ข้อเสนอแนะเล็กๆ จากบทสรุปการเยี่ยมชม KM ศูนย์อนามัยที่ 1


ทุกครั้งที่เราก้าวเข้าไปในเวที KM มันเกิดคำตอบใหม่ที่ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เกิดสูตรใหม่ ที่ต้องปรับทุกเวลา เพราะว่าเราทำงานอยู่กับคน

 

นี่เป็นบท comment และข้อเสนอแนะเล็กๆ จากบทสรุปการเยี่ยมชม KM ศูนย์อนามัยที่ 1 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 ... จากใจ KM Team

คุณหมอนันทา ... จากการฟังเรื่องราวการทำ KM ที่ทุกคนได้เล่า ก็จะเห็นได้ว่า ที่ชาวศูนย์ฯ ได้ฟัง ได้เรียนรู้ และทำได้ เพราะคิดว่า ที่นี่มีคนที่มีพรหมวิหาร 4 มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ... มุทิตา ก็คือ ฟังสิ่งที่เขาทำสำเร็จ แล้วไม่หมั่นไส้เขา ไม่ว่าเขาจะโกหกหรือเปล่า ก็ไม่หมั่นไส้ จึงมีความสำเร็จให้เห็นมาได้เรื่อยๆ ... และมีเมตตา ที่จะแลกเปลี่ยนต่อกัน และอีกอันหนึ่งคือ ตอนเริ่มต้น ที่นี่มีอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ซึ่งจะเห็นว่า เรามีฉันทะ คือ เริ่มชอบงาน KM หน่อยๆ แต่ว่า ที่สำคัญคือ มีวิริยะ ที่จะไปหาความรู้ และมาฉันทะใหม่ และก็มีการใฝ่รู้ ตั้งใจที่จะทำในเรื่องนี้ ยกตัวอย่างเช่น ที่คุณพัชรินทร์เล่าว่า คุยเรื่องส่งเสริมสุขภาพไปกับคนข้างบ้านที่มีลูกอ่อนได้ นั่นคือ จิตตะ ... ตอนนี้หัวใจมีแต่เรื่องส่งเสริมสุขภาพ เพราะฉะนั้น เจอหน้าใครก็จะคุยไปด้วย และจิตตะก็คือ เรื่อง KM หลายคนที่เล่า ก็รู้สึกว่า เริ่มคิดว่า การจัดการความรู้ไปใช้ได้ที่ไหน ไปใช้ทำอะไร ก็คือ คิดอยู่เสมอ และเอามาทำอยู่ได้เรื่อยๆ เพราะฉะนั้น คิดว่า ที่สำเร็จก็เพราะว่าเรามีความสนใจ ใฝ่รู้ และทำอันนี้ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

ท่านประเสริฐแสดงความรู้สึกชื่นชมฝากไว้ว่า “ศูนย์นี้สะอาด สบายตา” คุณหมอสมศักดิ์ ก็ฝากไว้ว่า “อยากเห็นเรื่องการเชื่อมโยง” ... ที่เราจัดประชุมทีม ระหว่างฝ่ายที่เกิดขึ้น เช่น กรณีสายงานการผลิต ซึ่งสร้างความพึงพอใจ ถึงแม้ว่าเราจะสร้างความพึงพอใจได้ดีๆ ตรง ANC แต่ส่วนอื่นล่ะ กลุ่มพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพ / สิ่งแวดล้อม กลุ่มอื่นๆ หรือคนรถ หรือยาม หรือคนทำความสะอาด ทำงานเอื้อกันหรือไม่ จึงควรมีการเชื่อมให้ได้ KM และควรหวังข้ามฝ่ายด้วยในเรื่องหัวปลาด้านใดด้านหนึ่ง

... ดิฉันคิดว่า ทุกคน ในตอนแรกที่เราได้รับรู้วิธีการ แล้วเราก็มาคิดถึงสิ่งที่เราทำ เราเลียนแบบจากอาจารย์มาจากโมเดลที่เราได้เรียนรู้ แต่คิดว่า หลายคนในศูนย์นั้น ขณะนี้ไม่ได้เลียนแบบแล้ว แต่เป็นเรียนรู้ด้วยตนเอง ว่า ได้อะไร และขั้นตอนยังไงจึงจะไปได้ดี และถ้าเราเอาที่ได้เรียนรู้มาแชร์กัน คนที่ได้มาคุยกันเป็นครั้งคราวในศูนย์ ก็คงจะเติบโตยิ่งขึ้น และที่จริงสิ่งที่สำคัญก็คือ เราเข้าใจหลักการ ในส่วนวิธี ขั้นตอน เรานำไปประยุกต์ได้หมด ซึ่งก็คือ เราต้องเอาส่วนดีๆ ของคนมาแลกเปลี่ยน เพื่อชี้นำการทำงานเรื่องอื่นๆ เอาไปประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆ และหลักการไม่เพียงแต่ให้มันซุกซ่อนอยู่ในตัว เกษียณก็หายไป แต่ว่าให้พยายามดึงออกมา พยายามดึง tacit ออกมา เชื่อมกับ explicit knowledge หรือเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ การที่จะทำให้สำเร็จได้ก็ต้องมีความไว้วางใจกันและกันที่จะเล่า คนฟังก็ต้องทำตัวให้เขาไว้วางใจ แต่ก็คิดว่า ศูนย์เลยจุดนี้ไปแล้ว อาจไปถึงจุดที่เริ่มเห็นคุณค่าของกันและกัน และคิดว่าในส่วนนี้ KM คงจะได้ไปสร้าง ไปแก้ปัญหา เพราะว่าในทุกหน่วยงานย่อมมีความเป็นก๊ก เป็นเหล่า เป็นธรรมดา แต่ถ้าเราจับแนวคิด KM เอาเรื่องดีๆ เรื่องสำเร็จ เล่ากันไปเล่ากันมา ก็จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่อาจจะแยกกัน ไปได้ดีขึ้นเรื่อยๆ อาจจะยังไม่สำเร็จในวันนี้ แต่ก็จะนำไปสู่การที่เราจะทำงานเป็นทีม และก้าวหน้าไปสู่ความสำเร็จต่อไปได้

CoP กลุ่มโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

อ.ประเวศ ย้ำข้อคิดที่ว่า เราต้องมีความศรัทธา เพราะว่าธรรมชาติของเรานั้น อยากจะมีความรู้ก็วิ่งไปหาหนังสือก่อน หาตำรา หรือไปเฉพาะคนที่รู้เรื่องนั้น แต่ความจริงแล้ว ความรู้อยู่ในคนจำนวนมาก ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเช่น ... ผอ.สายพิณ ก็ยังมีความรู้ฝังลึกอยู่อีกมากมาย เรื่องการจัดการคนไข้ เรื่อง รพ. อย่าลืมไปดึง tacit knowledge จากท่านออกมานะคะ แต่ว่า เราจะดึงออกวิธีไหน ก็ต้องอาศัยเทคนิคของพวกท่านๆ ล่ะ หาวิธีคุยอย่างเป็นกันเอง สบาย ถามคำถามที่คนถูกถามรู้สึกสบายใจ และอยากตอบ และคงไม่ใช่รู้ว่า เขาทำอะไรๆ เท่านั้น แต่ให้รู้ให้ได้ด้วยว่า อย่างไรที่เขาทำสำเร็จ บริบทตรงนั้นเกิดอะไรขึ้น ทำไมต้องมีบริบท สถานการณ์ก็เป็นส่วนของความสำเร็จในแต่ละเรื่องด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนว่า เวลานำไปประยุกต์ใช้ ก็จะได้รู้ว่า อ้อ เขามีสถานการณ์อย่างนี้ ไปปฏิบัติอย่างนี้ ความคิดจะได้เชื่อมโยงกัน ไม่ต้องวิตกว่า หนแรกจะซักได้หมด ไม่ต้องซักให้สะอาดเอี่ยมแต่หนแรก ค่อยๆ ซักไป และผ้าจะขาวขึ้นเรื่อยๆ หรือเราได้สิ่งที่เราชำนาญขึ้น เพราะฉะนั้นก็จะได้ การทำในชีวิตประจำวันเยอะขึ้นเรื่อยๆ และที่นี่ก็พยายามสอดแทรกไปในกิจวัตรประจำวันของเรา ซึ่งดีมาก

คุณศรีวิภา ... เคยคุยกับพี่ชูศรีว่า ปิดตำราเถอะ แล้วก็ลุย เพราะว่าตอนที่ตัวเองเริ่มต้นก็คล้ายกับพี่ คือ อ่านตำราค่อนข้างเยอะ ก็พบว่า มีหลายโมเดลมาก ยิ่งพบยิ่งเยอะ คิดว่า จะไปเสียเวลากับมันหรือเปล่า ก็เลยหาแก่นให้ได้ ปิดตำรา และลุยกับอาจารย์หมอนันทา และคณะ เราลุยกันมาไม่น้อยกว่า 10 เวทีแล้ว ก็พบคำตอบว่า มันไม่มีสูตรสำเร็จที่จะบอกว่าการทำ KM ต้องทำ 1 2 3 และ 4 แต่ทุกครั้งที่เราก้าวเข้าไปในเวที KM มันเกิดคำตอบใหม่ที่ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เกิดสูตรใหม่ ที่ต้องปรับทุกเวลา เพราะว่าเราทำงานอยู่กับคน ถ้าใครถามว่า ต้องทำอย่างไร ก็คงไม่มีใครบอกได้ชัดเจน เหมือนกับว่า ยิ่งทำยิ่งรู้ และก็แก้สถานการณ์ไป

... ที่ห้องคลอด ... เขามี Fa และ Note taker ทุกคน คิดว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าทุกครั้งที่เราจะมอบให้ใครสักคนเป็น Fa และ Note taker ต้องถามกลับว่า แล้วเขารู้สึกอย่างไร มันอาจจะเป็นความหนักใจ แต่เมื่อไรที่เราสามารถสร้างคนทุกคนให้ทำหน้าที่แทนกันได้ KM คงเป็นอะไรที่ทำให้เรา เบา สบาย ทุกๆ คน จะทำให้ทุกครั้งที่เราคุยกัน คือ สิ่งที่เราทำ มีความสุข และรู้สึกว่า KM มีชีวิตชีวา แต่เมื่อไรที่ต้องเข้าสู่การประชุม เป็นรูปแบบก็จะอึดอัด คับข้องใจ เหลือแต่คำตอบตรงที่ว่า เมื่อเราคุยกันเล่นๆ เปลี่ยนจากสิ่งที่คุยกันเล่นๆ และมาคุยกันอย่างนั้น เราจะสกัด Knowledge Asset (KA) ได้อย่างไร นี่เป็นสิ่งที่ท้าทาย ว่า ในการคุยนอกรอบ ท่านใช้วิธีการอย่างไรในการสกัด KA และทำอย่างไรให้เราเป็น FA กันอย่างทั่วถึง ไม่ต้องสมบูรณ์ แต่ไม่ต้องเป็นภาระซึ่งกันและกัน แค่นั้นเราก็คงพูดกันว่า มันคงเป็นคำตอบที่ทำให้เราได้เรียนรู้กันได้อีกตั้งเยอะ

ของฝากจาก (... ไม่ใช่แดจังกึม) แต่เป็นคุณหมอนันทา ค่ะ บทส่งท้ายของศูนย์อนามัยที่1
... ยางลบ ...

หมายเลขบันทึก: 12975เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2006 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบที่คุณศรีวิภาบอกว่า ให้ปิดตำรา แล้วลุยเลย ทำให้นึกถึงคำพูดหนึ่งที่เคนได้ยิน อาจารย์ผมบอกไว้ ท่านเป็นคนอเมริกันสอน managment ชิ่อ Prof Ian Mayo Smith อยู่ U of connecticut ตอนนี้ท่านอายุมาก เกษียณแล้ว

 

ท่านเคยบอกว่ามีคนไปวิจัยบริษัทที่ประสบความสำเร็จ ได้ข้อสรุปมาข้อหนึ่งคือบริษัทส่วนใหญ่ถือคติ Fire! Aim. แปลว่ายิงก่อน เล็งทีหลัง

ฟังดูแทม่งๆ แต่ประเด็นคือ อย่าเงื้อง่าราคาแพง เราไม่รู้หรอกว่าอะไรดีที่สุด ถูกที่สุด มัวแต่หาวิธีที่ดีที่สุด แล้วค่อยทำ สู้ลงมือทำ (fire คือยิงปืนไปเลย) แล้วตามดว่าได้ผลยังไง (aim คือมาส่องดูว่าตกลงเข้าเป่าหรือพลาดเป้าไปเท่าไร)

ผมคิดว่านี่เป็นวิธีที่ดีกว่าพวกชอบเล็ง แล้วไม่ยิงซะที รวมทั้งพวกที่จะยิงท่าเดียว แต่ไม่ยอมกลับมาเล็งใหม่ หลังยิงไปแล้ว 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท