รักบ้านเกิด
กลุ่ม 4 รักบ้านเกิด ศูนย์เรียนรู้โชคชัย จ. นครราชสีมา รักบ้านเกิด อำเภอโชคชัย

ขนมข้าวแตน


          

 

ขนมข้าวแตน ·      ประวัติความเป็นมาบทนำ            เมื่อเอ่ยถึงขนมไทยในสมัยก่อน น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักขนมข้าวแตนหรือเรียกกันติดปากว่าขนมนางเล็ดเป็นขนมที่ทำมาจากข้าวเหนียวราดด้วยน้ำตาลคนไทยในอดีตจะทำขนมในเทศกาลหรือประเพณีต่างๆ เช่น ขนมห่อ จะทำในวันสาทหรือวันสงกานต์ วันออกพรรษาจะทำกระยาสาท หรือทำขนมนางเล็ด ขนมหูช้าง เพื่อใช้ในการประกอบประเพณีเทศมหาชาติ จึงนับได้ว่าขนมไทยมีความสำคัญ ต่อประเพณี หรือเทศกาลต่างๆของคนไทยมาก            ขนมไทยในอดีตเหล่านี้ยังอยู่คู่กับคนไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน แต่ทุกวันนี้ขนมไทยจะทำตลอดทั้งปี โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงประเพณีหรือเทศกาลต่างๆ จึงนับได้ว่าขนมไทยมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของชุมชนมาก เพราะสามารถผลิตขายได้ตลอดทั้งปี ทำให้มีรายได้เพิ่มให้กับครอบครัวอีกทาง ภูมิปัญญาชาวบ้านที่จะนำเสนอการทำขนมไทย ที่กล่าวในครั้งนี้คือ ภูมิปัญญาการทำขนมข้าวแตนตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา                      ความเป็นมาของขนมข้าวแตน          ในอดีตยายเกตุมีอาชีพทำนา เมื่อเวลาว่างจากการทำนายายจะอยู่บ้านไม่ได้ทำอะไร จนเมื่อประมาณปี พ.. ๒๕๒๔ ยายจึงคิดหารายได้พิเศษนอกเหนือจาการทำนา โดยการทำขนมนางเล็ด โดยการทำขนมนางเล็ดแล้วหาบขายตามโรงเรียน  ตามหมู่บ้านและในตลาดและยังรับทำขนมในยามเทศกาลหรือประเพณีต่างๆ อีกด้วยเมื่อขนมนางเล็ดขายดีขึ้น จึงเลิกอาชีพทำนา แล้วหันมาทำขนมขายอย่างเดียวทำอยู่มาไม่นานก็เริ่มมีคู่แข่ง ทำให้ขนมนางเล็ดยอดการขายตกต่ำลง ยายเกตุจึงคิดหาวิธีที่จะทำขนมออกมาในรูปแบบใหม่ๆที่ไม่ซ้ำกับใคร จากนางเล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่มีสีขาวธรรมดา ก็ทดลองหาส่วนประกอบที่จะมาผสม เพื่อให้มีรสชาติ มีสีสัน มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน โดยการลองผิดลองถูก อยู่หลายครั้ง เริ่มแรกใช้น้ำส้มจากส้มเขียวหวานมาผสมกับข้าวเหนียว ผลที่ออกมาก็ได้ตามที่ต้องการ แต่ส้มในสมัยนั้นราคาแพงมาก จึงสู้ราคาไม่ไหวและต้องเลิกทำสูตรนี้ไป ต่อมายายเกตุจึงหันมาทดลองใช้แตงโมซึ่งมีราคาถูกกว่าส้มและหาได้ง่าย ประกอบกับสีของแตงโมก็น่ารับประทานยายเกตุจึงใช้นำแตงโมผสมกับข้าวเหนียว และใช้เป็นสูตรในการทำขายมาจนปัจจุบันนี้ และได้ตั้งชื่อให้ใหม่เพราะรูปร่าง กลิ่น สี รสชาติ เปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด โดยทำให้แผ่นเล็กลง ไม่มีขอบ เป็นแผ่นแบนๆ และตั้งชื่อให้ใหม่ ชื่อ ขนมข้าวแตน

2

                ประวัติผู้ให้ข้อมูล            ชื่อ : ยายเกตุ      จันทร์ทะกา        อายุ ๘๓ ปี         เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๘ เดือน ๘ ปีกุนเป็นบุตรของ  พ่อใหญ่หรึ่ม   จันทะกา (เสียชีวิตแล้ว) กับ แม่ใหญ่ กรอง   จันทร์ทะกา(เสียชีวิตแล้ว)  สมรสกับตาอิ่ม   จันทร์ทะกา  มีบุตรด้วยกัน  ๓ คน คือ            .นายน้อย   จันทร์ทะกา            .นายนิยม   จันทร์ทะกา            .นางบุญเลี้ยง   น้อยเข็มทองปัจจุบันยายเกตุอาศัยอยู่  บ้านเลขที่ ๔ หมู่ ๖ บ้านบิง   ตำบลโชคชัย   อำเภอโชคชัย   จังหวัดนครราชสีมากับนางบุญเลี้ยงลูกสาวคนสุดท้อง                 ·      องค์ความรู้ของเรื่องที่ศึกษารวบรวมสถานที่ผลิต          ยายเกตุจะผลิตขนมข้าวแตนอยู่ที่ หมู่บ้านบิง  เลขที่ ๔ หมู่ ๖ ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา  อยู่ ณ.บริเวณ สามแยกบ้านบิง โดยจะผลิตที่บ้าน บ้านของยายเกตุจะเป็นบ้าน ๒ ชั้น จะทำการผลิตที่ชั้นล่างของบ้าน โดยจะจัดพื้นที่ภายในบ้านเป็นสัดส่วน เพื่อเก็บวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆและบริเวณด้านรอบนอก จะจัดไว้สำหรับ ตากขนมข้าวแตน และเก็บฝืน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง           วัสดุดิบ.ข้าวเหนียว            .น้ำตาล (น้ำตาลปี๊บ )            .น้ำมันพืช (สมัยก่อนใช้นำมันหมูในการทอด).เกลือ            .น้ำแตงโม              สูตรขนมข้าวแตน ทุกวันยายเกตุจะต้องทำขนมวันละ ๑๐ กิโลกรัม คือ ข้าวเหนียว ๑๐ กิโลกรัม น้ำตาล ๕ กิโลกรัม น้ำมันพืช ๓ กิโลกรัม  น้ำแตงโม แล้วแต่ขนาดของผลแตงโม ใส่เกลือเล็กน้อย                     อุปกรณ์ในการทำขนมข้าวแตน

3

.พิมพ์ขนม ทำจากไม่ไผ่เป็นวงเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖ เซนติเมตร.กระแตะ ใช้สำหรับตากขนม ทำมาจากไม้ไผ่สานกว้างประมาณ ๑ เมตร ยาวประมาณ ๒ เมตร .กระทะสำหรับทอดขนม และ เคียวนำตาล.รังถึง หรือ หวด ใช้สำหรับนึ่งข้าวเหนียว.ชามขนาดใหญ่ ใช้สำหรับคลุกข้าวเหนียวกับน้ำแตงโมให้เข้ากันและใช้ใส่ขนม   ขั้นตอนและวิธีการทำขนมข้าวแตน.เริ่มจากการแช่ข้าวเหนียวไว้ ๑ คืน แล้วนำข้าวเหนียวมานึ่งจนสุข.นำข้าวเหนียวที่สุขแล้ว ขณะที่กำลังร้อนจัด มาผสมกับนำแตงโมที่เตรียมไว้แล้ว.ผสมให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำข้าวเหนียวมาปั้นใส่พิมพ์ที่เตรียมไว้.เมื่อปั้นข้าวเหนียว นำมาใส่กระแตะ แล้วนำไปตากแดด ตากแดดประมาณ ๒ แดด หรือ ๒ วัน เมื่อแห้งจัด เก็บใส่ภาชนะให้มิดชิด โดยไม่ให้มีความชื้น ถ้าขนมตากไม่แห้งจะทำให้ขนมขึ้นราและที่สำคัญเวลาทอดขนมจะไม่สวยไม่น่ารับประทาน      วิธีการทอดขนมข้าวแตน.เตรียมน้ำมัน ที่เตรียมไว้ทอด ตั้งไฟให้ร้อนจัด.นำขนมข้าวแตนที่แห้งแล้วมาทอด โดยทอดครั้งละ ๑๕ แผ่น เมื่อสุกได้ที่แล้ว ตักใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ให้เย็น.สำหรับน้ำตาลที่จะราดหน้าขนมข้าวแตนใช้น้ำตาลปี๊บเคี่ยวให้เหนียวได้ที่พอประมาณ หลังจากนั้น นำช้อนตักน้ำตาลราดหน้าขนมข้าวแตนที่ผละแผ่น โดยราดให้เป็นเส้นเล็กๆ เป็นวงกลมตามแผ่นขนม           การบรรจุหีบห่อขนมข้าวแตนที่ทำออกทุกวันจะต้องมีการบรรจุห่อ โดยใส่ถุงพลาสติกใส เพื่อให้มองเห็นขนมข้างในน่ารับประทาน ถุงที่ใช้ใส่ขนมคือ ถุงขนาด 6x9 บรรจุถุงละ ๖ แผ่น แล้วปิดปากถุงให้แน่น เพื่อป้องกันอากาศเข้าภายในถุง ถ้าอากาศเข้าได้จะทำให้ขนมไม่กรอบ            จุดการจำหน่ายยายเกตุจะขายขนมหมดทุกวัน คือวันละ ๑๕ กิโลกรัม โดยจะให้ลูกสาวนำมาขายที่ตลาดโชคชัยในตอนเช้าส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งจะมีลูกค้ามารับที่บ้านของยายเกตุ  ราคาขนม ขายส่งราคาถุงละ ๕ บาท ขายปลีกถุงละ ๗ บาท ปริมาณขนมที่ได้ ข้าวเหนียว ๑ กิโลกรัม จะทำขนมได้ ๑๕๐ แผ่น บรรจุได้ ๒๕ ถุง สำหรับจำนวนเงินจะได้ไม่เท่ากันทุกวันเพราะว่าอยู่ที่การขายส่ง หรือ ขายปลีก เงินที่ขายได้ยายเกตุจะเก็บไว้เป็นทุนในการทำครั้งต่อๆไป และเก็บออมไว้ใช้ยามจำเป็นอีกส่วนหนึ่ง

·      วิธีการจัดเก็บข้อมูล

ในการทำขนมข้าวแตน จะไม่มีการบันทึกเป็นตำรา  แต่จะใช้ภูมิปัญญาของตัวเองที่มีอยู่ ถ่ายทอดให้ลูกหลานหรือผู้ที่สนใจจะนำไปปฏิบัติ และจะทำเพื่อพออยู่พอกินเท่านั้น ไม่คิดมุ่งหวังกำไรมากมาย หรือค่าตอบแทนใดๆ จากผู้ที่เข้ามาศึกษาจากผู้ที่ต้องการนำไปปฏิบัติ

·      ลักษณะความรู้การทำขนมข้าวแตน ถือเป็นโภชนาการอย่างหนึ่ง  ทำเพื่อเพิ่มรายได้ ทำเมื่อยามว่างจากงานประจำ ซึ่งต้องใช้ภูมิปัญญาของตัวเอง คิด ดัดแปลง ปรับปรุง จึงจะสามารถจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง ถ้าทำการผลิตไม่ดี ไม่มีคุณภาพ มีกลิ่นอับ การจำหน่ายก็คงไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะฉะนั้น ขั้นตอนในการผลิตต่างๆต้องดี และมีขั้นตอน  มีระบบ  และที่สำคัญ คือ ในเรื่องของความสะอาด  การบรรจุหีบห่อต่างๆ เป็นต้น           ·     

 

การพัฒนาความรู้และสร้างสรรค์

            การพัฒนาการผลิต  จะต้องมีการพัฒนาในเรื่องของรสชาติให้มีมาตราฐาน และให้สามารถอยู่ได้นานที่สุด ซึ่งสภาพปัจจุบันยังทำได้ไม่ดีพอ คุณภาพของวัสดุที่ใช้  ความสะอาด  การบรรจุหีบห่อ ซึ่งจะต้องมีการพัฒนา เพื่อให้สามารถอยู่ได้นาน ในสภาพเดิม  คือ  มีความกรอบ ไม่เหนียว ไม่มีกลิ่นอับ  และควรมีฉลากบ่งชี้ วัน เดือน ปี ที่ผลิต วันหมดอายุ และให้มีใบรับรองจาก อ..  เพื่อให้ถูกต้อง เพื่อจะได้เป็นอาหารที่ถูกต้องสะอาด ถูกหลังอนามัย เนื่องจากปัจจุบัน ขนมข้าวแตน  เป็นขนมพื้นบ้าน ที่หากินได้ง่าย ไม่มีอันตรายใดๆ

ที่มา : บุปผา  เสาวภาคย์ . ๒๕๕๐ . ขนมข้าวแตน .นครราชสีมา . ศูนย์เรียนรู้อำเภอโชคชัย โครงการมหาลัยชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร .ยายเกตุ  จันทร์ทะกา . ๒๕๕๐ . ขนมข้าวแตน .   บ้านเลขที่ เลขที่ ๔ หมู่ ๖ บ้านบิง   ตำบลโชคชัย   อำเภอโชคชัย  นครราชสีมา.   

คำสำคัญ (Tags): #ขนมข้าวแต้ม
หมายเลขบันทึก: 129909เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
คนนี้ที่ต้องทำรายงาน

คือว่าอยากจะทำรายงาน แต่ในรายงานต้องมีรูปด้วย แล้วบ้านฉันก็อยู่ในเมือง จะไปถ่ายก็คงลำบาก ควรทำอย่างไรดีล่ะได้คำตอบอย่างไรช่วยส่งอีเมลล์มาด้วยนะ

อยากทำเป็นค่ะ น่ากิน

ก็ดีนะ น่ากินดี อยากทำเป็นจัง

m คุยกันได้นะ

[email protected]

ขนมที่นครราชศรีมา อ.ย.@

เคยไปเยี่ยมที่บ้านด้วย อยากรับมาขายจังเลย

ขอบคุณมากคร๊าบบบบบบบบ

ไม่ทราบว่าขนมนางเล็ดมีโอกาสขั้นราไหมค่ะ เพราว่าจำนำความรู้ที่ได้ไปสอนเด็ก ๆ ในโรงเรียนต่างๆ ขอขอบคูณเป็นอย่างยิ่งสำหรับสูตรขนมนางเล็ดมากค่ะ ใช่วยตอบกลับด้วยนะค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาชิมขนมด้วยคนค่ะ

แต่อยากให้ลงรูปด้วย

เพราะยังไม่เคยเห็นรูปค่ะอยากเห็นจังค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท