การแก้ปัญหานักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก


การแก้ปัญหานักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก
การแก้ปัญหานักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก                  เมื่อพบว่านักเรียนชั้น ป.4  มีความสามารถเขียนพยัญชนะได้ 34 ตัว  อ่านถูกต้อง 14 ตัว  เขียนและอ่านสระได้ 10 ตัว  อ่านได้บ้างบางคำ สาเหตุเกิดจากการจำพยัญชนะสับสน  จะพัฒนานักเรียนคนนี้อย่างไร                ๏๏  กิจกรรม                1.  แนวคิดคุณครู  ตั้งสมมุติฐานว่า  เมื่อ 3 ปีที่แล้วนักเรียนคนนี้ยังไม่มีความพร้อม  ปีนี้แหละเขาพร้อมที่จะเรียนแล้ว                2.  จัดกลุ่มพยัญชนะที่มีลักษณะคล้ายกันเข้าด้วยกัน  แยกกลุ่มให้ชัดเจนด้วยชอล์กสี  ให้นักเรียนเขียนที่กระดานดำทุกวันจนกว่าจะจำได้แม่นยำ  กภถ      ขชซ     ษบป     ดตคศ     พฬฟ     สล     ผฝ     อฮ     หท     มฆ                                              ( เขียนไปพูดไป  ก ไก่  หัวออกเป็น ภ สำเภา หัวเข้าเป็น ถ    พ พานหางงอเป็น ฬ จุฬา  หางชี้ฟ้าเป็น ฟ ฟัน    ษ ฤๅษีหนวดหาย เป็น บ ใบไม้ ต่อหางยาวไปเป็น ป ปลา  ด เด็กหัวแตกเป็น ต เต่า หัวเข้าเป็น ค ควาย เสียบหางเข้าไปเป็น ศ สาลา  ส เสือ หางหายกลายเป็น ล ลิง ฯ) พยัญชนะ สระอื่นสอนเมื่อพบในการอ่านแต่ละครั้ง                3.  ให้นักเรียนฝึกแบ่งคำโดยไม่ต้องอ่าน  ( ตัวอย่างกิจกรรม กา / ตัว /หนึ่ / งรู้ / สึก  / กระ / หาย / น้ำ / มาก )                  4.  ให้นักเรียนฝึกแยกสระโดยไม่ต้องอ่าน (ตัวอย่างกิจกรรม กา / ตัว /หนึ่ / งรู้ / สึก  / กระ /                                                                         /  ัว  /      /      /        /       /                5.   เมื่อกิจกรรมข้อ 3 , 4  นักเรียนทำได้ดีพอสมควรแล้วจึงฝึกอ่าน  แบบฝึกอ่านควรมีความยาวประมาณ  1 นาที                                5.1  ฝึกอ่านกับครูในระยะแรก                                5.2  ฝึกอ่านโดยเพื่อนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมช่วยแนะนำ                   5.3  ให้บทความไปอ่านเป็นการบ้านทุกวัน                                5.4  สอนนักเรียนคนนี้ใช้โปรแกรมNero WaveEditer   บันทึกเสียงการอ่านไว้ให้ครูฟังเป็นการลดความเครียดจากการอ่านต่อหน้าครู                ๏๏    ใช้เวลา  16  สัปดาห์  นักเรียนคนนี้สามารถอ่านหนังสือออกเป็นที่น่าพอใจ                ๏๏  ๏๏  ความร่วมมือจากทางบ้านเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จ

   นายบุญศรี  แก้วปานกันโรงเรียนบ้านหนองนา  อำเภอโนนสูงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1 
หมายเลขบันทึก: 133644เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

วันนี้ ศน.ไพรวัลย์ มาเป็นวิทยากรอบรมปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาระบบ e-Learning ด้วยโปรแกรม Moodle:LMS ให้แก่โรงเรียนในฝัน 14 โรงเรียน ที่โนนสูงศรีธานี เลยถือโอกาส "แว็บบบบ...." ยาวๆ มาเยี่ยมและแสดงความชื่นชมยินดีคุณครูและผู้บริหารที่สร้างบล๊อคเล่าเรื่องนวัตกรรมไว้ และเสริมคู่มือการเพิ่มบันทึก และการแก้ไขบันทึกไว้ให้ศึกษา ...ที่ http://www.korat1.info/sup/pdf/using%20blog.pdf

(คลิกเข้าไปได้เลยครับ)

...แล้วจะแวะมาชมใหม่นะครับ...

เรื่องนี้มีปัญหาทุกที่แก้ได้ยากเนื่องจากนักเรียนขาดความพร้อม ความสนใจ สมาธิ ครูขาดวิธีการที่ดี เห็นด้วยกับการคิดแก้ปัญหานี้ถึงจะได้มากได้น้อยก็ยังดีกว่าการปล่อยไม่สนใจช่างเถอะ

กัมปนาท จงคล้ายกลาง

สบายดีไหมครับครู

เด็กที่อ่านหนังสือไม่ออกก็อาจจะมาจากครอบครัวที่ไม่อบอุ่นมีปัญหาทางครอบครัวพ่อแม่ไม่พร้อมและขาดการศึกษา

ไม่ใส่ใจลูกเท่าที่ควรนี่ก็ทำให้เด็กอ่านหนังสือไม่ได้เหมือนกันฉะนั้นครอบครัวก็เป็นส่วนหนึ่งเหมือนกัน

ตอนนี้ก็เจออยู่ค่ะ เรียนชั้นป.5 แล้วแต่อ่านไม่ออกเลย คนเป็นครูก็หนักใจค่ะ ต้องทำวิจัยต่อไป เหนื่อยจัง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท