ปัญหาการวิจัย มักจะได้มาจากการสังเกต


คนทุกคนมีการสังเกต แต่สิ่งที่เห็น แตกต่างกัน นักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์จะมองเห็นปัญหาจากสิ่งที่สังเกตเสมอ

เมื่อสังเกต ก็มักจะเห็นปัญหาจากสิ่งที่สังเกต  ทั้งนี้ก็เพราะว่า  ในธรรมชาติ (1) มีความสัมพันธ์ (2)มีการเปลี่ยนแปลง

ท่านลองมองออกไปนอกถนนซิ แล้วท่านจะเห็นเหตุการณ์ต่างๆมากมาย  เช่น เห็นหญิงสาวเดินกางร่ม, คนเดินไปมาอย่ารีบเร่ง ฯลฯ  ท่านจะเห็นว่าเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหนึ่งกับอีกตัวแปรหนึ่ง  คือ หญิงสาวเดินกางร่ม สัมพันธ์กับ แดดจ้า, การเคลื่อนที่ของคน สัมพันธ์กับ เป้าหมายของเขา,  การเคลื่อนที่ไปมาก็คิอการเปลี่ยนแปลง; ปัญหาเกิดขึ้นได้ก็เพราะมองเห็นความสัมพันธ์เหล่านี้  คนที่มองเห็นก็จะเกิดข้อสงสัย  เกิดคำถาม  คนที่จะเป็นนักวิจัย เป็นนักวิทยาศาสตร์  หรือเรียนปริญญาโท,เอก,ที่ต้องทำวิจัยจะต้องเป็นคนพวกนี้  จะเรียกว่าพวกขี้สงสัย ก็ได้ ครับ;  คนที่มองไม่เห็น ฝึกเท่าไรก็มองไม่เห็น ก็อย่าไปเป็นนักวิจัยเสียก็หมดเรื่อง มีอาชีพอื่นอีกมากมายที่มีความสุขได้  จริงไหมครับ

คนที่มองเห็น  ก็จะตั้งคำถามในใจว่า : แสงแดดเป็นสาเหตุทำให้หญิงสาวกางร่มหรือไม่?  เป้าหมายของแต่ละคนเป็สาเหตุจูงใจให้เขาเดินไปข้างหน้าอย่างเร่งรีบหรือไม่?  ฯลฯ  คำถามประเภทนี้แหละครับที่เรียกว่าปัญหาการวิจัย

หรือแม้แต่คำถามที่ว่า: ทำไมหญิงสาวเหล่านั้นจึงต้องกางร่ม ? ทำไมพวกเขาจึงเดินรีบเร่ง?  ก็เป็นคำถาม  แต่ไม่ใช่คำถามของการวิจัย 

คำถามการวิจัยที่ดีจะต้องถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างต้วแปรกับตัวแปร  ดังเช่นในคำถามกลุ่มแรก : แสงแดด กับ พฤติกรรมกางร่ม,  เป้าหมาย  กับ  พฤติกรรมการเดิน ,  แต่กลุ่มหลังมีตัวแปรเดียว: พฤติกรรมกางร่ม, พฤติกรรมการเดินรีบเร่ง.

ผู้ที่กำลังหาหัวข้อวิทยานิพนธ์อยู่  แต่นึกหัวข้อปัญหาไม่ออก  ลองฝึกซิครับ ต้องทำได้  ท่านต้องทำได้  ไม่ต้องวิ่งไปขอความรู้จากใครให้เสียเวลาหรอกครับ  ได้แล้วจะคุยกับผมก็ไดนี่ครับ ไม่ต้องเกรงใจ.

นี่คือขั้นตอนที่หนึ่งของการวิจัยเชิงประจักษ์

หมายเลขบันทึก: 12875เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2006 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • เห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างมากครับว่าพื้นฐานของนักวิจัยต้องสังเกตเก่ง ต้องขยันตั้งคำถาม
  • ถ้ากระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนการวิจัยเชิงประจักษ์ดูการพัฒนานักเรียนเป็นหลัก มากกว่าที่จะดูหลักฐานเอกสารอย่างเดียว การศึกษาบ้านเราจะพัฒนามากกว่านี้นะครับ
แนวคิดของอาจารย์ขจิต  ผมขอเรียกว่า  การนำกระบวนการวิจัยเชิงประจักษ์ไป ประยุกต์ใช้ในการสอน  และถ้าเราสอนด้วยกระบวนการนั้นจริงๆ  การกระทำนั้นก็จะเป็นไปตามแนวคิด Pragmatism  ที่มีอิทธิพลต่อ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน  และมีนัยว่า  การกระทำเช่นนี้ เป็นการสนับสนุนความคิดที่จะให้ผู้เรียนสำคัญที่สุด  หรือที่แท้ก็คือให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั่นเอง  ขอให้อาจารย์ได้มีโอกาสทำเช่นนี้นะครับ
อาจารย์คะ ตอนนี้หนูกำลังทำวิทยานิพนธ์ค่ะ มึนมากๆ เลย ต้องเรียนปรึกษาอาจารย์ด้วยค่ะ ทำ เปรียบเทียบรพ.ที่ผ่านการรับรองในแต่ละขั้น กับปัจจัยแห่งความสำเร็จใน 7S ค่ะ ขอคำชี้แนะค่ะ

ด้วยความยินดีครับ  ขอให้ให้ข้อมูลผมดังนี้ (๑)ระดับ ป.โท หรือเอก (เพราะความยากง่ายไม่เท่ากัน), (๒) ให้บอก Statement of Research Problem, (๓) ความหมายของ 7S

ถ้ากินเนื้อที่มาก ก็ให้ใช้ Email - [email protected] ครับ

นายวัชรานุกูล บุญเลิศ

อาจารย์พอจะมีความหมายหรือว่าเนื้อหาขอ หลัก 7S ไหมครับ

ผมกำงทำ Thesis ป.โท ที่ดูความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด 7S กับ QWL ครับ

แต่ยังหาเนื้อหาและความสมบูรณ์ของหลัก 7S ไม่ดีเท่าไหร่ครับ

คุณวัชรานุกูล บุญเลิศ

เรื่องนี้อยูนอกขอบเขตของสาขาของผมครับ ขอให้คุณปรึกษาอาจรย์ที่ปรึกษาให้แนะนำแหล่งข้อมูลให้นะครับ

ดร.ไสว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท