เล่าสู่กันฟัง


จุดประกายความคิด
เมื่อวันที่  19 มกราคม 2549 ได้รับเกียรติจากอาจารย์วชิรา บุตรวัยวุฒิมาให้ความรู้ในเรื่องกิจกรรมบำบัด Art feeling ซึ่งคือการสื่อสารความรู้สึกออกมาในรูปของศิลปะ เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและนำไปพัฒนางานด้านกิจกรรมกลุ่มได้ดี เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์และน่าสนใจทีเดียว
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 12937เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2006 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 น่าสนใจมากครับ   อยากให้เล่ารายละเอียดมากกว่านี้หน่อยครับ  ว่า Art feeling เนี่ย มีตัวอย่างกิจกรรมอย่างไรครับ

ไม่ทราบ art therapy กับ Art feeling  แตกต่างกันยังไงครับ

ผมมีบทความ Art therapy มาบทความหนึ่ง

 

เวลาที่คุณแม่มองภาพเขียนหรือผลงานศิลปะสักภาพ ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะแบบเด็กๆ ของลูก หรือผลงานศิลปะของศิลปินชื่อดัง คุณเห็นอะไรในภาพเหล่านั้นบ้างค่ะ บางคนบอกว่า “ลายเส้นสวยดี” “ความคิดสร้างสรรค์”... “ใช้สีสวย” ... หรือบางคน อาจจะบอกว่า “ดูไม่รู้เรื่อง” แต่สำหรับนักศิลปบำบัด ผลงานศิลปะหนึ่งชิ้นบอกอะไรได้มากกว่านั้นค่ะ
งานศิลปะเป็นสื่อที่ผู้สร้างสรรค์ชิ้นงานสามารถถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของตนเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ออกมาเป็นภาพ เพราะบางครั้งรูปภาพสามารถสื่อความหมายได้มากกว่าการบอกเล่าด้วยถ้อยคำนับพันคำ และนี่ก็คือหลักการของ Art Therapy หรือ ศิลปบำบัด นั่นเองค่ะ
ศิลปบำบัดเป็นการนำศิลปะและจิตบำบัดมาเชื่อมรวมกันเพื่อใช้ในการช่วยเหลือบุคคล ที่มีปัญหาทางด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจให้ได้ค้นพบความรู้สึก ความต้องการ และปมต่างๆ ที่ซ่อนภายในใจ
สำหรับเด็กทั่วไป ศิลปะจะช่วยสนับสนุนให้เด็กได้แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และได้พัฒนาทักษะด้านศิลปะ อารมณ์ และสังคมไปพร้อมๆ กัน แต่สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจ ศิลปะจะช่วยให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและสามารถแสดงออกทางอารมณ์ทั้งในเชิงก้าวร้าว และเพ้อฝันได้อย่างเต็มที่ เด็กๆ ที่มีปัญหาด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจส่วนใหญ่มีผลมาจากประสบการณ์ในอดีต ที่ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกคับข้องใจ และไม่สามารถจะระบายออกมาให้ใครรู้เป็นคำพูดได้ อาจจะเป็นเพราะความหวาดกลัว ความกดดันหรืออาจจะไม่รู้ว่าจะถ่ายทอดความคับข้องใจนั้นออกมาอย่างไร ผลที่ตามมาก็คือ เด็กจะเกิดความหวาดกลัว รู้สึกผิด ท้อแท้ โกรธตัวเอง กลายเป็นเด็กเก็บกด และมีอารมณ์แปรปรวน ศิลปบำบัดจะเป็นเสมือนเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กๆ ได้ถ่ายทอดความรู้สึกต่างๆ ผ่านภาพวาดซึ่งสามารถสื่อความรู้สึกได้ง่ายและเข้าใจได้มากกว่า การที่เด็กได้ระบายความรู้สึกคับข้องใจออกมา จะช่วยให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีขึ้น
นักศิลปบำบัดจะตั้งเป้าหมายของการบำบัดไว้ 2 แบบคือ
·         ทำศิลปบำบัดเพื่อคลายความเครียด ความคับข้องใจ และความกดดันจากสาเหตุต่างๆ ให้ทุเลาลง เมื่อความทุกข์ในทั้งหลายเบาบางลงแล้ว ผู้เข้ารับการบำบัดก็จะรู้สึกสบายใจ มีกำลังใจที่เข้มแข็ง พร้อมที่จะต่อสู้กับความทุกข์และสามารถเอาชนะปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง
·         ทำศิลปบำบัดเพื่อขจัดความทุกข์ใจหรือปัญหาต่างๆ ให้หมดไป เช่น ขจัดความกลัวที่ไร้เหตุผล เป็นต้น
นักศิลปบำบัดจะให้ความสนใจกับวิธีการสร้างสรรค์งานศิลปะมากกว่าชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว การเลือกใช้สี การวาดเส้น ความหนักเบาของเส้นที่วาด และองค์ประกอบต่างๆ ที่มีในภาพ สามารถบ่งบอกถึงสภาวะจิตใจของเด็กได้เป็นอย่างดี เพราะนักบำบัดเชื่อว่าภาพที่วาดชิ้นนั้นเป็นเสมือนภาพถ่ายที่บันทึกภาวะจิตใจของผู้วาด วิธีที่ผู้วาดมองชีวิตของตนเอง และบุคคลที่อยู่รอบข้าง ในขณะนั้น ซึ่งสามารถย้อนกลับมาดูได้ทุกเวลาและต่อเนื่องกับภาพที่จะวาดต่อๆ ไป ภาพแต่ละภาพจะแสดงถึงทัศนคติและความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป การให้เด็กได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ผ่านการวาดรูปผนวกกับการได้พูดคุยกับเด็กอย่างใกล้ชิดก็จะทำให้นักศิลปบำบัดได้ทราบถึงภูมิหลังของเด็ก ทำให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เมื่อสามารถค้นหาต้นตอที่แท้จริงของปัญหาได้ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น
นอกจากศิลปะจะช่วยให้เด็กๆ ที่มีปัญหาได้ระบายความคับข้องใจแล้ว ศิลปะยังช่วยให้เด็กมีสุขภาพจิตที่ดี มีอารมณ์แจ่มใส มีการรับรู้เกี่ยวกับตัวเองมากขึ้น และรู้สึกนับถือตัวเองมากขึ้นด้วย ประการต่อมาจากการวิจัยพบว่า การที่คนเรามีใจจดจ่อกับกิจกรรมที่ตนเองชอบจะส่งผลให้การทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานดีขึ้น เช่น อัตราการเต้นของหัวใจและระบบการหายใจจะช้า ความดันโลหิตก็จะลดลง เป็นต้น นอกจากนี้ในขณะที่เด็กๆ กำลังสนุกกับการวาด การระบายสี เด็กจะได้บริหารกล้ามเนื้อตา และมือไปในตัว ทำให้อวัยวะทั้งสองส่วนนี้ ทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทที่เชื่อมต่อ ระหว่างสมองกับสองมือของเด็กอีกด้วยค่ะ
ถึงแม้ว่าการใช้ศิลปบำบัดจะสามารถช่วยเยียวยารักษาอาการเครียดและความรู้สึกทุกข์ใจของลูกได้ และยังให้ประโยชน์กับเจ้าตัวดีอีกหลายประการด้วยกัน แต่ทางที่ดีคุณควรจะให้ความรัก ความเข้าใจ และเอาใจใส่ลูกรักของคุณให้มากพอจะดีกว่า เพื่อที่ลูกจะได้ไม่ต้องเผชิญกับความรู้สึกคับข้องใจใดๆ เด็กในวัยนี้ควรจะมีโลกที่สดใส ร่าเริง ปราศจากปัญหาใดๆ เพราะเมื่อโตขึ้นลูกก็จะต้องออกไปเผชิญโลกกว้าง ต้องแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นอีกมากอยู่แล้ว ความรักความอบอุ่นจากครอบครัวจะเป็นเสมือนเกราะป้องกัน และเป็นอาวุธสำคัญที่จะช่วยให้ลูกสามารถฟันฝ่าอุปสรรคทุกอย่างให้ผ่านไปได้ ขอให้การใช้เวลาสร้างสรรค์งานศิลปะของลูกเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ หรือเพื่อพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ จะดีกว่าการใช้ศิลปะเพื่อการบำบัดจิตใจ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเครียดนะคะ

(update 28 มีนาคม 2005)
[ ที่มา... นิตยสารบันทึกคุณแม่ ปีที่ 11 ตุลาคม 2547

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท