ขอบคุณและขอให้กำลังใจ 'ต้นกล้า' ของวลัยลักษณ์


ชุมชนทุกชุมชนที่กำลังจะเกิดขึ้นในวลัยลักษณ์ เปรียบเหมือน ต้นกล้า ของเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการเพาะปลูกตามแนวคิดของ KM

ล่าสุดผมได้ปรึกษาพูดคุยกับคุณบรรจงวิทย์และคุณปิติกานต์ ซึ่งเป็นคน OD ทำหน้าที่เป็นผู้ประสาน สนับสนุนและส่งเสริม การทำกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนคนหน้างานของวลัยลักษณ์ ว่า ขณะนี้มีพนักงานของวลัยลักษณ์หลายกลุ่ม ที่เป็นคนหน้างานจริง ๆ ของวลัยลักษณ์เรา ได้ให้ความสนใจที่จะรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนต่างๆ มากมายเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในการทำงาน ผมเองก็รู้สึกดีใจมาก และอยากจะขอบคุณ รวมทั้งขอให้กำลังใจพวกเราทุกชุมชน ซึ่งผมถือว่า ชุมชนทุกชุมชนที่กำลังจะเกิดขึ้นในวลัยลักษณ์นี้ เปรียบเหมือน 'ต้นกล้า' ของเมล็ดพันธุ์ได้รับการเพาะปลูกตามแนวคิดของ KM ที่จะเติบโตขึ้นมาโดยมีจุดมุ่งหมายที่ดี มีอุดมการณ์ที่น่ายกย่องสรรเสริญ ซึ่งต่อไปนี้งาน OD ก็ต้องทำหน้าที่ในการรดน้ำ พรวนดิน ดูแลรักษา เพื่อให้ต้นกล้าเหล่านี้กลายเป็นต้นไม้ใหญ่ ที่แข็งแรง ให้ดอกผล และร่มเงาที่ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น  เสมือนหนึ่ง ชุมชนคนทำงานจริง ของวลัยลักษณ์ ที่กำลังเติบโตด้วย วิธีคิด วิธีทำงาน วิธีพัฒนาที่มีคุณค่าต่อองค์กร ซึ่งผมอยากจะบอกว่า ทิศทางนี้แหละครับที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้วลัยลักษณ์ของเรา เป็นองค์การธรรมรัฐ เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล ตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยของเรา หากพวกเราชาววลัยลักษณ์ ที่เป็นคนทำงานจริง ในกลุ่มงานใด ๆ ก็ตามมีความสนใจที่จะรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนคนทำจริง ก็ลองติดต่อพูดคุยกับงาน OD ดูนะครับ ซึ่งผมเชื่อว่า คุณบรรจงวิทย์และคุณปิติกานต์ จะยินดีอย่างมากครับ

หมายเลขบันทึก: 12812เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2006 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นี่คือการใช้ บล็อก ทำหน้าที่ CKO คือคอยย้ำ ทำความชัดเจนเรื่อง KV

ผมชื่นชมมากครับ

วิจารณ์

เห็นด้วยกับอาจารย์วิจารณ์และขอร่วมชื่นชมด้วยค่ะ
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม

ตอนนี้ ชุมชนคนวลัยลักษณ์ได้ให้ความสนใจต่อการรวมกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันและประสงค์ที่จะทำกิจกรรมร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยหลือซึ่งกันและกันหลายกลุ่มคะ และหลายๆ กลุ่มได้เกิดความเคลื่อนไหว พบปะพูดคุย ประชาสัมพันธ์ ทาบทามสมาชิกเข้าร่วมชุมชนกันแล้วคะ ได้แก่ชุมชนคน Oracle, ชุมชนคนการเงิน, ชุมชนคนพัสดุ, ชุมชนคน 5 ส., ชุมชน E-office และชุมชนที่กำลังจะก่อตัวขึ้นอีกมากมาย ได้แก่ ชุมชนคนทำ Web, ชุมชนคนหน้าไมค์, ชุมชนคนงานประชุม, ชุมชนคนประหยัดพลังงาน,ชุมชนแง่งามแห่งชีวิต เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดิฉันรู้สึกประทับใจมากและรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย เนื่องจากแต่ละกลุ่มที่รวมตัวกันเป็นการรวมตัวจากความตั้งใจดี ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เรียนรู้แบ่งปันกันเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์กับมหาวิทยาลัย ซึ่งทุกชุมชนเริ่มจากการให้ และปรารถนาดี ซึ่งดิฉันเชื่อว่ามันจะทำให้ชุมชนคนวลัยลักษณ์เกิดบรรยากาศการทำงานที่เกื้อกูลกัน

ซึ่งในฐานะเป็นคน OD มีความยินดียิ่งที่จะช่วยประสานและสนับสนุนช่วยเหลืออย่างเต็มที่ในกิจกรรมของชุมชนทุกรูปแบบทุกชุมชนคะ
แนวทางต่อไปที่ทีม OD (พี่บรรจงวิทย์, ดิฉันและน้องฉันทนา) ได้ปรึกษาหารือกันก็คือ เราอยากจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างชุมชน เราให้ชื่อกิจกรรมนี้ว่า กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มวลประสบการณ์ ผ่านกลุ่มสนใจในชุมชนคนวลัยลักษณ์ ซึ่งทางทีมงานคิดว่าเราจะพูดคุยกันหัวข้อเรื่อง "แรงบันดาลใจในการจัดตั้งชุมชน" ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณปลายๆ เดือนกุมภาพันธนี้ ด้วยมีความตั้งใจให้ชุมชนมีพลังใจ และเรียนรู้แนวคิดและแนวทางการก่อเริ่มชุมชนร่วมกัน

 

ปารมี รุ่งนิรันดรกุล
ขอแสดงความชื่นชมกับชุมชุนทุกชุมชนที่ได้รวมตัวกันแล้วและกำลังจะเกิดเป็นชุมชนใหม่ในมวล.ของเรา เพราะนี่คือ KMอย่างแท้จริง..เรามีการสร้าง Value ร่วมกันและพร้อมจะเติบโตไปด้วยกัน สิ่งเหล่านี้นับว่ามีคุณค่าอย่างมหาศาลในการที่จะร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์กรของเราให้น่าอยู่และไปสู่จุดหมายเดียวกันได้..ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท