QuestionPoint กับบทบาทของ Reference Service


ระบบ QuestionPoint กับบทบาทของ Reference Service ซึ่งเป็นระบบความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในการจัดให้บริการสารสนเทศ ในการให้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าผ่านระบบออนไลน์ โดยเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดทั่วโลก

หลังจากได้รับแรง (ทั้ง)ผลัก (ทั้ง)ดัน จากคุณวันเพ็ญในการบันทึกบล็อก ก็เลยถือโอกาสเอาวันนี้เป็นฤกษ์ดีในการบันทึกบล็อกเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นก็นึกไตร่ตรองว่าจะบันทึกเรื่องอะไรดีนะ ...ความสนใจในเรื่องต่างๆ ก็ยังไม่ชัดเจนนัก ดูไปดูมาก็เอาประสบการณ์ในการทำงานบรรณารักษ์ และงานที่เกี่ยวข้องนี่แหละที่พอจะกล้อมแกล้มไปได้ ก็ขอเริ่มบรรเลงเลยแล้วกันนะคะ

ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษามีคณะทำงานฝ่ายต่างๆ ในการประสานงานและปฏิบัติงานความร่วมมือระหว่างห้องสมุด โดยแบ่งเป็นคณะทำงานฝ่ายต่างๆ ดังนี้ 1) คณะทำงานฝ่ายเทคโนโลยีสารนิเทศ 2) คณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศ 3) คณะทำงานฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา 4)คณะทำงานฝ่ายวารสารและเอกสาร 5) คณะทำงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ 6) คณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ

       และดิฉันในฐานะหนึ่งในคณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศ ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมในคณะทำงานฯ โดยปกติจะมีวาระการประชุม 3-4 ครั้ง ต่อปี ในการประชุมครั้งก่อนหน้านี้ และครั้งล่าสุดที่ผ่านมาเมื่อปลายเดือนธันวาคม 48 คณะทำงานได้พูดคุยกันถึงเรื่อง ระบบ QuestionPoint กับบทบาทของ Reference Service ซึ่งเป็นระบบความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในการจัดให้บริการสารสนเทศ ในการให้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าผ่านระบบออนไลน์ โดยเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดทั่วโลก (Virtue Reference Desk Collaborative Services)

QuestionPoint เป็นโครงการวิจัย/ พัฒนาระหว่าง LC (Library of Congress) และ OCLC (Online Computer Library Center) สำหรับบทบาท QuestionPoint กับงานห้องสมุดนั้นถือเป็นงานบริการเชิงรุกที่คณะทำงานฝ่ายบริการสารนิเทศ กำลังศึกษาข้อมูลและทดลองใช้ เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ และสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยมีระบบที่จะรองรับงานบริการของห้องสมุดได้ คือ

  • มีฟังชั่นให้บรรณารักษ์ตอบ ติดตาม และจัดการกับคำถามทางอินเทอร์เน็ต
  • เพิ่มประสิทธิภาพและขยายเวลาจัดให้บริการโดยไม่ต้องเพิ่มบรรณารักษ์
  • มีการรายงานและติดตามผลได้ทั้งในแง่ผู้ใช้ และผู้ให้บริการ
  • ผู้ใช้เข้าถึงได้ไม่จำกัดจากทุกที่ ทุกเวลา
  • ทำงานร่วมกัน เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มระดับประเทศ และทั่วโลก

 มีหลักการทำงานง่ายๆ คือ ผู้ใช้บริการสามารถสอบถามข้อมูล/ คำถามต่างๆ ผ่านเข้ามาในระบบ โดยสามารถเลือกดูคำถามที่เคยมีผู้สอบถามมาแล้ว (FAQ) จากฐานข้อมูลคำถามของระบบ หรือหากคำถามนั้นยังไม่มีผู้ถามมาก่อน ผู้ใช้บริการก็สามารถถามคำถามนั้นกับบรรณารักษ์ผ่าน E-mail Reference หรือ Instant Message (Chat) ทั้งนี้ผู้ใช้บริการจะต้องผ่านการลงทะเบียนกับระบบมาล่วงหน้าแล้ว

จากนั้นบรรณารักษ์จะหาค้นคว้าหาข้อมูล และตอบคำถามให้กับผู้ใช้บริการ แต่หากคำถามนั้นบรรณารักษ์ผู้นั้นไม่สามารถตอบคำถามนั้นได้ ก็สามารถส่งคำถามนั้นต่อไปยังบรรณารักษ์ท่านอื่นซึ่งอยู่ในเครือข่ายความร่วมมือที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ (โดยระบบแล้วสามารถแบ่งกลุ่มเป็น Local = ภายในมหาวิทยาลัย/ ภายในประเทศ และ Global = ต่างประเทศ มีห้องสมุดมหาวิทยาลัยของต่างประเทศหลายแห่งได้ใช้มานานแล้ว) ...จริงๆ แล้วรายละเอียดปลีกย่อยของ QuestionPoint นี้ยังมีอีกเยอะค่ะ แต่เกรงว่าจะเยิ่นเย้อมากไป จึงขอบอกการทำงานคร่าวๆ ไว้เพียงเท่านี้ก่อน

ในระยะแรกคณะทำงานฯ ได้ขออาสาสมัครบรรณารักษ์จากห้องสมุดสถาบันต่างๆ เพื่อแบ่งสาขาการตอบคำถามในสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่ สาขามนุษยศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยสำนักหอสมุด ม.นเรศวรลงชื่อเป็นอาสาสมัครในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพค่ะ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระยะที่คณะทำงานฯ ทดลอง และศึกษาการใช้อยู่ค่ะ หากมีความคืบหน้าอย่างไรแล้ว จะมาบอกเล่าภาค 2 กันต่อนะคะ

หมายเลขบันทึก: 13229เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2006 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
เย้ ดีใจจัง

ได้ความรู้ใหม่ๆดีค่ะ   ประเด็นนี้เหมือนเคยได้ยินในวงสัมมนาที่ม.ราชภัฎสวนดุสิตเลยค่ะ  ถ้าได้ข้อมูลเพิ่มเติมใหม่ๆ จะกลับมาสนทนาใหม่นะคะ

การเริ่มต้นเขียน Blog แบบมีเป้าหมายที่ชัดเจน นี้ผมถือว่าประสบความสำเร็จแล้วส่วนหนึ่งครับ ยินดีด้วยครับกับการเริ่มต้นเขียน Blog

และแล้ว ก็ได้อาหารสมองอีก 1 จานใหญ่จ๊ะ

เคยได้ใช้ระบบ questionpoint มาบ้างแล้ว ก็ดีนะค่ะ แต่ตอนนี้ใช้ไม่ได้แล้ว 

มีข่าวมาฝากค่ะ

The Berlin Central and Regional Library (ZLB) ทำโครงการ Multilingual Cooperative Virtue Reference Service ในเครือข่าย QuestionPoint รวมทีมจัดให้บริการได้ 17 ภาษาบน QuestionPoint interface ของห้องสมุดได้ 17 ภาษาแล้วค่ะ ภาษาจีนมีแล้ว ไทยกำลังจะเข้าร่วมค่ะ

ใครพร้อมที่จะฝึกวิทยายุทธ์ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับห้องสมุดรุ่นเดอะในยุโรปก็รีบๆ หน่อยนะคะ ก็เหมือนห้องสมุดของไทยไปเปิดสาขาให้บริการในยุโรป โดยวางแบบฟอร์มถามตอบเป็นภาษาไทยไว้บนเว็บของ ZLB แล้วนำฟอร์มถามตอบเป็นภาษาเยอรมันมาวางไว้บนหน้า Virtual Reference ของห้องสมุดเรา มีช่องทางให้บรรณารักษ์ของทั้งสองฝั่งทำงานประสานกัน เวลาผู้ใช้มาขอข้อมูลในภาษาของ partners หรือที่ห้องสมุด partner น่าจะตอบได้ดีกว่า

ที่เห็นชัดๆ และทำให้ตื่นเต้นมากก็คือ เฉพาะ ZLB มีวารสารและสิ่งพิมพ์กว่า 3.1 ล้านรายการ ในปี 2005 มีผู้เข้าใช้ห้องสมุดจากประเทศต่างๆ ในยุโรป 1.57 ครั้ง และมีการยืมระหว่างห้องสมุด 4.25 ล้านรายการ --- นี่ยังไม่รวม partner ในฝรั่งเศษ ฯลฯ เราเป็น partner ได้ ผู้ใช้ห้องสมุดเราก็สบายยยยย

ความร่วมมือนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจจากหลายๆ โครงการใน QuestionPoint ค่ะ

เพื่อนๆ น้องๆ บรรณารักษ์ทำงานไป เพิ่มพูนฝีมือในระดับอินเตอร์ไปพร้อมๆ กัน โดยไม่ต้องลางานไปเรียน ไม่ต้องจ่ายค่าอบรม รีบๆ กันนะเจ้าคะ สู้เขา!

ทั้งเอาใจช่วย และจะช่วยประสานงานให้เต็มที่ค่ะ 

 สร้อยทิพย์

 

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากค่ะ..

ตอนนี้หนูกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่

อยากได้ข้อมูลมากกว่านี้...ไม่ทราบว่าจะสามารถ...

ขอข้อมูลเกี่ยวกับ ประเด็น

Question Point กับบทบาทของ Reference Serviecs

ได้ทางใดบ้างคะ...กำลังศึกษาเพื่อทำการสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องนี้พอดีค่ะ

ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยนะคะ...

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท