อนาคตพลังงานไทย ต้องมองไกลกว่า 15 ปี


ข้อมูลจากหลายแหล่งชี้ตรงกันว่า กำลังการผลิตน้ำมันของโลกผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว

ฟ้าครับ

เมื่อวานนี้ผมได้รับเชิญไปร่วมอภิปรายในหัวข้อ "โครงสร้างพลังงานของประเทศไทยควรจะเป็นอย่างไรในอนาคต" จัดโดยกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ท่านรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานมาบรรยายเปิดงานเอง และการบรรยายก็ครอบคลุมรายละเอียดทุกเม็ดจริง ๆ

ช่วงอภิปรายมีท่านศ. ดร. ดุสิต เครืองามเป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งท่านควบคุมเวลาและสรุปเนื้อหาการอภิปรายได้ดีมาก ทั้ง ๆ ที่ท่านเป็นผู้รู้ที่เหมาะจะเป็นวิทยากรมากกว่าผมเสียอีก

่ผมมีข้อสังเกตว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับปัญหาพลังงานในทุก ๆ ประเด็นนโยบายเป็นอย่างมาก โดยวางแผนไปถึงอนาคตข้างหน้านานถึง 15 ปี แต่ปัญหาคือว่าเรื่องพลังงานนี้เวลา 15 ปีถือว่าสั้นมาก แทบจะเรียกว่าหลับตื่นเดียวก็ถึงแล้ว

ทั้งนี้เพราะการลงทุนในเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานต้องใช้เวลานาน เมื่อมีขึ้นแล้วก็ยังต้องใช้ไปนาน ๆ อีกด้วยจึงจะคุ้ม

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำอยู่ได้ไม่ต่ำกว่า 75 ปี
โรงไฟฟ้าพลังถ่านหินไม่ต่ำกว่า 45 ปี
โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 30 - 60 ปี

แล้วยังมีปัญหา global warming (โลกอุ่นขึ้น) เข้ามาให้ปวดหัว ต้องวางแผนกันยาว ๆ อีก

รัฐบาลเยอรมันมีการทำภาพเหตุการณ์อนาคต (scenario) ด้านพลังงานที่มองไปข้างหน้าถึงปี ค.ศ. 2100 องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency) ก็ทำ scenario ถึงปี 2050 เป็นอย่างน้อย

ประเทศไทยเรามอง 15 ปีจะไหวหรือครับ? ยิ่งเป็นประเทศพึ่งพาการนำเข้า ยิ่งต้องมองไกลออกไปกว่าเขาอีกนะครับ

มีอีกประเด็นที่น่าสนใจ คือได้ยินว่าเวลานี้เราพอจะมีเงินกันมากขึ้น จึงมีการเตรียมออกไปซื้อบ่อน้ำมันของต่างประเทศให้เรามีสิทธิ์มีเสียง มีอำนาจต่อรองมากขึ้น เรื่องกลยุทธ์เชิงรุกแบบนี้ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่อยากให้ช่วยมองให้ละเีอียดนิดนึงว่า น้ำมันเองแม้จะยังไม่หมด แต่การขุดเจาะขึ้นมาใช้จะประสบปัญหาความคุ้มทุนที่ลดลง (energy return on energy invested) เมื่อบ่อน้ำมันใกล้หมด ค่าใช้จ่ายในการขุดเจาะจะแพงกว่าเงินที่ได้จากการขายน้ำมันนั้น

ข้อมูลจากหลายแหล่งชี้ตรงกันว่า กำลังการผลิตน้ำมันของโลกผ่านจุดสูงสุดมาแล้ว ถึงแม้อาจจะไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่มันก็คืออนาคตอันใกล้นี้แน่นอน เวลานี้มีการสำรวจแหล่งพลังงานใหม่ ๆ เราพูดกันถึงพลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน แต่น้อยคนที่ทราบว่ายังมีแหล่งพลังงานฟอสซิลนอกระบบ (สำนวนของดร. ปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ ขอยืมมาใช้นะครับ) ที่ยังไม่ได้รับการนำมาใช้ แต่มีปริมาณมากมายมหาศาลแต่ยังรอเทคโนโลยีและความคุ้มทุนในการนำมาใช้ เช่น tar sand ที่มีปริมาณรวมกันมากกว่าน้ำมันเสียอีก (เฉพาะที่ Alberta ในแคนาดามีพอ ๆ กับน้ำมันของซาอุฯ) และ gase hydrate ที่ส่วนใหญ่เป็นแก๊สมีเธนที่ถูกกักไว้ด้วยโมเลกุลของน้ำ สิ่งเหล่านี้ประเทศชั้นน้ำเริ่มมีการสำรวจไว้แล้ว แม้จะอยู่นอกประเทศของเขาก็มีการไปร่วมลงทุนได้ เช่น ญี่ปุ่นไปร่วมลงทุนกัุบสหรัฐและเยอรมันเพื่อสำรวจ gase hydrate ในแคนาดา

ประเทศไทยน่าจะมองลู่ทางเช่นนี้ไว้บ้างหรือไม่?

ข้อมูลที่กล่าวมานี้ ส่วนใหญ่ได้มาจากโครงการคาดการณ์เทคโนโลยีเชื้อเพลิงอนาคต ที่ประกอบด้วยภาพเหตุการณ์อนาคตและแผนที่เทคโนโลยี (technology roadmap) ดำเนินโดยศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปคและศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ระหว่างปี ค.ศ. 2004-2005 ขณะนี้กำลังรวบรวมจัดทำรายงานและซีดีรอม คาดว่าจะเสร็จในเร็ว ๆ นี้

ฟ้ายังฟ้าอยู่หรือเปล่าครับ?

หมายเลขบันทึก: 12876เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2006 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ข่าวพลังงานทดแทนใหม่ล่าสุด ช่วยกู้สถานการณ์ ปัญหาใหญ่ของโลกได้อย่างสิ้นเชิง

ขอแสดงความยินดีกับประชากรโลกทุกคน ที่พวกเรา มนุษย์ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในโลกใบนี้ จะรอดพ้นจากสภาวะวิกฤตที่จะเกิดขึ้นกับโลกใน 3 ปัญหาใหญ่ที่กำลังเป็นปัญหายอดฮิตติดอันดับของโลกคือ

1 ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน

2 ปัญหาโลกร้อน และสภาวะเรือนกระจก

3 ปัญหามลพิษและมลภาวะในอากาศ

เนื่องจากได้มี หน่วยงานเอกชนที่ มีชื่อว่า Trinity Professional ได้ทำการวิจัยพลังงานทดแทนใหม่ที่เราสามารถที่จะดึง ก๊าซในอากาศ ออกมาจากชั้นบรรยากาศโลก และ ถูกเปลี่ยนให้เป็นของเหลว เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานได้เป็นจำนวนมากมายมหาศาล อย่างไม่จำกัดปริมาณ และจะใช้เท่าไรก็ไม่มีวันหมด เพราะเป็นพลังงานหมุนเวียน ที่ขบวนการผลิต สามารถทำได้โดยง่าย และมีราคาถูกมาก แต่ต้องเป็นรูปแบบของโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้นเช่น โรงงานผลิตก๊าซ TIG ที่บ้านเรา ในนิคมอุตสาหกรรม สามารถผลิตพลังงานนี้ได้ และสามารถผลิตได้ถึง 5000 ตันต่อวันเลยทีเดียวครับ

ข้อดีของพลังงานทดแทนใหม่ที่สามารถแก้ปัญหาใหญ่ทั้ง 3 ข้อนั้นได้คือ

พลังงานนี้ดูดความร้อนจากอากาศรอบด้านเข้ามาเพื่อเปลี่ยนเป็นแรงกล และเมื่อถูกใช้ไปแล้ว จะปลดปล่อยความเย็นออกมา ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า ศูนย์องศาหรือ ประมาณ ลบ 40 องศาC ทิ้งออกไปสู่บรรยากาศของโลก ดังนั้นถ้าเราใช้พลังงานนี้ เราก็ไม่ต้องประหยัดพลังงานกันอีกต่อไป มีให้ใช้ได้อย่างเกินพอ เพราะยิ่งใช้โลกยิ่งเย็นลงครับ

แน่นอนครับ ถ้าทั่วโลกปฏิรูป ใช้พลังงานใหม่นี้ โลกก็จะเย็นลงได้อย่างแน่นอน

และเราต้องหยุดการใช้พลังงานความร้อน ในรูปแบบของเชื้อเพลิงความร้อนทุกชนิด และต้องหยุดโดยเร็วที่สุดด้วยครับ ไม่เช่นนั้น ลูกหลานของเราจะเดือดร้อนหนัก เพราะปัญหาจากพลังงานความร้อนที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่นน้ำมัน และ ก๊าซต่างๆ ซึ่ง ปล่อยก๊าซคาบอนไดออกไซด์ และความร้อนออกมาเป็นสาเหตุของ การเกิดสภาวะโลกร้อน และเรือนกระจก และเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดกับโลก ซึ่งเราทุกคนจะต้องรับผิดชอบช่วยกันทำให้ปัญหาหมดไปโดยเร็ว

พลังงานทดแทนใหม่นี้ เป็นของคนไทยและของชาติไทยครับ ผู้วิจัยกล่าวว่าอีก 1 เดือนเมื่อเขาจดสิทธิบัตรแล้วจะออกมาเปิดเผยเทคโนโลยีใหม่นี้ครับ

ผู้ที่สนใจและต้องการที่จะร่วมกันสนับสนุนผู้วิจัยพลังงานทดแทนใหม่นี้ และมีภาระใจที่จะช่วยแก้ปัญหาของโลก ซึ่งเราชาวโลกทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาใหญ่นี้ร่วมกัน ผู้วิจัยยินดีที่จะให้ท่านเข้าร่วมโครงการได้ครับ

ติดต่อมาที่ คุณ คริสต์ โทร 081 4472678 
[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท