วิจัยในชั้นเรียน


การที่ครูต้องเขียนรายงานการวิจัยทั้ง ๕ บท อาจไม่มีความเหมาะสมในทางปฏิบัติ ใช้เวลานาน ผู้เขียนจึงขอนำเสนอวิธีการเขียนรายงานการวิจัยแบบง่ายๆ สามารถทำได้ทั้งครู และนักเรียน ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔

การวิจัยในชั้นเรียน(
Classroom Action Research :CAR)      

 ดร.เอกพรต  สมุทธานนท์

         Kurt Lewin
เป็นผู้เริ่มใช้คำว่า "วิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) " ซึ่งการวิจัยในชั้นเรียน(Classroom Action Research :CAR) ก็เป็นประเภทหนึ่งของวิจัยเชิงปฏิบัติการ  โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อแก้ปัญหา  และพัฒนานักเรียน  

           หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครู ให้มีความเป็นผู้นำทางวิชา การปฏิบัติหน้าที่  ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้  โดยมีครูเป็นผู้ปฏิบัติการวิจัย  ที่เรียกว่า  ครูนักวิจัย(teacher as Research)

 
                 
แต่การที่ครูต้องเขียนรายงานการวิจัยทั้ง บท อาจไม่มีความเหมาะสมในทางปฏิบัติ ใช้เวลานานผู้เขียนจึงขอนำเสนอวิธีการเขียนรายงานการวิจัยแบบง่ายๆ สามารถทำได้ทั้งครู และนักเรียน  ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔

     
จุดประสงค์ทั่วไปของการทำวิจัย
          ๑.เพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่ตนเองรับผิดชอบ
          
๒.เพื่อประกอบการเสนอผลงานทางวิชาการ
     
รูปแบบของการวิจัยที่เหมาะในการนำไปวิจัยในชั้นเรียน
          
๑.การวิจัยเชิงสำรวจ เช่น  สำรวจความคิดเห็น/ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียน...... สำรวจความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครู
          
๒.การวิจัยหาความสัมพันธ์ เช่น  ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิธีสอนของครูกับความพึงพอใจของนักเรียน        ความสัมพันธ์กับอาชีพผู้ปกครองกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน          

           ๓.การวิจัยเปรียบเทียบ   เช่น   การเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนต่อวิธีการสอนที่แตกต่างกัน         เปรียบเทียบรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียน ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน

          ๔.การวิจัยทดลอง  การใช้สื่อผสมเพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติ  หรือการทดลองใช้สื่อผสมเพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งสื่อดังกล่าวเป็นสื่อที่ได้มีผู้พัฒนาขึ้นอยู่ก่อนแล้ว แต่ครูนำมาใช้กับนักเรียนของตนที่อาจมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากคนอื่น

          ๕.การวิจัยเชิงทดลองและพัฒนา ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาหรือสร้าง สื่อการเรียนรู้  เครื่องมือ หรือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่แตกต่างจากของเดิม/ใหม่ และเพื่อมุ่งแก้ปัญหาอย่างตรงประเด็น กลุ่มตัวอย่างจึงไม่จำเป็นต้องมากมาย เพียงแค่ 1 ห้องก็เพียงพอ

          สถิติที่ใช้ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ไม่จำเป็นต้องใช้ สถิติที่ยุ่งยาก เพียงค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานก็พอแล้ว   การวิจัยในชั้นเรียนที่เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา น่าเหมาะกับการเรียนการสอนมากที่สุด เพราะนักเรียนแต่ละห้องมีความแตกต่างกัน จึงทำให้ครูสามารถพัฒนา นวัตกรรมใหม่ๆ  ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

 
วัตถุประสงค์ของการวิจัย

         
๑.จะมีข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ แต่ต้องอยู่ในขอบข่ายของประเด็นปัญหา การวิจัยที่กำหนดไว้เท่านั้น
         
๒.ควรกำหนดเป็นข้อๆ  เช่น  สำรวจเปรียบเทียบ  หาความสัมพันธ์  หาผลกระทบหาความสอดคล้อง เช่น
                 
๑) เพื่อศึกษา เจตคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และการสนับสนุนของผู้ปกครองของนักเรียนที่ร่วมทำและไม่ร่วมทำโครงงานวิทยาศาสตร์

                 ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู เกี่ยวกับการนิเทศภายในจำแนกตามเพศ          วุฒิการศึกษา และประสบการณ์สอน
                 
๓) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพของผู้ปกครอง กับความสามารถทางคณิตศาสตร์
                
๔) เพื่อศึกษาอิทธิพลของ  ๑๐ องค์ประกอบ ที่มีผลต่อความพึงพอใจของหัวหน้าคณะและหัวหน้าแผนกวิชาช่างอุตสาหกรรม

 ตัวอย่างการวิจัยในชั้นเรียน

    รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือเชิงบูรณาการในวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานช่าง) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  (เอกพรต  สมุทธานนท์: 2549)

 
บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือเชิงบูรณาการในกลุ่มสาระ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานช่าง) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนธัญรัตน์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 ด้วยกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้:

                 1) ปัญหาที่สำคัญ 3 ประการในการจัดการเรียนรู้คือ การจัดการเรียนรู้ของครูยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร นักเรียนขาดความสนใจ ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ และสื่อการสอน

                2) เนื้อหาที่นักเรียนมีความต้องการได้แก่ การเลือกใช้วัสดุช่างอย่างเหมาะสม การทาสีภายในบ้าน การปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย การเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือ และการใช้ เครื่องมือช่างในบ้าน ตามลำดับ 

                3) การจัดการเรียนรู้ ให้จัดสมาชิกกลุ่มละ 4-5 คน จัดกลุ่มตามความ  สมัครใจโดยสมาชิกมีความรู้ และทักษะงานช่างต่างกัน เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงานที่ปลอดภัย การใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง และมีการรายงานสรุปกระบวนการทำงาน

                4) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมประกอบด้วย  ขั้นนำ  ขั้นให้ความรู้เบื้องต้น  ขั้นประเมินเบื้องต้น  ขั้นแบ่งกลุ่ม  ขั้นประยุกต์ และขั้นประเมินผล 

                5) จากผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียน พบว่า นักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำงานช่างดีขึ้นเป็นลำดับ โดยสังเกตจากการใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่วมากยิ่งขึ้น มีทักษะการทำงานร่วมกันดีขึ้น มีข้อขัดแย้งลดน้อยลง นักเรียนลดการพึ่งพาครู และหันมาปรึกษากันเองมากขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 128225เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2007 00:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หวัดดีค่ะท่านรองฯเอกที่น่ารักของ...(ไม่บอก) สบายดีนะคะ ขอบคุณมากค่ะสำหรับวิจัยในชั้นเรียน ดีมาก..ได้ความรู้เพิ่มขึ้นและทบทวนไปด้วยเพราะลืมไปหมดแล้ว web blog ก็เกือบลืมไปแล้วเช่นกันกว่าจะตอบท่านรองฯได้หลายนาที เฮ้อ ! แก่แล้วไม่มีดีซักอย่าง มีอะไรเพิ่มเติมส่งไปนะคะ พบกันเปิดเทอมค่ะ.. Bye ๆ

ช่วยกันส่งเสริมงานวิจัยให้ง่ายขึ้น จะเป็นคุณูปการแก่ครูมากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท