เวลาละหมาด (ตารางคำนวณจากคณะวิทยฯ)


เมื่อวานได้เขียนถึงเวลาละศีลอด ก็คือเวลาหนึ่งของเวลาละหมาดของมุสลิมทุกคน

การละหมาดที่มุสลิมทุกคนต้องทำนั้นมีเวลาที่แน่นอน จะทำตามใจตัวเอง หรือตามความสะดวกไม่ได้ ดังที่ได้บัญญัติไว้ในอัลกุรอานว่า ..

  إِنَّ الصَّلاَةَ كَانَتْ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ كِتَاباً مَّوْقُوتاً [النساء : 103

ความว่า แท้จริงการละหมาดนั้นเป็นบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลาไว้แก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย

และจากอายะฮฺอื่นๆและจาหะดีษหลายหะดีษ บรรดาผู้รู้(อุลามาอฺ)ได้ลงความเห็นพร้อมต้องกันว่า เวลาละหมาดที่มุสลิมทุกคนจะต้องกระทำกันมีทั้งหมด 5 เวลา คือ

  1. เรียกว่า เวลาซุฮรฺ (ظهر) เริ่มตั้งแต่ ดวงอาทิตย์เลยเที้ยงวัน จนถึงเวลาความยาวของเงาของวัตถุเท่ากับความยาวของวัตถุนั้นพอดี
  2. เรียกว่า อัศรฺ( فجر ) เวลาตั้งแต่ความยาวของเงาของวัตถุยาวกว่าตัววัตถุ จนถึงดวงอาทติยตกดิน
  3. เรียกว่า มัฆริบ( مغرب ) ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกดิน(Sunset)เป็นเวลาที่เริ่มละศีลอดได้(ที่ดีควรจะทันที) จนถึงแสงสีแดงเรือๆทางขอบฟ้าฟ้าตะวันตกหมดไป
  4. เรียกว่า อิชาอฺ(عشاء) เริ่มตั้งแต่แสงสีแดงเรือๆหมดไปจนถึงเที่ยงคืน หรือก่อนจะเข้าแสงอรุ่นรุ่ง(ฟัจร)แต่ไม่สนับสนุนให้ยึดเวลานี้ ทีดีควรยึดเวลาถึงเที่ยงคืนเท่านัน
  5. เรียกว่า ฟัจรฺ( فجر )หรือศุบฮฺ( صبح ) เริ่มตั้งแต่อรุ่นรุ่ง(เริ่มแสงเรือๆสีขาว) จนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น(sunrise)

ถ้าเราสังเกตดวงอาทิตย์หมุนรอบโลกในแต่ละเวลาสามารถเขียนเป็นไดอะแกรมดังนี้

 

จะเห็นว่าเวลา อัศรฺ (Shadow) จะมีสองตำแหน่ง

  • ตำแหน่งแรกความยาวเงาของวัตถุเท่ากับวัตถุ นั้นเป็นการเข้าเวลาละหมาดอัศรฺตามทัศนะของชาฟีอี
  • ตำแหน่งที่สอง ความยาวขงเงาวัตถุจะเป็นสองเท่าของวัตถุ เป็นการเข้าเวลาอัศรฺตามทัศนะของฮานาฟี

ตำแหน่งแสงเรือสีแดงหมดไปกับตำแหน่งแสงสีขาวเรือๆ เรียกว่า แสงสนธยา(ไทวไลท์:Twillight) นักวิชาการและอุลามาอฺมีความเห็นต่างกัน

  • Civil Twillight แสงสนธยาปกติ (ประมาณว่าไฟที่เสาไฟฟ้าที่ใช้สวิทช์อัตโนมัตเริ่มติด) มุมดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว(มุมกด:Depression)ประมาณ 6 องศา
  • Nautical Twillight  แสงสนธยาของชาวเรือ ในทะเลจะเห็นขอบฟ้ารางๆ มุมกดประมาณ 12 องศา
  •  Astronomical Twillight แสงสนธยาดาราศาสตร์ ท้องฟ้ามืดสนิท ดวงดาวมองเห็นชัดเจน มุมกดประมาณ 18 องศา

สำหรับการกำหนดเวลาอิชาอฺและเวลาฟัจรฺหรือศุบฮแล้ว นักวิชาการอิสลามได้มีความเห็นของค่ามุมกดต่างๆกัน ซึ่งอยู่ในช่วง 15-20 องศา แสงสนธยาในช่วงของมุมนี้ว่า แสงสนธยาดาราศาสตร์อิสลาม (Astro Islamic Twillight : AIT)

  • University of Islamic Siesnce, Karachi AIT อิชา =18  AIT ศุบฮฺ = 18
  • Islamic Society of North America  AIT อิชา =15 AIT ศุบฮฺ = 15
  • World Islamic League  AIT อิชา =17  AIT ศุบฮฺ = 18
  • Umul Qura (Saudi Arabia)  AIT อิชา =ไม่ปรากฎแต่จะนับหลังจากเริ่มเวลาเข้ามัฆริบ 90 นาทีสำหรับในเดือนปกติ และ 120 นาทีสำหรับในเดือนรอมฎอน   AIT ศุบฮฺ = 18
  • Egyptian General Org. of Surveying  AIT อิชา =18  AIT ศุบฮฺ = 18

จากการศึกษาการกำหนดเวลาทั้งหมดและจากการคำนวนที่ได้เขียนวิธีการคำนวณที่ได้แนะนำในหนังสือ อัลฟาลัก ของ รศ.นิแวเตะ หะยีวามิง ผมได้เลือกคำนวณตารางกำหนดเวลาละหมาดสำหรับ จังหวัดปัตตานีและยะลา โดยใช้ข้อตกลงเบื้องต้นดังนี้

  • ตำแหน่ง ลองติจูด 101.20 องศาเหนือ และ ละตะจูด 6.34
  • เวลาซาวาล คล้อยหลังเที่ยงวัน ไป 2 นาที
  • เพิ่มเวลาหลังตะวันตกดินไปแล้ว 2 นาที (กันผิดพลาด)
  • ใช้ตำแหน่งมุมกด 18 องศา ทั้งเวลาอิชาอฺ และศุบฮฺ
  • เวลาอิมซาก ก่อนศุบฮฺ 15 นาที (ผมเป็นคนอ่านอัลกุรอานช้า 50 อายะฮฺ คิดว่าประมาณ 15 นาที)

สนใจจะนำไปใช้ โหลดได้นะครับ ตารางเวลาละหมาดในเดือนรอมฎอน รับรองไม่ผิดพลาด

วัสสาลาม   

หมายเลขบันทึก: 130062เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เหมาะสมแล้วครับ ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์มุสลิม

อัลฮัมลุลิลลาอ์ครับ มีหะดีษระบุไว้ว่า ความรู้เรื่องอัลฟาลักจะเลือนหายไป ดีที่มหาวิทยาลัยของเรามีอาจารย์ที่สนใจและเชี่ยวชาญเรื่องนี้อยู่

คอบคุณ อาจารย์ มากครับ
ผมพอมีความรู้แบบงูๆปลาๆ หรอก
ที่เขียนขึ้นมา ลุ้นคนอื่นไม่ขึ้น เลยต้องตัดสินใจวกกลับมาทำเรื่องนี้ต่อ

ผมอยากเอาดีทางการศึกษาและจิตวิทยาในอิสลามมากกว่า เพราะระยะหลังเห็นเขาพูดเรื่องวิชาการทางวิทยาศาสตร์รู้สึกจะงงๆ พอควร นะ

 

นักศึกษาวิทยาศาสตร์ ปีสาม

ขอบคุณอ.ทีเคารพยิ่งที่ให้ข้อมูลและความรู้

ขอให้สูขภาพแข็งแรงนะค่ะ

(มอย.)

ผมกำลังทำบลอกเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อยู่ครับอาจารย์ พยายามจะสอดแทรกอารั่ย

ที่เกีย่วกับอิสลามให้มากที่สุด เสนอแนะด้วยครับอาจารย์

ผู้สนใจวิถีชีวิตแบบอิสลาม

ขอบคุณมาก ได้ความรู้มากเลยค่ะ จริงๆแล้วอิสลามมีหลักฐานการอ้างอิงทุกอย่าง อยู่ที่เราจะค้นหาได้มากขนาดไหน ขอบคุณอัลลอฮฺที่พระองค์ทรงเมตตา สร้างเราให้เกิดมาเป็นมุสลิม

ผมภูมิใจมากที่ได้เข้าไปอ่านบทข้อความของอาจารย์ สู้ต่อไปนะคับ

จากบล็อก(คอลัฟ บินลา)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท