สาธิต การยกระดับการรู้หนังสือ


ยกระดับการรู้หนังสือ กศน
สาธิต การยกระดับการรู้หนังสือ
วันนี้ได้ดูข่าว นายก ที่ลงไปสาธิตการแก้ปัญหาความยากจนที่อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด สิ่งที่เป็นประเด็นน่าสนใจ สำหรับ กศน. คือ
1. การแก้ปัญหาเป็นการแก้ปัญหารายบุคคล ไม่ใช่แก้ปัญหา ทั้งครอบครัว ทั้งหมู่บ้าน หรือ ทั้งตำบล นั้นคือ สอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละบุคคล ซึ่งวิธีการก็คือ พูดคุยปัญหากับชาวบ้านที่ละคน (ไม่ใช่มาประชุมชาวบ้านทั้งหมด แล้วสอบถามปัญหารวมๆ ซึ่งวิธีนี้ จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด) วิธีการนี้น่าจะได้ผล โดยเฉพาะการนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษานอกโรงเรียน ในเรื่องการยกระดับการรู้หนังสือ ที่มีการนำร่อง 1 อำเภอ 1 ตำบล ต้องมองกลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคล วิเคราะห์ และจัดกิจกรรมเป็นรายบุคคล (ตรงกับยุทธศาสตร์ กศน. ข้อที่ 1)
2.การทำงานจะเริ่มจากการซักถามปัญหา สาเหตุ ของปัญหา แล้วต้องวิเคราะห์ให้ออกว่า สาเหตุของปัญหาคือ อะไร วิเคราะห์ผิด ก็แก้โจทย์ผิด การแก้ปัญหาจึงเหมือนกับ หมอ วินิจฉัยโรค ซักถาม พูดคุย จนหาข้อสรุปของปัญหาได้อย่างถูกต้อง
3. ข้อมูลมีความสำคัญมาก จะเห็นนายกถือสมุดบันทึก ซึ่งเข้าใจว่า จะเป็นข้อมูลรายบุคคล กศน. น่าจะทำสมุดบันทึกแบบนี้ เหมือนสมุดพก หรือสมุดประจำตัวนักเรียน หรือทะเบียนประวัติคนไข้ ซึ่งเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ (และข้อมูลเหล่านี้ ถ้าถูกนำมาบันทึกลงฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์ ก็คงจะดี) เวลาจะไปจัดกิจกรรม หรือ ทำอะไรก็ตาม จะได้ดูข้อมูลจากที่เดียวกัน
4. การแก้ปัญหา ต้องทำให้เสร็จสิ้น ใช้คำว่า สะเด็ดน้ำ คือแก้ทันที และแก้ให้จบ ไม่ใช่โยนปัญหาไปไว้ที่อื่น หรือต้องไปทำต่อที่อื่น
5.การไปทำครั้งนี้ เป็นการสาธิต เพื่อให้ที่แนนำแนวทางไปปฏิบัติ เหมือนกับ กศน. เหมือนกัน ถ้าจะยกระดับการรู้หนังสือ คงจะต้องหาทางที่จะสาธิตให้ ผู้ที่จะปฏิบัติงาน ในตำบลต่างๆ ได้ดูว่า วิธีการทำอย่างไร โดย ต้องทำเหมือนกับ นายกไปสาธิตที่อาจสามารถ (สำนักบริหารงาน กศน. จะสาธิตเรื่องนี้ สัก ตำบลหนึ่งได้ไหม ว่า การยกระดับการรู้หนังสือ ทำอย่างไร)
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13079เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2006 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ความจริงแนวทางที่นายกไปดำเนินการ ก็ตรงกับ ยุทธศาสตร์ ตาม Roadmap กศน. อยู่แล้ว ในส่วนของกระบวนการ แต่สิ่งที่ยังไม่เห็นชัดเจนคือ หลังจากที่หมอวิเคราะห์คนไข้แล้ว จะทำอย่างไรต่อได้บ้าง จึงจะยกระดับการรู้หนังสือได้ และอีกประการหนึ่งคือ คนไข้ไม่ค่อยอยากมารักษาโรคนี้ (โรคระดับการศึกษา) แต่อยากรักษาโรคอื่นที่โคม่ามากกว่า คือ โรคควมยากจน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท