หลักภาษาไทย


คำ 7 ชนิด

ชนิดของคำในภาษาไทยมี 7 ชนิด ได้แก่

คำนาม

ความหมายของคำนาม

คำนามหมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ พืช สิ่งของ สถานที่ สภาพ อาการ ลักษณะ ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม เช่นคำว่า คน ปลา ตะกร้า ไก่ ประเทศไทย จังหวัดพิจิตร การออกกำลังกาย การศึกษา ความดี ความงาม กอไผ่ กรรมกร ฝูง ตัว เป็นต้น

หน้าที่ของคำนาม

๑. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น
- ประกอบ ชอบอ่านหนังสือ - ตำรวจ จับผู้ร้าย

๒. ทำหน้าที่เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ เช่น
- วารีอ่าน จดหมาย - พ่อตี สุนัข

๓. ทำหน้าที่ขยายนาม เพื่อทำให้นามที่ถูกขยายชัดเจนขึ้น เช่น
- สมศรีเป็นข้าราชการ ครู - นายสมศักดิ์ทนายความฟ้องนายปัญญา พ่อค้า

๔.ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์หรือส่วนเติมเต็ม เช่น
- ศรรามเป็น ทหาร - เขาเป็น ตำรวจ แต่น้องสาวเป็น พยาบาล

๕. ใช้ตามหลังคำบุพบทเพื่อทำหน้าที่บอกสถานที่ หรือขยายกริยาให้มีเนื้อความบอกสถานที่ชัดเจนขี้น เช่น
- คุณแม่ของ เด็กหญิง สายฝนเป็นครู - นักเรียนไป โรงเรียน

๖. ใช้บอกเวลาโดยขยายคำกริยาหรือคำนามอื่น เช่น
- คุณพ่อจะไปเชียงใหม่ วันเสาร์ - เขาชอบมาตอน กลางวัน

๗. ใช้เป็นคำเรียกขานได้ เช่น
- น้ำฝน ช่วยหยิบปากกาให้ครูทีซิ - ตำรวจ ช่วยฉันด้วย

 

คำสรรพนาม

ความหมายของคำสรรพนาม

คำ สรรพนาม หมายถึง คำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงมาแล้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก เช่นคำว่า ฉัน เรา ดิฉัน กระผม กู คุณ ท่าน ใต้เท้า เขา มัน สิ่งใด ผู้ใด นี่ นั่น อะไร ใคร บ้าง เป็นต้น

หน้าที่ของคำสรรพนาม

๑. เป็นประธานของประโยค เช่น
- "เขา"ไปโรงเรียน - "ใคร"ทำดินสอตกอยู่บนพื้น

๒. ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค (ผู้ถูกกระทำ) เช่น
- ครูจะตี"เธอ"ถ้าเธอไม่ทำการบ้าน - คุณช่วยเอา"นี่"ไปเก็บได้ไหม

๓. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มหรือส่วนสมบูรณ์ เช่น
- กำนันคนใหม่ของตำบลนี้คือ"เขา"นั่นเอง - เขาเป็น"ใคร"

๔. ใช้เชื่อมประโยคในประโยคความซ้อน เช่น
- ครูชมเชยนักเรียน"ที่"ขยัน

๕. ทำหน้าที่ขยายนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค เพื่อเน้นการแสดงความรู้สึกของผู้พูด จะวางหลังคำนาม เช่น
- คุณครู"ท่าน"ไม่พอใจที่เราไม่ตั้งใจเรียน - ฉันแวะไปเยี่ยมคุณปู่"ท่าน"มา

 

คำกริยา

ความหมายของคำกริยา

คำกริยา หมายถึง คำแสดงอาการ การกระทำ หรือบอกสภาพของคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อให้ได้ความ เช่นคำว่า กิน เดิน นั่ง นอน เล่น จับ เขียน อ่าน เป็น คือ ถูก คล้าย เป็นต้น

หน้าที่ของคำกริยา

๑. ทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค เช่น
- ขนม วาง อยู่บนโต๊ะ - นักเรียน อ่าน หนังสือทุกวัน

๒. ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น
- วัน เดินทาง ของเขาคือวันพรุ่งนี้ ("เดินทาง" เป็นคำกริยาที่ไปขยายคำนาม "วัน")

๓. ทำหน้าที่ขยายกริยา เช่น
- เด็กคนนั้นนั่ง ดู นก ("ดู" เป็นคำกริยาที่ไปขยายคำกริยา "นั่ง")

๔. ทำหน้าที่เหมือนคำนาม เช่น
- ออกกำลังกาย ทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรง ("ออกกำลังกาย" เป็นคำกริยา ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)
- เด็กชอบ เดิน เร็วๆ ("เดิน" เป็นคำกริยา ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค)

 

 

คำวิเศษณ์

ความหมายของคำวิเศษณ์

              คำวิเศษณ์  หมายถึง  คำที่ใช้ประกอบหรือขยายคำนาม  สรรพนาม  คำกริยา  หรือคำวิเศษณ์  เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนและละเอียดมากขึ้น  เช่น
         -   คน อ้วน กิน จุ
   ("อ้วน" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำนาม "คน" "จุ" เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยา "กิน"

        -   เขาร้องเพลงได้ ไพเราะ
            ("ไพเราะ"  เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำกริยา "ร้องเพลง")

        -  เขาร้องเพลงได้ไพเราะ มาก
            ("มาก"  เป็นคำวิเศษณ์ที่ขยายคำวิเศษณ์  "ไพเราะ")

หน้าที่ของคำวิเศษณ

๑. ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น
- คน อ้วน กินจุ ( "อ้วน" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม "คน")
- ตำรวจ หลาย คนจับโจรผู้ร้าย ("หลาย" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม "ตำรวจ")

๒. ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม เช่น
- เรา ทั้งหมด ช่วยกันทำงานให้เรียบร้อย ("ทั้งหมด" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม "เรา")
- ฉัน เอง เป็นคนพูด ( "เอง" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม "ฉัน")

๓. ทำหน้าที่ขยายคำกริยา เช่น
- คนแก่เดิน ช้า ( "ช้า" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำกริยา "เดิน")
- นักกีฬาว่ายน้ำ เก่ง ( "เก่ง" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำกริยา "ว่ายน้ำ")

๔. ทำหน้าที่ขยายคำวิเศษณ์ เช่น
- ลมพัดแรง มาก ("มาก" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำวิเศษณ์ "แรง")
- สมชายร้องเพลงเพราะ จริง ("จริง" เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำวิเศษณ์ "เพราะ")

๕. ทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดง เช่น
- เธอ สูง กว่าคนอื่น
- ขนมนี้ อร่อย ดี

คำบุพบท

ความหมายของคำบุพบท
คำบุพบท หมายถึง คำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค เพื่อให้ทราบว่าคำหรือกลุ่มคำที่ตามหลังคำบุพบทนั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่มคำข้างหน้าในประโยคในลักษณะใด เช่น กับ แก่ แต่ ต่อ ด้วย โดย ตาม ข้าง ถึง จาก ใน บน ใต้ สิ้น สำหรับ นอก เพื่อ ของ เกือบ ตั้งแต่ แห่ง ที่ เป็นต้น เช่น เขามา แต ่เช้า บ้าน ของ คุณน่าอยู่จริง คุณครูให้รางวัล แก่ ฉัน เขาให้รางวัล เฉพาะ คนที่สอบได้ที่หนึ่ง

หน้าที่ของคำบุพบท

๑. ทำหน้าที่นำหน้านาม เช่น
- หนังสือ ของ พ่อหาย - เขาไป กับ เพื่อน

๒. ทำหน้าที่นำหน้าสรรพนาม เช่น
- ปากกา ของ ฉันอยู่ที่เขา - ฉันชอบอยู่ ใกล ้เธอ

๓. ทำหน้าที่นำหน้ากริยา เช่น
- เขากิน เพื่อ อยู่ - เขาทำงาน กระทั่ง ตาย

๔. ทำหน้าที่นำหน้าประโยค เช่น
- เขามา ตั้งแต่ ฉันตื่นนอน - เขาพูดเสียงดัง กับ คนไข้

๕. ทำหน้าที่นำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น
- เขาต้องมาหาฉัน โดย เร็ว - เขาเลว สิ้น ดี

 

 

คำสันธาน

ความหมายของคำสันธาน
คำสันธาน หมายถึง คำที่ใช้เชื่อมประโยค หรือข้อความกับข้อความ เพื่อทำให้ประโยคนั้นรัดกุม กระชับและสละสลวย เช่นคำว่า และ แล้ว จึง แต่ หรือ เพราะ เหตุเพราะ เป็นต้น เช่น
- เขาอยากเรียนหนังสือเก่งๆ แต่ เขาไม่ชอบอ่านหนังสือ - เขามาโรงเรียนสาย เพราะ ฝนตกหนัก

หน้าที่ของคำสันธาน

๑. ทำหน้าที่นำหน้านาม เช่น
- หนังสือ ของ พ่อหาย - เขาไป กับ เพื่อน

๒. ทำหน้าที่นำหน้าสรรพนาม เช่น
- ปากกา ของ ฉันอยู่ที่เขา - ฉันชอบอยู่ ใกล ้เธอ

๓. ทำหน้าที่นำหน้ากริยา เช่น
- เขากิน เพื่อ อยู่ - เขาทำงาน กระทั่ง ตาย

๔. ทำหน้าที่นำหน้าประโยค เช่น
- เขามา ตั้งแต่ ฉันตื่นนอน - เขาพูดเสียงดัง กับ คนไข้

๕. ทำหน้าที่นำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น
- เขาต้องมาหาฉัน โดย เร็ว - เขาเลว สิ้น ดี

 

คำอุทาน

ความหมายของคำอุทาน
คำอุทาน หมายถึง คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ ดีใจ เสียใจ ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด เช่นคำว่า อุ๊ย เอ๊ะ ว้าย โธ่ อนิจจา อ๋อ เป็นต้น เช่น
- เฮ้อ! ค่อยยังชั่วที่เขาปลอดภัย - เมื่อไรเธอจะตัดผม ตัดเผ้า เสียทีจะได้ดูเรียบร้อย

หน้าที่ของคำอุทาน

๑. ทำหน้าที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด เช่น
- ตายจริง! ฉันลืมเอากระเป๋าสตางค์มา
- โธ่! เธอคงจะหนาวมากละซิ
- เอ๊ะ! ใครกันที่นำดอกไม้มาวางไว้ที่โต๊ะของฉัน

๒. ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักของคำ ซึ่งได้แก่คำอุทานเสริมบท เช่น
- ทำเสร็จเสียทีจะได้หมดเรื่อง หมดราว กันไป
- เมื่อไรเธอจะ หางง หางานทำเสียที
- เธอเห็นฉันเป็นหัวหลัก หัวตอ หรืออย่างไร

๓. ทำหน้าที่ประกอบข้อความในคำประพันธ์ เช่น
- แมว เอ๋ย แมวเหมียว
- มด เอ๋ย มดแดง
- กอ เอ๋ย กอไก่

คำสำคัญ (Tags): #คำ 7 ชนิด
หมายเลขบันทึก: 132168เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2007 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท