ทดสอบหลังเรียนครั้งที่ 2 วิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข


แนวคิดการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข (Sodality)

     จงบอกลักษณะของประเพณี วัฒนธรรม หรือวิถีประชาในสังคมไทย  ที่เข้าได้กับลักษณะตามแนวคิดการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข (Sodality) สัก 1 อย่าง ตามที่ท่านได้ปฏิบัติอยู่ พร้อมอธิบายลักษณะของประเพณี วัฒนธรรม หรือวิถีประชาในสังคมไทย ที่เลือกมาพอสังเขป

หมายเลขบันทึก: 12894เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2006 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

วิถีประชาที่ข้าพเจ้าพบว่ามีการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ที่ผ่านมาพบได้หลายอย่าง เช่นการประกันชีวิต การรวมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (หรือกลุ่มสัจจะ) การทอดผ้าป่าสามัคคี การลงแขก(บ้านเราคือการ "ออกปาก") แม้แต่ใน การจำหน่ายบัตรประกันสุขภาพแบบ 500 บาท สำหรับครอบครัว 200 บาท สำหรับบุคคล ก็ถือว่าเป็นการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุขเช่นกัน (ก่อนที่จะมา 30 บาท) แต่ในที่นี้ขออธิบาย กลุ่มสัจจะสะสม

เป็นการรวมกลุ่มกันของประชาชนที่มีแนวทางเดียวกันเพื่อมุ่งหวังที่จะทำกิจกรรมด้านการเงิน โดยการะดมทุนไปใช้ในการส่งเสริมอาชีพซึ่งต่างคนต่างได้รับประโยชน์ จากวิธีการนี้ กล่าวคือ ผู้ที่เข้ามาร่วมเป็นกรรมการบริหาร ก็ได้รับคำชม คำยกย่อง ตอดจนค่าตอบแทนเล็กๆ น้อยๆ และสมาชิกก็ได้กู้ทรัพย์สินที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และได้รับปันผล ส่วนผู้ที่นำมาฝากก็ได้รับเงินปันผล และสมาชิกทุกคนมีโอกาสที่จะได้รับเลือกเป็นกรรมการ  แต่ต้องยึดมั่นบนพื้นฐาน "สัจจะ" นั่นคือต้องเป็นไปตามข้อตกลง ที่กลุ่มได้วางไว้ นั่นเอง

นายสว่าง บุณยะนันท์ รหัส 476277014

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลา ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากการช่วยเหลือและการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ดังน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า สังคมที่ดีได้และมีความสามัคีกันนั้นการให้เป็นสิ่งที่สำคัญ การให้เวยใจจิตและบริสุทธิ์ไม่หวังสิ่งตอบแทน การช่วยเหลือกันภายในสังคมก็เป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถนำพาให้สังคมเป็นสุขได้ ประเพณีและวัฒนธรรมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยหล่อหลอมให้สังคมเป็นสังคมที่สงบสุข เช่นการไปร่วมพิธีกรรมในงานศพของผู้ตาย เป็นการให้ความช่วยเหลือทั้งทางร่างกายและจิตใจแก่ญาติผู้ที่เสียชีวิต ทางร่างกายเป็นการช่วยเหลือทั้งทางด้านแรงงาน  ลดความยุ่งยากในการจัดการงานและพิธี ปัจจัยต่าง ๆ เช่น เงิน อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดพิธี เป็นต้นที่จำเป็นที่ต้องใช้ในงานพิธีกรรมนั้น ทำให้เจ้าภาพในงานมีความสะดวกขึ้นสามารถจัดการงานอย่างอื่นที่จำเป็นได้มากขึ้นเนื่องจากมีเพื่อนบ้านได้แบ่งเบาภาระไปส่วนหนึ่งแล้วด้วย ส่วนทางด้านจิตใจบางครั้งการแสดงความเห็นอกเห็นใจไม่จำเป็นได้ให้ด้วยสิ่งของหรือเงินทองเสมอไปการให้กำลังใจและแรงใจขณะที่เจ้าภาพซึ่งกำลังเสียขวัญกำลังใจ การไปร่วมงานพิธีสามารถช่วยฟื้นฟูกำลังใจให้แก่เขาได้อีกทางหนึ่งเสมือนหนึ่งว่าการจากไปของบุคคลนั้นยังคงมีคุณค่า และทางญาติก็ได้รับการปลอบใจในระดับหนึ่งด้วยทำให้เขาสามารถต่อสู้ต่อไปได้

หากสังคมปัจจุบันคนในสังคมยังยึดมั่นในประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามและดำเนินชีวิตอยู่บนทางสายกลาง ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขแล้ว สังคมก็จะพัฒนาไปข้างหน้าและมีความสงบสุข

     ได้อ่านทั้ง 2 ท่านแล้วครับ ผมมั่นใจขึ้นมากครับ ว่าท่านน่าจะประยุกต์ใช้แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อช่วยกันจรรโลงสังคมได้ดี ไม่ใช่เพียงได้เรียนรู้เพื่อคิดจะเอาเปรียบสังคม เอาเปรียบผู้อื่นอย่างที่เป็น ๆ กันอยู่ อย่าลืมเป้าหมายปลายสุดนะครับ "เพื่อความเป็นธรรมในสังคม" โดยการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสิ่งใด ๆ ของคนชายขอบให้มากขึ้น ส่วนเขาจะเลือกหรือไม่เมื่อได้เข้าถึงแล้ว เป็นเรื่องของเขาเอง
วีระ สุวรรณละเอียด (476277011)

วิถีประชาที่ประยุกต์ใช้กับแนวคิดเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข

     ก่อนอื่นต้องขอขยายความ คำว่า วิถีประชาสักเล็กน้อยนะครับ วิถีประชา(Folkways) หรือวิถีชาวบ้าน คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นหลักเกณฑ์ในการดำเนินชีวิต  ดังนั้นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ประชาชนนำมาร่วมเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขในการดำเนินชีวิตนั้น ก็ย่อมหนีไม่พ้นการมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเฝื่อแผ่ที่อยู่คู่กับคนในสังคมไทยมาช้านาน ดังจะเห็นได้จากการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม วันนี้บ้านใครมีของกินอะไรที่อร่อยหรือมากพอก็จะมีการนำไปแจกจ่ายให้กัน ดังจะเห็นได้จากประเพณีทำบุญเดือนสิบ แต่ละคนจะมีการนำขนมเดือนสิบไปแจกจ่ายให้กับผู้หลักผู้ใหญ่หรือผู้ที่เคารพนับถือ หรือแม้แต่สิ่งที่เป็นข่าวในข่าวทีวีหลายๆช่องที่นำเสนอชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมไทย เพื่อให้สังคมได้รับรู้ว่าในสังคมของเรานั้นยังมีผู้ที่ด้อยโอกาส และให้ผู้ที่มีโอกาสที่ดีกว่าเข้าไปช่วยเหลือแบ่งปันโอกาสอันนั้นให้เพื่อให้เขาเหล่านั้นมีความสุขสมควรแก่อัตภาพที่ควรจะได้รับและตัวผู้ให้เองก็สุขสบายใจตามความสามารถที่จะให้ด้วยเช่นกัน

สุภาวณี ยูโซ๊ะ 476277016
สังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทุกวันนี้ สิ่งหนึ่งที่ยังเป็นวิถีชีวิตของคนในสังคมที่น่ายกย่องนับถือ ชมเชย และน่าส่งเสริมให้มีตลอดไปคือการที่คนในสังคมรู้จักมีการให้และมีการแบ่งปัน ทั้งที่เป็นการให้และการแบ่งปันในสิ่งที่เป็นนามธรรมและเป็นรูปธรรม อีกทั้งมีความสามัคคีช่วยเหลือกัน เช่น เราขับรถไปติดหล่มไม่สารถจะขับรถขึ้นมาจากหล่มนั้นได้ ก็จะมีคนมาช่วยเหลือให้รถของเราและเราพ้นจากทุกข์ที่ติดหล่มนั้นไปได้ หรือแม้แต่จะสร้งมัสยิดหรือสร้างวัดในแต่ละครั้งนั้น ชาวบ้านหรือคนในสังคม/ชุมชน จะร่วมมือร่วมใจช่วยเหลือกันคนละเล็กละน้อยทั้งกำลังทรัพย์กำลังกายในการจัดสร้าง เพื่ออะไร! ก็เพื่อความสุข ความสบายทางใจที่คนเหล่านั้นจะได้รับ  ดังน้นสิ่งๆนี้ ก็เป็นอีกประการหนึ่งที่เห็นได้ชัดในสังคมไทยที่น่าชื่นชม
นายวรวิทย์ กาเส็มส๊ะ รหัส 476277007
ในสังคมทุกสังคมล้วนแต่มีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจทั้งสิ้นและสิ่งที่ได้ทำและปฏิบัติสืบเนื่องต่อ ๆ กันมาตั้งแต่บรรพชน คือ การละหมาดฮายัต(ละหมาดขอพรจากพระเจ้า) เมื่อในชุมชนเกิดความวุ่นวายขึ้นอาทิเช่นฝนแล้งฝนไม่ตกตามฤดูกาลทำให้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเกิดความเดือดร้อนขาดนำดื่มนำใช้ คนในชุมชนก็จะรวมตัวกันละหมาดฮายัต เพื่อให้ฝนตกและเมื่อมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้นกับพี่น้องมุสลิม เช่น สงครามในอิรัก ความไม่สงบที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คนในชุมชนก็จะรวมตัวกันละหมาดขอพรเพื่อเหตุกการณ์ต่าง ๆ สงบลงอย่างรวดเร็ว
นายราชันต์ ศรีนวล รหัสประจำตัว 476277006

       ประเพณีการทำบุญข้าวเป็นวิถีประชาอีกรูปแบบหนึ่งในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(บ้านของผู้ตอบเอง)ซึ่งมีการจัดขึ้นทุกปี โดยทุกหลังคาเรือนในชุมชนจะนำข้าวเปลือกมารวมกันแล้วนิมนต์พระมาสวดมนต์ทำบุญเพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงพระคุณของข้าวที่มีต่อมนุษย์ และนำข้าวที่ชาวบ้านนำมารวมกันเก็บไว้เป็นกองงทุนข้าวไว้ใช้ในกิจกรรมต่างของชุมชน และให้ประชาชนที่ไม่มีข้าวเป็นเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูก หรือสำหรับบริโภคสามารถยืมจากกองทุนข้าวของชุมชนไปใช้ได้ เมื่อได้ผลผลิตข้าวในปีต่อมาก็จะมีการนำมาใช้คืน ซึ่งในส่วนนี้จะมีคณะกรรมการคอยควบคุมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิถีประชา มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ผู้ที่ไม่เดือดร้อนสามารถช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนได้ เป็นการแบ่งปันความทุกข์และความสุขภายใต้ระเบียบ กฏเกณฑ์และข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชน

ขอรวมด้วยคนนะครับ

ในพื้นที่ที่ผมอาศัยอยู่ก็มีวิธีการเฉลี่ยนทุกข์เฉลี่ยนสุขเหมือนกันนะครับ ในเขตพื้นที่ของเกาะช้าง จังหวัดตราด ผู้ประกอบธุกิจการท่องเที่ยวและโรงแรมก็เฉลี่ยแบ่งปันที่พักให้กับนักท่องเที่ยวโดยการแบ่งปันให้แก่ชาวบ้านที่เปิดให้พักแบบโฮมสเตย์ได้มีนักท่องเที่ยวได้พักแบบธรรมชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมีเมตรา ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำอาชีพประมง ซึ่งจะทำให้รีสอร์ทสามารถอยู่รวมกับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี

นายอาสัน หง๊ะเจะแอ รหัสประจำตัว 476277019

ในพื้นที่ของสถานีอนามัยที่ผมปฎิบัติงานอยู่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ้งกันและกันหลายด้านแต่ที่น่าสนใจคือ มีการจัดตั้งกองทุนฌาปณกิจประจำสถานีอนามัย เพื่อช่วยเหลือครอบครัวของผู้เสียชีวิตเพราะครอบครัวบางครอบครัวอาจจะไม่มีเงินเก็บในส่วนนี้อยู่เลย ซึ้งเราเราไม่สามารถรู้ได้ว่า การเจ็บตายจะมาเยือนในเวลาใด  และเมื่อมีผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นในพื้นที่ก็จะมีการเก็บเงินจากสมาชิกกองทุนมาช่วยเหลืองานศพของครอบครัวผู้เสียชีวิตซึ้งในส่วนนี้สามารถลดความวิตกกังวลของคนในครอบครัวได้บ้าง

นางวไลภรณ์ สุขทร รหัสประจำตัว 476277012

วิถีชีวิตของคนไทยปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น จากสังคมที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเมตตาต่อกัน  หลังจากได้รับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเยอะ สังคมของการเกษตร ค่อยๆเปลี่ยนไปเป็นสังคมโลกของอุตสาหกรรม ทำให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น การทำงานก็มีแบบกะ แบบช่วงเวลา การช่วยเหลือกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยมีน้อยลง เพราะเวลาทุกนาทีมีค่า แข่งกันทำงาน เพื่อต้องการ OT ต้องการเงินเพื่อตอบสนองความสุขทางด้านวัตถุนิยม แต่ในมุมด้านความดี การช่วยเหลือ การเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ก็ยังมีอยู่เพื่อรักษาความสมดุลย์ของธรรมชาติ เพื่อทุกอย่างมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน  เช่น ช่วงปลายเดือน ธค. 2548 เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ในเขตอำเภอระโนด เกือบทุกบ้านมีลักษณะน้ำท่วมขัง บางบ้านที่นอนยังไม่มี บางบ้านสูงเกือบถึงหลังคาบ้าน ข้าวในทุ่งนาที่มีสีเขียวเริ่มเหลืองอร่ามจวนที่จะสุก ก็เสียหายหมด ทุกคนมีความทุกข์ยากที่จะพรรณา แต่เมื่อเมื่อได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการ มูลนิธิ ต่างๆ ทุกบ้าน ทุกครอบครัว ได้รับการช่วยเหลือเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นคนยากจน หรือ คนรวย ของแจกได้รับเหมือนกัน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน หลังน้ำลด ธกส.ก็มีการพักหนี้ให้ประชาชนที่ทำนา 3 ปี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและให้มีการกู้เงินเพิ่มเพื่อนำไปลงทุนในการทำนาต่อไป 

และยังมีการช่วยเหลือเอื้ออาทรแบบจารีตประเพณีดั้งเดิม คือ เมื่อมีงานศพเกิดขึ้นในครอบครัวใด ก็จะมีการช่วยเหลือกันแม้ว่าเจ้าภาพจะไม่แจกบัตรเชิญ ทุกคนก็พร้อมใจจะไปช่วยเหลือ ร่วมทำบุญ ไปให้กำลังใจแก่ญาติพี่น้องที่เสียบุคคลอันเป็นที่รัก อย่างน้อย การไปให้เจ้าภาพเห็นไปร่วมงานจะช่วยให้เจ้าภาพมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับชีวิตต่อไป เพราะยังมีคนรอบข้างยังให้ความหวังและกำลังใจที่ดีต่อกัน

นายอิสมาแอ กือตุ รหัส 476277018

ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างสักหนึ่งเรื่อง  คือ กองทุนบ้านปาแดปาลัส  ตำบลปากู  อำเภอทุ่งยางแดง  จังหวัดปัตตานี  เป็นกองทุนที่รัฐบาลร่วมกับประชาชน  เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนในการลงทุน  ก็สามารถกู้โดยที่ไม่มีดอกเบี้ย  เพราะเป็นหมู่บ้านอิสลาม  100  % เป็นการช่วยเหลือโดยที่ไม่ต้องการเงินตอบแทน  คือใครต้องการเป็นสมาชิกแค่ลงเงินสัจจะเพียงหุ้นละ 10 บาทเท่านั้น  โดยไม่จำกัดหุ้นแล้วแต่ความพร้อมของแต่คนใครต้องการสินค้าอะไรก็สามารถขอความช่วยเหลือจากกองทุนได้  ราคาเหมือนราคาขายตามท้องตลาดทั่วไป  กองทุนนี้ได้รับเหรียงทองของจังหวัดปัตตานี  เป็นกองทุนที่สมาชิกทุกคนพร้อมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันละกัน  เงินกำไรที่ได้จะแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ต่างๆ  เช่น  ทุนการศึกษาของเด็กยากจน  เด็กกำพร้า  คนพิการที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้

นายณัฐโชค บูเก็ม รหัส 476277002

วิถีประชาที่ประยุกต์ใช้กับการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข

ข้าพเจ้าเป็นคที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยมีการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข คือการบริจาคซากาต(การให้ทาน)โดยการบริจาคซากาตนั้นโดยการนำเอาเงินหรือสิ่งของจากคนที่มีฐานะและคนที่ค้าขายได้กำไรมาให้แก่คนที่มีฐานะยากจน  คนพิการ เด็กกำพร้า คนเดินทาง ครูสอนศาสนา คนที่เข้าศาสนาอิสลามใหม่ คนแก่คนชรา ซึ่งคนที่มีรายได้มากจะต้องจ่ายซากาตมากส่วนคนที่มีรายได้น้อยก็ไม่ต้องจ่ายโดยที่มีเกณฑ์ตามหลักการของศาสนาอิสลาม โดยคนที่ได้รับซากาตจะมีการเฉลี่ยให้มากน้อยขึ้นอยู่กับความลำบากของแต่ละคนไม่เท่ากันซึ่อาจนำมาประยุกต์ใช้กับการงานด้านสาธารณสุขได้บ้าง การบริจาคซากาตนั้นเป็นที่ยึดถือและเป็นหลักคำสอนของศาสนาอิสลามที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติและเป็นการปฏิบัติมาตั้งแต่โบราณ

นางมยุรา ชูทอง รหัส 476277004

ทุกวันนี้โลกหมุนไปอย่างช้าๆ สำหรับคนที่สิ้นหวัง แต่บางคนที่มีความสมหวังมักมองว่าโลกหมุนเร็วจัง นานาจิตตังแล้วแต่มุมมองแต่ที่สำหรับคนบางกลุ่มที่มองอนาคตแทบไม่มี เช่น กลุ่มพิการ กลุ่มผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง กลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าสงสาร ไม่รู้ว่าว่าจะตายเมื่อไร วันนี้จะกินอะไร จะนอนที่ไหน แต่วันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไป ทุก อบต.มีการจัดทำงบประมาณเพื่อช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ โดยมีการช่วยเหลือเงิน เดือน 300 - 500 บาท ซึ่งบางคนมองดูเหมือนจะน้อยมากแทบไม่เห็นคุณค่า แต่สำหรับคนกลุ่มนี้เป็นเรื่องที่สำคัญเพราะเงิน 300 - 500 บาท สามารถเลี้ยงชีพได้ทั้งเดือนอย่างน้อยก็เป็นกำลังใจ แรงใจที่ให้เขาทั้งหลายได้ต่อสู้กับชีวิตที่ยั่งคงเหลืออยู่ บนโลกนี้ได้อีกยาวนาน รอยยิ้มบนใบหน้าของพวกเขาจะทำให้โลกนี้มีความสมบูรณ์มากขึ้น บนความทุกข์ย่อมมีความสุขเข้ามาบ้าง ฟ้าหลังฝนมักจะพาสิ่งที่ดี มีความชุ่มชื่นในหัวใจอยู่เสมอ นี้ละหนอไม่มีใครได้ทุกอย่าง มีแต่สุขและทุกข์ปนเปกันเสมอ เฉลี่ยๆกันไปทั้งทุกข์และสุข เพราะฉนั้นจงทำแต่ความดีให้มากๆ กรรมไม่มีจะได้น้อยลง

นายวิโรจน์ มิตทจันทร์ รหัส 476277009
ประชาชนคนไทย ถือได้ว่าเป็นคนชาติหนึ่งที่รักใคร่ปรองดองกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และยอมเสียสละได้แม้กระทั่งเลือดเนื้อเพื่อให้ประเทศชาติคงอยู่ต่อไป ถึงแม้ว่าปัจจุบันคนไทยจะรับขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติตะวันตกมาบ้างก็ตาม แต่ส่วนหนึ่งที่คนไทยไม่เคยลืม คือ ความศรัทธาในศาสนาไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดก็ตาม ผู้ที่นับถือศาสนานั้นๆ ก็ย่อมรักและเคารพในประเพณีที่ปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยดั้งเดิม ยกตัวอย่างเช่น ศาสนาพุทธมีการรวมตัวกันเมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนา มีการทำบุญร่วมกัน เช่นการทอดกฐินสามัคคี การทอดผ้าป่า การให้ทานต่างๆ เป็นต้น โดยไม่จำกัดเพศ วัย หรือแม้กระทั่งชั้นวรรณะ ทุกคนสามารถร่วมกันทำร่วมกันปฏิบัติได้หมด คนรวยอาจมีกำลังทรัพย์มากก็ทำบุญถวายปัจจัยมาก คนฐานะด้อยลงมาก็สามารถบริจาคกำลังทรัพย์ กำลังแรงกาย ลดน้อยลงมา ซึ่งเป็นความสุขความพอใจของทุกคนและสามารถทำได้ ถือเป็นวิถีชีวิตของประชาชนสืบต่อกันมา หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์สึนามิที่ผ่านมา ชาวไทยทั่วประเทศมีการบริจาคทั้งทุนทรัพย์ แรงใจ แรงกาย ให้กับผู้ประสบภัยพิบัติ เพราะผู้ที่ประสบภัยมีความทุกข์ คนอื่นทั่วประเทศก็รู้สึกเป็นทุกข์ หดหู่ใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหมือนกัน แต่เมื่อทุกคนมีน้ำใจเป็นหนึ่งอันอันเดียวกัน หลายฝ่ายให้ความช่วยเหลือ ทั้งค้นหาศพ บริจาคเงิน เป็นล่าม ให้การรักษาผู้บาดเจ็บ จนชาวต่างชาติซึ้งในน้ำใจคนไทย ซึ่ง ณ วันนี้ผู้ที่ประสบภัยสึนามิมีกำลังใจกำลังกายที่ลุกขึ้นมายืนยัดและต่อสู้อีกครั้ง เปรียบเสมือนกับการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขของคนไทยทั้งประเทศ นี่แหละน้ำใจของชาวสยามเมืองยิ้ม
นายยุทธนา กาฬสุวรรณ 476277005
ลักษณะของประเพณี และวัฒนธรรมที่ผมทำงานอยู่นั้น เป็นแบบของชาวมุสลิมที่ผมเองก็จะต้องปรับตัวให้เข้ากับชนกลุ่มใหญ่เช่น  การถือศีลอด ผมก็ต้องอดบ้างเป็นบางวันเพราะเขาไม่ขายครับ แต่ว่ากลางคืนนั้นผมก็ได้ไปทานข้าวกับชาวบ้าน เกือบทุกวันที่เขามาชวนผมขัดไม่ได้ เพราะไปบ้านหนึงแล้วถ้าไม่ไปอีกบ้านก็จะน้อยใจเอาเฉยๆเลย (โดนมาแล้วไม่พูดกับผมตั้งหลายวันเลย )จึงได้ทราบสาเหตุว่าผมไม่ไปบ้านเขา แต่จริงแล้วผมเกรงใจครับ ส่วนการเฉลี่ยทุกเฉลี่ยสุขในหมู่บ้านที่อนามัยตั้งอยู่(ผมพักที่บ้านพัก) ตัวอย่าง เมื่อบ้านใดมีงานบุญ งานแต่งชาวบ้านก็จะมาช่วยกันอย่างหนาตาเลยครับซึ่งผมเองยังไม่เคยเห็น  ต่างคนที่มาช่วยนั้นไม่ได้หวังค่าตอบแทน และบ้านใดที่มีคนตาย ชาวบ้านก็(เท่าที่เห็นนะครับ)จะเอาน้ำตาล ข้าวสารไปให้บ้านนั้นด้วย และมีการละหมาดกันเป็นกลุ่มใหญ่ ผมเองก็ได้ซื้อน้ำตาลไปให้ด้วยทราบว่าบ้านไหนมีคนตายคับ และอีกอย่างบ้านใดมีคนเจ็บป่วยชาวบ้านก็จะแวะไปเยี่ยมและยื่นเงินให้ด้วยคับ
โปรดดูรายละเอียดกติกาได้ที่บันทึก โจทย์เขียนรายงานวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข โดยในสัปดาห์นี้ก็ขอให้นักศึกษาได้เล่าประสบการณ์ในการทำงานของตัวนักศึกษาเอง ที่เห็นว่าเป็นการประยุกต์ใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์ มาอธิบายพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพ
เรื่องบัตร สปร และ บัตร 30 บาทนั้น  ทำไมถึงมาใช้บริการต่างกัน
เท่าที่ทราบนะครับ(เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในที่ทำงานผมนะครับ)พี่เขาบอกว่าถ้าบัตร สปร มารักษาถ้าเขาจะเอายาอะไรก็ให้เขาไปมากๆ เพราะว่าเงินที่จัดสรรจะได้มากๆ   กว่า บัตร 30 บาท จึงทำให้ชาวบ้านเกิดเป็นนิสัย ถ้าวันไหนมาแล้วได้ยาน้อยกว่าทุกวันก็จะไปบอกหัวหน้าทุกที่ ว่าผมให้ยาน้อย ผมงกบ้างละ  แต่ความจริงเป็นแค่ไข้หวัด  แต่ขอ ยาน้วด  ยาปวดฟัน  และยาอื่นๆที่เขาสามารถมองเห็น ผมอธิบายโทษของยาให้ฟัง บางคนก็เชื้อบ้างไม่เชื้อบ้าง และบางคนรวยจะตาย แต่อย่างจนก็มียิ่งพวกลูกหลาน อบต ผู้ใหญ่นี้และตัวการเลยคับ เวลาพิจารณาผมก็ต้องยอมเซ็นต์ (เพื่อความอยู่รอดคับ) แต่เมื่อมีบัตร 30 บาทชาวบ้านก็มาเอายาน้อยลง ถ้าไม่เจ็บจริง(บ้างคนเดินผ่านมาก็แวะเอายาสักหน่อย)ทั้งที่ไม่ได้เป็นอะไรเลย คับมีรายละเอียดมีอีกมากคับเขียนไม่ได้คับ
นายยุทธนา กาฬสุวรรณ 476277005 แก้ไขใหม่
ลักษณะของประเพณี และวัฒนธรรมที่ผมทำงานอยู่นั้น เป็นแบบของชาวมุสลิมที่ผมเองก็จะต้องปรับตัวให้เข้ากับชนกลุ่มใหญ่เช่น  การถือศีลอด ผมก็ต้องอดบ้างเป็นบางวันเพราะเขาไม่ขายครับ แต่ว่ากลางคืนนั้นผมก็ได้ไปทานข้าวกับชาวบ้าน เกือบทุกวันที่เขามาชวนผมขัดไม่ได้ เพราะไปบ้านหนึงแล้วถ้าไม่ไปอีกบ้านก็จะน้อยใจเอาเฉยๆเลย (โดนมาแล้วไม่พูดกับผมตั้งหลายวันเลย )จึงได้ทราบสาเหตุว่าผมไม่ไปบ้านเขา แต่จริงแล้วผมเกรงใจครับ ส่วนการเฉลี่ยทุกเฉลี่ยสุขในหมู่บ้านที่อนามัยตั้งอยู่(ผมพักที่บ้านพัก) ตัวอย่าง เมื่อบ้านใดมีงานบุญ งานแต่งชาวบ้านก็จะมาช่วยกันอย่างหนาตาเลยครับซึ่งผมเองยังไม่เคยเห็น  ต่างคนที่มาช่วยนั้นไม่ได้หวังค่าตอบแทน และบ้านใดที่มีคนตาย ชาวบ้านก็(เท่าที่เห็นนะครับ)จะเอาน้ำตาล ข้าวสารไปให้บ้านนั้นด้วย และมีการละหมาดกันเป็นกลุ่มใหญ่ ผมเองก็ได้ซื้อน้ำตาลไปให้ด้วยทราบว่าบ้านไหนมีคนตายคับ และอีกอย่างบ้านใดมีคนเจ็บป่วยชาวบ้านก็จะแวะไปเยี่ยมและยื่นเงินให้ด้วยคับเท่าที่ทราบนะครับ(เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในที่ทำงานผมนะครับ)พี่เขาบอกว่าถ้าบัตร สปร มารักษาถ้าเขาจะเอายาอะไรก็ให้เขาไปมากๆ เพราะว่าเงินที่จัดสรรจะได้มากๆ   กว่า บัตร 30 บาท จึงทำให้ชาวบ้านเกิดเป็นนิสัย ถ้าวันไหนมาแล้วได้ยาน้อยกว่าทุกวันก็จะไปบอกหัวหน้าทุกที่ ว่าผมให้ยาน้อย ผมงกบ้างละ  แต่ความจริงเป็นแค่ไข้หวัด  แต่ขอ ยาน้วด  ยาปวดฟัน  และยาอื่นๆที่เขาสามารถมองเห็น ผมอธิบายโทษของยาให้ฟัง บางคนก็เชื้อบ้างไม่เชื้อบ้าง และบางคนรวยจะตาย แต่อย่างจนก็มียิ่งพวกลูกหลาน อบต ผู้ใหญ่นี้และตัวการเลยคับ เวลาพิจารณาผมก็ต้องยอมเซ็นต์ (เพื่อความอยู่รอดคับ) แต่เมื่อมีบัตร 30 บาทชาวบ้านก็มาเอายาน้อยลง ถ้าไม่เจ็บจริง(บ้างคนเดินผ่านมาก็แวะเอายาสักหน่อย)ทั้งที่ไม่ได้เป็นอะไรเลย คับมีรายละเอียดมีอีกมากคับเขียนไม่ได้คับ
นายอาดัม แวดาย๊ะ 476277017
จากความคิดของข้าพเจ้า คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นหลักเกณฑ์ในการดำเนินชีวิต  ดังนั้นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ประชาชนนำมาร่วมเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขในการดำเนินชีวิตนั้น ก็ย่อมหนีไม่พ้นการมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเฝื่อแผ่ที่อยู่คู่กับคนในสังคมไทยมาช้านาน ดังจะเห็นได้จากการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม ส่วน ชาวมุสลิมมีการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข คือการบริจาคซากาต(การให้ทาน)โดยการบริจาคซากาตนั้นโดยการนำเอาเงินหรือสิ่งของจากคนที่มีฐานะและคนที่ค้าขายได้กำไรมาให้แก่คนที่มีฐานะยากจน ส่วนชาวพุทธประเพณีทำบุญเดือนสิบ แต่ละคนจะมีการนำขนมเดือนสิบไปแจกจ่ายให้กับผู้หลักผู้ใหญ่หรือผู้ที่เคารพนับถือ ดังนั้นหากสังคมปัจจุบันคนในสังคมยังยึดมั่นในประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามและดำเนินชีวิตอยู่บนทางสายกลาง ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขแล้ว สังคมก็จะพัฒนาไปข้างหน้าและมีความสงบสุข
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท