ศูนย์ 1 (ตอนที่ 6) กลุ่มพัฒนางานอนามัยสิ่งแวดล้อม ... มือใหม่ หัดขับเคลื่อนงานสิ่งแวดล้อม


คนทำงานมาจากหลากหลายสาขา และมาอยู่รวมกันในงานสิ่งแวดล้อม เป็นคนที่ทำงาน ทั้งทางด้านส่งเสริมสุขภาพ ฝึกอบรม โภชนาการ และการบริหารบุคคล

 

งานสิ่งแวดล้อมของศูนย์อนามัยที่ 1 มีเอกลักษณ์พิเศษอยู่ตรงที่ คนทำงาน ยังไม่เคยสัมผัสกับงานสิ่งแวดล้อมจริงๆ สักคน แต่ด้วยความใจกว้าง จิตใจที่มีการเรียนรู้ตลอดเวลา เพราะแต่ละท่าน ชอบม๊าก มาก ... เรื่องทำงานนอกศูนย์ ... (ซะทุกเรื่อง เรียกว่า ถ้าชีวิตยังมีลมหายใจ) ... เอ๊ะ ยังไงกัน ลองเข้าไปอ่านดูนะคะ

คุณฉัตรลดา กาญจนสุทธิแสงคุณฉัตรลดา … คุณลักษณะพิเศษของเธอก็คือ เธออยู่ใน KM Team ส่วนกลางด้วยนะคะ ... เริ่มเล่า ... จุดเริ่มของการพัฒนางานอนามัยสิ่งแวดล้อม ถือว่าเราได้เปรียบ เพราะตัวเอง (ขณะนั้น) เป็นเลขา KM และกลุ่มงานนี้ค่อนข้างจะมีเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่แปลก ตรงที่คนทำงานมาจากหลากหลายสาขา และมาอยู่รวมกันในงานสิ่งแวดล้อม เป็นคนที่ทำงาน ทั้งทางด้านส่งเสริมสุขภาพ ฝึกอบรม โภชนาการ และการบริหารบุคคล

ด้วยความหลากหลาย และเป็นศูนย์รวมของนักวิชาการ (นวก.) ก็คิดว่าทำให้เป็นจุดแข็งพอสมควร และโอกาสที่ นวก. กลุ่มนี้ ไปทำงานกับภาคีเครือข่ายเยอะมาก ทั้งภายใน ภายนอก และจังหวัดในเขตรับผิดชอบ และดูไปแล้ว การทำ KM เรานั้น รู้สึกว่าทำกันมาเนิ่นนาน และการถอดบทเรียน หรือการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันแต่ละครั้งเราก็ทำมาตลอด ซึ่งขณะนี้ ก็เพิ่งรู้ว่า นี่นะคือ KM เพราะว่าเมื่อทำงานในพื้นที่เสร็จ ขากลับ ขณะอยู่ในรถ เราก็แลกเปลี่ยนกันในรถเลย และนำบทเรียนที่แลกเปลี่ยนนั้นมาใช้ในการทำงานครั้งต่อไป ... จึงคิดว่า ไม่ต้องพูดอะไรมาก Change Management นั้นทำน้อยมากในฝ่าย ... เหมือนว่ามองตาก็รู้ใจ (ก็ มันมีอารมณ์อยู่แล้ว) ... อ๋อ KM ก็คือ การจัดการความรู้ นี่คือง่าย และนี่คือจุดที่แลกเปลี่ยน เราจึงบอกว่า OK … ปิ๊ง ทุกคนก็บอกว่า เราจัดการได้เลย ลุยเลย

ด้วยประสบการณ์ที่ ตัวเอง และนักวิชาการ 3-4 ท่าน เคยไปทำ KM กับหน่วยงานอื่นมาแล้ว ก็เลยมีความรู้ว่า สบายมาก เพราะว่า ... ทุกคนเป็น Fa ช่วยกันได้ ถ้ามีข้อคิดเห็น หรือข้อ comment ก็ว่ากันได้เลย แต่ความที่ เวลาไม่มี เพราะว่าทุกคนมีงาน KPI รายบุคคลหมด (งานสำคัญสูงสุดของราชการละค่ะ เพราะทุกคนมีการรายงาน) เพราะฉะนั้น สิ่งนี้ก็คงเป็นเรื่องของ Change Management ... คือ ต้องจัดการเวลาให้ได้ ว่าจะทำอย่างไร ที่เราคุยกันบนรถ หรือ สภากาแฟ มันจะมาเป็นเรื่องเป็นราว หรือการจดบันทึก หรือสกัดมาเป็นขุมความรู้ได้ เราปรึกษากัน กับหัวหน้าด้วย ก็เลย OK กันว่า เรา set วันไปเลย ก็ได้ผลลัพธ์ว่า ช่วงต้นๆ ปีงบประมาณเลย เราก็ยังมีงานน้อย เพราะฉะนั้นเราขอทุกอาทิตย์ อาทิตย์ละครั้ง ทุกอาทิตย์เราขอคุยครึ่งวัน 1 ครั้ง ซึ่งเราทำได้ประมาณ 4-5 ครั้ง แต่ช่วงหลังเริ่มซาๆ เพราะว่างานเริ่มมา ต่อไปก็คงจะปรับเป็นการนัดพบเดือนละครั้ง

ตอนแรก เราตั้งโจทย์คุยกัน ล้อตามหัวปลาของศูนย์ ซึ่งหัวปลาของศูนย์กำหนดเรื่อง การสนับสนุนภาคีเครือข่ายให้ทำงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ + TQM เราได้ทำการวิเคราะห์ strategy map พบว่า ผลงานอนามัยสิ่งแวดล้อมของเราขึ้นมาสูง ก็เลยงงว่า มันเกิดได้อย่างไร ทำให้เราอยากดูว่า อะไรคือ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการทำให้ผลงานมันเกิด บางทีก็มีคนพูดเล่นๆ ว่า ความหลากหลายของนักวิชาการกระมัง หรือว่าพวกเราเก่ง หรือใครเก่ง หรือว่าองค์กร หรือว่า อะไรคือคำตอบ ... ก็เลย ถามกันดีนัก เอาประเด็นนี้เลย วันนั้นเลยเป็น telling story ในเรื่อง “อะไรทำให้งานของเราออกมาสูง” วันนั้นคุยกันทุกคน ก็ได้สกัดออกมาเป็นขุมความรู้ และถอดบทเรียนออกมาได้ว่า จริงๆ แล้ว สิ่งที่ทำให้เกิดตรงนี้ มีส่วนหนึ่งขององค์กรที่ support อยู่ แต่ส่วนที่เด่นๆ มาก คือ เป็นความสามารถเฉพาะตัวของนักวิชาการของกลุ่มงาน ซึ่งพอสกัดสิ่งที่ได้ออกมา สรุปว่า นี่เป็นทุนของคนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ... อดทน ใฝ่รู้ เสียสละ ใช้ข้อมูลวิเคราะห์ลูกค้า เรียนรู้ และพัฒนา มีการพัฒนาทั้งใน และนอกรูปแบบจากการทำงานนอกศูนย์ฯ ในศูนย์ฯ

มาครั้งที่ 2 เราคุยกันอีกว่า เรามีจุดแข็งเรื่อง ความสามารถเฉพาะตัว และความหลากหลายของ นวก. เพราะฉะนั้น ถ้าได้ปัจจัยเอื้อมาเป็นปัจจัยเสริมความเป็นนักวิชาการ ... เราคงจะเลิศมากกว่านี้ เราก็เลยถอดบทเรียนอีกว่า ตอนนี้ทุกคนรับ KPI กับแทบจะคนละตัว 2 ตัว เช่น ตลาดสด, Clean Food Good Taste, เมืองน่าอยู่, ศูนย์เด็กเล็ก, เหตุร้องเรียนต่างๆ (โอ๊ะ โอ๋ ... งานเกือบทั้งกรมเลยนะเนี่ยะ) ก็แปลกแต่จริง แต่ก็ปรากฏว่า อาจเป็นตัวที่ทำให้มีประสบการณ์ หรือมุมมองกันคนละเรื่อง ก็เอาตรงนี้มาแลกเปลี่ยนกันเลยว่า ... เอ้า ถ้าทุกคนมีประสิทธิภาพอย่างที่บอกมานี้แล้วละก็ เหตุร้องเรียน ลองเล่าปัจจัยแห่งความสำเร็จของเขามาสิ หรือความหนักใจที่เขาต้องรับต่อไป รับเรื่องใหม่ที่เป็นเหตุร้องเรียน ตลาดลองเล่า ศูนย์เด็กเล็กเล่า ทุกคนเล่า เสร็จแล้วก็สกัดบทเรียนออกมา ... ปรากฏว่า competency ที่ดึงตรงนี้ออกมา มันก็ไม่ได้ต่างกับที่เราทำในระดับกรม ทำให้เราได้ confirm หลักออกมาได้ชัดเจนว่า อ้อ ถ้านักวิชาการของเราเนี่ยะ ควรจะต้องมีตัวนี้จริงๆ ก็คือเรื่อง

  1. องค์ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
  2. การทำงานกับภาคีเครือข่าย
  3. การต่อรอง
  4. negotiate

ปัจจัยเหล่านี้ต่างหาก ที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้งานของเราประสบความสำเร็จ เรา confirm แล้ว และพบว่าตรงกัน ... เราอยากบอกกรมว่า ... ห้องของเรา 8-9 คน มันตรงกันเลยนะกับของกรม และก็ตรงกับ competency ที่ อ.เกริกเกียรติ ซึ่งเป็นคณะหนึ่งที่มาทำกัน (ก็พาชาวกรมอนามัยเวียนหัวมานับปีแล้วนะคะ กับเรื่องความหลากหลายของการจัดการของส่วนกลาง) มีความสอดคล้องกัน เราก็เลยบอกว่า เพราะฉะนั้น เราไม่งงหรอก เราไม่หลงแล้ว ถึงมันจะมีมากหลายๆ ตัว กำหนดมาจาก กพร. กี่เรื่องก็ตาม ตรงนี้เราต้องมีตัวตั้งแล้วว่า competency ไม่ว่าจะมาจากแหล่งไหน มันก็คือตัวเดียวกันน่ะแหล่ะ เพียงแต่ว่าที่มาที่ไป คือ อะไร มันจะใช้ tacit knowledge หรือจาก explicit หรืออะไรก็ตาม ภารกิจงานจะเป็นตัวกำหนด จริงๆ แล้ว มันคือตัวเดียวกัน และงานก็สามารถสอดคล้องเชื่อมโยงกันได้ นี่คือ บทเรียนและคำตอบที่เราได้จากการพูดคุย

เอาละสิ ... หัวปลาของเราเปลี่ยนอีกแล้ว (เธอล่ะ เปลี่ยนหัวปลาบ่อยจัง เป็นเรื่องดีเรื่องเปล่า ... แอบขอคำตอบจากผู้รู้ค่ะ) เพราะว่าเราทำงานท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง พอเรามีเรื่องของ TQA และศูนย์ ต้องทำเรื่องยุทธศาสตร์ เราก็ต้องบอกว่า เป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้าอีกแล้ว และไหนจะเรื่องของ กพร. อีก ที่ส่งเรื่องเข้ามาใหม่ เยอะ หลายตัว เราจะทำอย่างไร ... ว่าที่จริง เราก็เจอจุดอ่อนของเราด้วยนะคะ ว่า จริงๆ แล้ว ในทักษะการทำงานของภาคีเครือข่าย หรือทักษะการทำงานอย่างอื่นมากมาย แต่ตัวที่เราขาดชัดๆ คือ องค์ความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เพราะว่า แต่ละคนมาไม่มีใครจบด้านสิ่งแวดล้อม ไม่มีใครเคยทำงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมมาก่อนเลย แต่ที่เรามาทำงานได้ เพราะเราไปใช้ทักษะตัวอื่น แต่เราไปทำงานได้เพราะองค์ประกอบตัวอื่น ในส่วนที่พร่อง ที่เราต้องเติม เราก็เลยบอกว่า หัวปลาเราเองตรงนี้เถอะ หัวปลาคือ เราต้องพัฒนาองค์ความรู้ของเรา ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถทำงานในภาคีเครือข่ายได้อย่างเคียงบ่าเคียงไหล่กับเขา แต่พอมามีเรื่อง การทำแผนยุทธศาสตร์ของศูนย์ วิเคราะห์ TQA 169 ข้อ ก็ปรากฏว่า มีข้ออ่อนกว่าอนามัยสิ่งแวดล้อมขึ้นมาอีก คือ เรื่องการพัฒนาองค์กร ก็เลยกำหนดหัวปลาใหม่ว่า เป็นเรื่องของการพัฒนาองค์กร (อ.ศุภชัย ถ้าได้ยินคงจะชอบมากเลยนะคะ เพราะอาจารย์บอกดังๆ มานานแล้ว ว่า เมื่อไรจะรวมกันได้สักที คุณ KM และ TQM) ... คุยกันใหม่ ถอดบทเรียนกันอีก ปรากฏว่า เรามีจุดอ่อน ในเรื่องของตัวข้อต้นๆ ของ TQA คือ เรื่องของการนำองค์กร เรื่องของสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการทำงาน เพราะฉะนั้น เราก็เลยจัดทำแผนขึ้นมา และมอบหมายภารกิจแต่ละท่านๆ ขึ้นมาเลย ... คนนี้ไปดูเรื่อง การพัฒนาบุคคล ... คนนี้ไปดูเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า แบ่งกันไป ก็ทำให้เกิดชิ้นงานที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น นี่คือ ผลจากการทำ KM ของกลุ่ม

คุณพิมพร สมบูรณ์ยศเดชคุณพิมพร ... ผู้ที่มีความรู้สึกถึงความปิติในอก เมื่อได้เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน ... มีเรื่องเล่าเสริมว่า ในการประชุม KM ประจำสัปดาห์ครั้งหนึ่ง มันเกิดสถานการณ์ที่พาไป เพราะขณะที่เราคุยกันเรื่อง การพัฒนางานสิ่งแวดล้อมที่เรายังอ่อนอยู่ และในวันนั้นมีหนังสือเข้ามาในเรื่อง เหตุร้องเรียนจากขี้แพะที่จังหวัดนครศรีอยุธยา (ซึ่งข้อมูลบอกว่า เรื่องนี้ร้องเรียนไปหลายที่แล้ว ทั้งระดับอำเภอ จังหวัด อบต. จนกระทั่งเข้ามาสู่กรมอนามัย และกรมอนามัยก็ได้ทำหนังสือมาให้ที่ศูนย์) เราก็มีหน้าที่ต้องไปติดตาม เพราะต้องกำหนดระยะเวลาแจ้ง พอได้เห็นเรื่องก็รู้สึกหนักใจ เพราะว่ายังไม่เคยทำ เพิ่งจะรับปีนี้ แล้วจะทำอย่างไร ก็เลยนำเสนอในที่ประชุม ก็มีทั้งคนที่ให้ข้อเสนอแนะ และคิดว่า เราควรทำอย่างนั้นอย่างนี้ ดร.มุกดา ที่คุ้นเคยกับการทำงานในชุมชน ก็เสนอว่า น่าจะมีการ set team ไปทำ และเอาการมีส่วนร่วมของชุมชน ช่วยกันแก้ปัญหา และก็มีการนำเสนอหลายๆ ข้อมูล ทำให้เรารู้สึกว่า การทำงานของเราเป็นงานใหม่ และได้การสนับสนุนจากทีมเป็นอย่างดี ทำให้เกิดความรู้สึกว่า เราไม่ได้ทำงานคนเดียว เรามีการทำงานเป็นทีม และเราคงต้องเป็นผู้นำเรื่องว่า ทำตาม Flow chart ในขั้นตอนการดำเนินงาน ก็จะสรุปได้ว่า ขั้นตอนไหนต้องการทีม จึงเกิดความภาคภูมิใจกับทีม และรู้สึกว่า การที่เราได้มาทำกลุ่ม KM ตรงนี้ ทั้งๆ ที่เรื่อง ที่เราคิดอยู่คนเดียวคงจะปวดหัวไปหลายวัน แต่วันนั้นบังเอิญ เหตุการณ์นี้มันเข้าไป จึงทำให้เราเห็นประโยชน์ของการทำ นี่เป็นความปิติในอกที่เกิดขึ้นมากับทีมงาน

ข้อเสนอของ พญ.นันทา เพิ่มเติมว่า ... สิ่งที่กลุ่มสิ่งแวดล้อมทำ ถือว่า มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำ ดีแล้ว แต่มุมมองจากภาย ... ตอนนี้ที่เราวิเคราะห์ เราวิเคราะห์จากพวกเราเท่านั้นเองนะ ว่า ใครทำอะไร ได้อะไร เราทำจากพวกเรา ก็เลยมีแต่พวกเรา เท่าที่ได้ฟัง สิ่งหนึ่งที่ปัจจัยส่งผลให้เกิดสำเร็จอยู่แล้วก็คือ ผู้บริหารสนับสนุนให้เราไปทำงานกับภายนอก ไม่ขัดขวาง ไม่ห้าม เท่ากับผู้บริหารมองว่า การไปทำงานข้างนอกก็จะได้ความรู้เพิ่มเติมเข้ามาช่วยให้คนของเราเก่งขึ้น ได้ฝึกฝนทักษะ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และการทำ KM จะมีความสำคัญขึ้นจากเริ่มต้น ตรงที่เวลาที่เราทำตอนแรกๆ เราเริ่มจากหน่วยงานเรา ตอนหลังเราก็ไปเกี่ยวข้องกับบุคคลในสายงาน ตัวอย่าง ถ้ามองด้านเรื่อง TQM ละก็ ซึ่งถ้าในโรงงานก็คือสายงานการผลิต ตั้งแต่ supplier จนกระทั่งถึงลูกค้า เพราะฉะนั้น ถ้าเราทำสำเร็จแล้ว คงต้องมองตรงอื่น เพื่อขยายในสิ่งที่ทำมาแล้วด้วย

นี่ก็เป็นเรื่องสุดท้ายของงาน KM ที่ดิฉันได้ไปสัมผัสมาที่ศูนย์อนามัยที่ 1 ตอนนี้ก็ได้รับ response เรื่อยๆ ว่า กำลังลุย ลุย และลุย และกรมอนามัยก็ไม่ได้ทำแต่ที่ศูนย์อนามัยที่ 1 นะคะ ที่อื่นๆ ก็ทำกัน เรื่องเล่าว่าทำกันอย่างไร ถ้าดิฉัน หรือทีมงานมีโอกาส ก็จะได้นำมาเล่าสู่กันฟังกันต่อ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ ... แต่ศูนย์อนามัยที่ 1 ยังไม่จบตอนนะคะ คราวหน้าจะเก็บตก เรื่อง การต่อเติมเสริมแต่ง บทวิเคราะห์น้อยๆ จาก KM Team ที่คงจะขอข้อ comment เยอะๆ เพื่อที่จะได้เปิดมุมมองของเราให้ก้าวไกลยิ่งขึ้นละค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 12926เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2006 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท