BAR : สัมมนาเชิงปฏิบัติการการเป็น CKO รุ่นที่ 2


กลุ่มของ Office KM โดยหัวปลาคือ (KV) ทำอย่างไรให้บรรลุภารกิจด้านการประกันคุณภาพ และภารกิจหลักของสำนักงานเลขานุการ เน้นที่องค์ประกอบที่ 10 ความสำเร็จในภารกิจหลักของสำนักงาน

     หน่วยประกันคุณภาพ ของมหาวิทยาลัยนเรศวร จัด "โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการเป็น CKO : Chief Knowledge Officer , KF : Knowledge Facilitator" รุ่นที่ 2 สำหรับเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานด้าน QA ของหน่วยงานสายสนับสนุน (Non - Teaching) และผู้บริหารสำนักงานเลขานุการคณะ (Office KM) ในวันจันทร์ที่  6-7 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ ณ ทรัพย์ไพรวัลย์ แกรนด์ โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ต

       ผมเห็นในร่าง กำหนดการกลุ่มคนที่ไปแล้ว เป็นกลุ่มคนคอเดียวกันทั้งสิ้น  โดยในส่วนของสำนักงานเลขานุการคณะ ได้แบ่งกลุ่มออกมาอย่างชัดเจน เป็นกลุ่มของ Office KM โดยหัวปลาคือ (KV)  ทำอย่างไรให้บรรลุภารกิจด้านการประกันคุณภาพ และภารกิจหลักของสำนักงานเลขานุการ เน้นที่องค์ประกอบที่ 10 ความสำเร็จในภารกิจหลักของสำนักงานเลขานุการคณะ งานนี้ผมคาดว่า เลขานุการคณะทุกที่ในมหาวิทยาลัยคงไม่พลาด เพราะว่าเวลามีการรวมกลุ่มกันแล้ว มักหาเวลาว่างค่อนข้างยาก ว่างไม่ตรงกัน แต่ละท่านมีภาระงานเยอะ การจัดครั้งนี้ต้องขอขอบคุณหน่วยประกันคุณภาพเป็นอย่างยิ่งที่ได้ให้โอกาสคนคอเดียวกันในสำนักงานเลขานุการคณะ มาเจอกันแบบ F2F นอกสถานที่ ผมเชื่อมั่นว่าจะได้ประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ โดยเฉพาะสำนักเลขานุการคณะ หลาย ๆ แห่งมี Best Practice ที่น่าสนใจ และจะได้มีโอกาส ลปรร. กัน เพื่อส่งผลต่อไปในการทำกิจกรรมแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist) ระหว่างหน่วยงาน การจัดการความรู้เริ่มต้นจากความสำเร็จ เป็นการเรียนลัดจากผู้ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ สำนักงานเลขานุการคณะสหเวชศาสตร์ ได้จัดโครงการเสวนาภาษาออฟฟิศขึ้น โดยส่วนหนึ่ง ต้องการที่จะลปรร.กันระหว่างหน่วยงานที่ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน

        เดิมกลุ่มเลขานุการคณะในมหาวิทยาลัย ไม่ค่อยได้มีโอกาสมารวมตัวกันเพื่อ ลปรร. โดยมากมักจะเจอกันในตอนประชุม หลังประชุมก็แยกย้ายกันไป ส่วนหนึ่งที่ผมได้มีโอกาสทำกิจกรรม Office KM แล้วทำให้เกิดบรรยากาศ ลปรร. ที่ดีครับ การจัดการความรู้ผมเห็นด้วยกับแนวคิดของคุณหมอพิเชฐในเรื่อง 3 ธาร คือ ธารน้ำใจ ธารน้ำคำ และธารปัญญา จำเป็นที่จะต้องจัดการเรื่องความสัมพันธ์ของบุคลากรในหน่วยงานให้มีความเอื้ออาทร ความรัก ความจริงใจที่มีต่อกันให้ได้ก่อน ความรู้ที่ฝังลึกที่มีในตัวคน จึงจะเปิดเผยออกมาด้วยความบรรยากาศแบบเป็นกันเอง คือ ได้ KM ที่เป็นของจริง ส่วนใดที่ผมสามารถช่วยเหลือทางหน่วยประกันคุณภาพได้ ยินดีและเต็มใจเป็นอย่างยิ่งครับ เพื่อคุณภาพของมหาวิทยาลัยนเรศวร

         BAR (Before Action Review) : สัมมนาเชิงปฏิบัติการการเป็น CKO รุ่นที่ 2

         เป้าหมายที่คาดหวังก่อนเข้าร่วมสัมมนาฯ

  • แก่นความรู้ (Core competence) ด้านการประกันคุณภาพ และภารกิจหลักของสำนักงานเลขานุการคณะ ในองค์ประกอบที่ 10
  • บันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Stair Diagram) ของสำนักงานเลขานุการคณะ ว่าหน่วยงานไหนเป็น Best Practice ในเรื่องใด
  • ได้กัลยาณมิตรในหน่วยงานสายสนับสนุนเพิ่มขี้น

         ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • สามารถนำองค์ประกอบที่ 10 ภารกิจหลักของสำนักงานเลขานุการไปใช้ในการประเมินการประกันคุณภาพได้
  • ความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพของสำนักงานเลขานุการอย่างยั่งยืน (หวังมากเกินไปหรือเปล่าไม่รู้)  

     NUKM Blog ช่วยสร้างวัฒนธรรมแห่งการ ลปรร. ให้กับคนในมน. เป็นอย่างดี การสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ จากพลังสร้างสรรค์ในทางบวกเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ และถ้าวันนี้หน่วยงานที่เป็น Best Parctice ในเรื่องใด นำมาแบ่งปันกันจากทาง Blog ก็ดี หรือ แบบ F2F เพื่อเรียนรู้เส้นทางแห่งความสำเร็จแล้ว แม้จะเป็นเพียงความสำเร็จแบบเล็ก ๆ ก็เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยินดี มีกิจกรรมแบบเพื่อนช่วยเพื่อน จะช่วยให้เกิดพลังแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมน. และที่สำคัญจะได้สามารถนำความสำเร็จที่ได้รับไปต่อยอดและพัฒนาให้เจริญก้าหน้าต่อไปครับ

บอย

ชุมชนสำนักงานเลขานุการ

 

หมายเลขบันทึก: 13001เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2006 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ในส่วนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อยู่ระหว่างดำเนินการเกี่ยวกับ CKO แต่เป็นในระดับผู้บริหาร และกำลังตั้งคณะกรรมการระดับคณะฯ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับ KM ก็หวังว่าน่าจะมีอะไรเกิดขึ้นเกี่ยวกับ KM  มีความรู้สึกว่าเราช้ามาก  แต่ในส่วนตัวก็พยายามศึกษาเท่าที่ทำได้  และหวังว่าผู้บริหารคงเอาจริง (มั่ง)

 

สมพร

 

ตอนนี้ก็หาประสบการณ์จากการอ่านของคุณบอยและเพื่อน ๆ ชุมชนสำนักงานเลขานุการ และอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อีกทางหนึ่งครับ (แต่ก็สติแตกบ่อย)เพราะอยากทำนั่น อยากทำนี่ แต่ทีมยังไม่แข็ง  เราก็อ่อนประสบการณ์ คุณวุฒิ วัยวุฒิ และที่สำคัญตำแหน่ง บางครั้งก็ต้องถอยไปหลายก้าว  แต่เมื่ออ่าน blog ต่าง ๆ ที่ทั้งคุณบอย ท่านคณบดีสหเวช ท่านคณบดีคณะศึกษา ฯลฯ  ก็ทำให้มีกำลังใจทำงานขึ้นเยอะครับ  ดังนั้น หลาย ๆ อย่างก็ทำเป็นโครงการนำเข้าทีมปันความรู้สู่ทีม  ค่อย ๆ ซึมเข้าไป (ดีกว่าไม่ทำเน๊าะ)

ผมคิดว่าทุกอย่างอยู่ที่การเริ่มต้น เมื่อเริ่มต้นแล้วต้องไปให้ถึงเป้าหมาย จะช้า เร็ว หรือมีอุปสรรค เป็นสิ่งที่เราต้องฝ่าฟันไปให้ถึง ผมว่า KM เป็นวิธีการเรียนลัดอย่างหนึ่ง คือมองที่ความสำเร็จของผู้อื่น และนำมาเป็นแนวทาง ไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ วันนี้ผมเขียน Blog ได้กัลยาณมิตรที่ช่วยกันเป็นกำลังใจ และเสริมแรงทางบวก เป็นแรงผลักดันที่ช่วยทำให้เราสร้างสรรค์งานให้มีคุณภาพ ถึงแม้วันนี้จะรู้จักหลายคนแบบ B2B อาทิเช่น คุณสมพร แต่ก็รู้สึกว่าได้พบกัลยาณมิตรแล้ว ต้องขอบคุณ สคส. ดร.จันทวรรณ และอีกหลายท่าน ๆ ครับ

ขอบคุณพี่บอยมากนะคะสำหรับความร่วมมือและงานคุณภาพที่พี่บอยมีให้หน่วยประกันคุณภาพฯ ทุกครั้ง :)  และสำหรับงานนี้ขอเชิญพี่บอยทางนี้ (อย่างไม่เป็นทางการ)  ในการทำหน้าที่เป็น KF ในงานดังกล่าวค่ะ  และทางหน่วยประกันจะส่งหนังสือเชิญตามไปอีกครั้งนะคะ  ขอบคุณพี่บอยล่วงหน้าอีกครั้งค่ะ  :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท