค่อยเป็นReal timeนัก เช่นการใช้กรุทู้บนเว็บไซต์ต่างๆ การใช้Weblog อย่างของwww.gotoknow.org เป็นต้น

             ที่โรงพยาบาลบ้านตาก การสื่อสารบนเวทีเสมือนจะใช้การเขียนกระทู้ในwww.bantakhospital.com จึงไม่ค่อยได้เข้ามาเขียนweblogกัน จะมีเฉพาะของผมเท่านั้น แต่ก็ได้พยายามกระตุ้นให้ทีมงานของโรงพยาบาลเข้ามาใช้ แต่เขาขอใช้ในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลก่อน

              ในความเห็นของผม การใช้เวทีเสมือนจะช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดทางด้านสถานที่ เวลาในการแลกเปลี่ยนได้ ลดความประหม่า กังวลในการบอกเล่าได้ แต่หากเป็นเวทีของผู้ปฏิบัติจริงในการทำงานแล้ว การใช้เวทีเสมือนอย่างเดียวจะไม่ค่อยได้ผลนักเพราะจำเป็นต้องมีการปฏิสัมพันธ์กันด้วย หน่วยงานจึงต้องจัดให้มีเวทีจริงด้วย ไม่ควรหวังพึ่งเวทีเสมือนอย่างเดียว

หมายเลขบันทึก: 13410เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2006 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คุณหมอพิเชษฐ์คะ

ในความคิดเห็นของดิฉันนั้น องค์กรควรมีทั้งบล็อกและเว็บบอร์ดคะ

แต่ประสบการณ์ของดิฉันบอกว่า คนไทยส่วนใหญ่จะชอบใช้บอร์ดมากกว่าบล็อก ถามว่าทำไม? ก็คงต้องมาดูที่วัตถุประสงค์ของเทคโนโลยีเหล่านี้คะ

บล็อกคือไดอารี่ แต่บอร์ดก็เหมือนกับสภากาแฟคะ ดังนั้นตามลักษณะวัฒนธรรมของคนไทยนั้น บอร์ดจะน่าสนใจมากกว่าบล็อกคะ

แต่อย่างไรก็ตาม ในความคิดเห็นส่วนตัวของดิฉันนั้น สำหรับด้าน KM แล้ว บล็อกจะเหมาะกับการเป็นเครื่องมือได้ดีกว่าบอร์ดคะ เช่น

- บล็อกมีสภาวะเป็นเหมือนเว็บไซต์ของแต่ละคน มีความสามารถในการจัดการข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเสรีโดยเจ้าของบล็อก ไม่ว่าจะเป็น สร้าง ลบ แก้ไข บันทึก ข้อคิดเห็น หรือ ไฟล์ข้อมูล และในอนาตตยังทำอะไรได้อีกเยอะคะ

- บล็อกสามารถจัดกลุ่มความรู้หรือสร้างแก่นความรู้ของเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งๆ ได้ดีโดยใช้ Keywords หรือ Tags

- บล็อกสามารถแสดงถึงความรู้ในตัวตนของบุคคลแต่ละบุคคลได้อย่างต่อเนื่อง ดังเช่น เมฆความรู้ หรือ Tag cloud

ที่ยกมาก็เป็นเพียงตัวอย่างนะคะ ในเวอร์ชันสองของ GotoKnow.org เจ้าของบล็อกจะมีบอร์ดของตนเองคะด้วยคะ เราจะเรียกว่า ระบบถาม-ตอบ :)

ขอบคุณคะ

            ขอบคุณอาจารย์จันทวรรณครับที่ช่วยชี้แนะ  ผมเองก็อยากให้เจ้าหน้าที่มีบล็อคส่วนตัว แต่เวลาเราพูดมันจะง่าย เวลาทำคงต้องใช้เวลาสักหน่อย การเร่งเร้ามากเกินไปจะเหมือนการเก็บผลไม้อาจจะได้แบบห่ามๆ ไม่ใช่สุกๆ กินได้ไม่อร่อย

             การเขียนบล็อคจะง่ายสำหรับคนที่ชอบเขียน ชอบพิมพ์ แต่สำหรับผู้ปฏิบัติงานจริงๆส่วนใหญ่(ที่ผมเจอ)ที่ถนัดทำมากกว่าพูดมักจะเป็นเรื่องยาก คนที่จะพูดและเขียนได้เก่งมักจะเป็นกลุ่มคุณอำนวยมากกว่า อีกอย่างคนทำงานผู้ปฏิบัติมักไม่ค่อยมีเวลาเข้ามาเขียนเพราะติดภารกิจเรื่องงานที่ทำ ไม่มีเวลาเข้ามาเขียน พอจะใช้นอกเวลางานก็อยากพักผ่อนอีกเพราะวันรุ่งขึ้นก็จะต้องทำงานอีก ยิ่งทำงานกับคนไข้ในโรงพยาบาลด้วยแล้ว จะหาเวลาว่างมาเขียนได้ค่อนข้างยาก ในขณะที่การเขียนกะทู้จะใช้เวลาน้อยกว่า

              แต่คาดว่าในอนาคตจะมีชุมชนบล็อคของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบ้านตากเกิดขึ้นในwww.gotoknow.orgแน่ครับ แต่ขอเวลาบ่มเพาะก่อน

เห็นด้วยอย่างยิ่งคะคุณหมอ ดิฉันมีความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า การจะให้ทุกคนในองค์กรจดบันทึกเขียนความรู้ลงในบล็อกอย่างต่อเนื่องคงเป็นไปได้ยาก

เราคงต้องเลือกคนที่เป็นคุณอำนวยหรือเป็นคุณกิจที่เป็นแชมเปี้ยนแบบทำอะไรทำจริงและมีเรื่องราวความสำเร็จอยู่พอประมาณมาเป็นผู้เขียนบล็อก

และองค์กรต้องให้แรงจูงใจพิเศษแก่หน่วยงานของคุณอำนวยนั้นๆ ที่มาถ่ายทอดความรู้ในสมองมาเป็นตัวอักษรลงบล็อกซึ่งเป็นขุมความรู้ของหน่วยงาน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอดความรู้ ด้วยการแสดงความคิดเห็นลงในบล็อกของคุณอำนวยอย่างต่อเนื่องคะ

ดิฉันสังเกตและสรุปเอาจากตัวอย่างองค์กรที่มาเขียนบล็อกอย่างต่อเนื่องใน GotoKnow.org คะ เช่น ม.นเรศวร สคส. รพ.เทพธารินทร์ ม.ขอนแก่น เป็นต้นคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท