แผนทำธุรกิจชุมชน (แบบเบลอๆ)


ถ้ามีกระบวนการจัดการความรู้ที่ดี และมีการดำเนินการจัดการความรู้ให้กับกลุ่มเหล่านี้ เราอาจพบทาง (ลัด) ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำอย่างที่แผนที่ภาคสวรรค์ตั้งไว้ก็ได้
           ตั้งใจเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานนี้ว่าวันนี้จะลงรายละเอียดในแต่ละเรื่องที่จะนำเข้าที่ประชุม  เครือข่ายฯ ในวันที่ 22 มกราคม  2549  แต่พอตื่นขึ้นมารู้สึกไม่ค่อยสบายเลย  หัวตื้อๆยังไงก็ไม่รู้ค่ะ  พยายามนั่งคิดอยู่ตั้งนานก็คิดไม่ค่อยจะออก  ก็เลยหันไปทำกิจกรรมอื่นก่อน  แล้วค่อยมานั่งคิดใหม่  ทีนี้หนักกว่าเดิมค่ะ  คิดวนไปวนมา  สับสนยังไงก็ไม่รู้ ก็เลยเลิกคิด (อีกครั้ง)  ตั้งใจว่าถ้ารู้สึกดีขึ้นค่อยมานั่งคิดใหม่  แต่ก็ไม่เห็นจะดีขึ้นเลย  ทีแรกตั้งใจว่าจะเลิกคิดแล้ว  พับเก็บไว้ก่อน  พรุ่งนี้ค่อยเริ่มใหม่  แต่ก็ทำไม่ได้  เพราะ  คิดว่าพรุ่งนี้คงไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันแน่  เนื่องจากต้องไปดูนักศึกษาเตรียมตัวจัดงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์  ตั้งแต่เช้าจนเย็น  ก็เลยเอากลับมานั่งคิดใหม่  แต่ก็ยังคิดไม่ออกอีก  ไม่รู้ว่าจะทำยังไง  ครั้นจะไม่คิดก็ไม่ได้เหมือนมีอะไรที่ติดอยู่ในใจ  ยังทำไม่เสร็จ  ในที่สุดก็เลยเปลี่ยนแผนใหม่ค่ะ  ไม่คิดเรื่องประชุมเครือข่ายฯแล้ว  แต่ลองเอาเป้าหมายของการจัดการความรู้ในระดับกลุ่มกับระดับสมาชิกมานั่งอ่านดู เหมือนสวรรค์จะเห็นใจ  อยู่ดีๆก็เกิดความคิดว่าน่าจะลองออกแบบกิจกรรมเกี่ยวกับการทำธุรกิจชุมชน ก็เลยนั่งลองคิดดูค่ะ  (ตั้งเป็นตุ๊กตาไว้ก่อนค่ะ เป็นการทำการบ้านไว้ก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำอย่างที่ผู้วิจัยออกแบบไว้)
            การจัดการความรู้ระดับกลุ่มและระดับสมาชิกที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ใน 1 ปีนั้น  เป้าหมายหนึ่งก็คือ  การนำเงินกองทุนธุรกิจชุมชนมาลงทุนทำธุรกิจชุมชน  ซึ่งถ้าพิจารณาตามแผนที่ภาคสวรรค์จะเห็นว่า  ในการที่จะทำธุรกิจชุมชนได้นั้น  กลุ่มจะต้องมีการทำแผนแม่บทชุมชน  ต้องมีการทำประชาคมก่อน  ผลจากกระบวนการนี้จะนำมาสู่การทำธุรกิจชุมชน  หากพิจารณาตามข้อเท็จจริงในขณะนี้จะเห็นว่ากลุ่มต่างๆที่เป็นสมาชิกเครือข่ายฯนั้น  บางกลุ่มได้นำเงินในกองทุนนี้ไปดำเนินการทำธุรกิจชุมชนแล้ว  เช่น  กลุ่มแม่ทะ-ป่าตัน  กลุ่มบ้านเหล่า (เถิน) กลุ่มแม่พริก      เป็นต้น  แต่กลุ่มเหล่านี้ก็ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนที่ภาคสวรรค์แต่อย่างใด  การทำธุรกิจของกลุ่มเหล่านี้ต้องยอมรับว่า (เท่าที่เก็บข้อมูลได้) เป็นการนำเงินมาใช้โดยผ่านการประชุม  เห็นชอบจากคณะกรรมการเป็นส่วนใหญ่ 
            ในประเด็นนี้  หากถามความคิดเห็นผู้วิจัย  ผู้วิจัยเห็นว่าถ้าเรามีกระบวนการจัดการความรู้ที่ดี  และมีการดำเนินการจัดการความรู้ให้กับกลุ่มเหล่านี้  เราอาจพบทาง (ลัด) ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำอย่างที่แผนที่ภาคสวรรค์ตั้งไว้ก็ได้  (ไม่ใช่ว่าแผนที่ภาคสวรรค์ไม่ดีนะคะ  เป็นแผนที่ที่ดีมาก  แต่ผู้วิจัยเห็นว่าอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ค่ะ)
            ดังนั้น  ในวันนี้ผู้วิจัยจึงมานั่งคิดดูว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง  ต้องมีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะทำให้สมาชิกและกลุ่มมีส่วนร่วม   มีการเรียนรู้เพื่อทำให้เกิดธุรกิจชุมชนขึ้นมาในชุมชนของตนเอง  (ขอบอกอีกครั้งค่ะว่าเป็นเพียงตุ๊กตาที่ตั้งไว้)  แต่ขอบอกก่อนนะคะว่าความคิดนี้วางอยู่บนพื้นฐานจากการที่ได้พูดคุยกับกรรมการของกลุ่มต่างๆ  ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา  เพียงแต่เป็นการพูดคุยที่ไม่เป็นทางการเท่านั้น  นอกจากนี้แล้วขอสารภาพอีกครั้งค่ะว่าผู้วิจัยไม่มีความรู้ในเรื่องแผนแม่บทชุมชนเลย  (เป็นการสำรวจตัวเอง  ซึ่งเมื่อพบแล้วทำให้ผู้วิจัยมีการบ้านขึ้นมาอีก 1 ข้อ  คือ  ต้องหาความรู้ในเรื่องแผนแม่บทชุมชนค่ะ)  ดังนั้น  แผนนี้จึง (อาจ) ไม่ได้วางอยู่บนพื้นฐานของการทำแผนแม่บทชุมชนค่ะ   สำหรับรายละเอียดของโครงการมีดังนี้ค่ะ

โครงการพัฒนาธุรกิจชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิต  พิชิตความยากจน  และชุมชนมีสวัสดิการ
วัตถุประสงค์
            เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการสร้างและบริหารจัดการธุรกิจชุมชนของสถาบันพัฒนาระบบการออมเพื่อสุขภาวะและสวัสดิการชุมชนจังหวัดลำปาง  จำนวน 5 พื้นที่   ได้แก่ 
            1.สถาบันพัฒนาระบบการออมเพื่อสุขภาวะและสวัสดิการชุมชนป่าตัน-นาครัว  เทศบาลตำบลป่าตัน-นาครัว  อำเภอแม่ทะ  จังหวัดลำปาง 
            2.สถาบันพัฒนาระบบการออมเพื่อสุขภาวะและสวัสดิการชุมชนบ้านดอนไชย  เทศบาลตำบลล้อมแรด  อำเภอเถิน  จังหวัดลำปาง 
            3.สถาบันพัฒนาระบบการออมเพื่อสุขภาวะและสวัสดิการชุมชนเกาะคา  เทศบาลตำบลเกาะคา  อำเภอเกาะคา  จังหวัดลำปาง 
            4.สถาบันพัฒนาระบบการออมเพื่อสุขภาวะและสวัสดิการชุมชนป่าตัน-นาครัว  เทศบาลนครลำปางเขต 4  อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง 
            5.สถาบันพัฒนาระบบการออมเพื่อสุขภาวะและสวัสดิการชุมชนแม่พริก  เทศบาลตำบลแม่พริก  อำเภอแม่พริก  จังหวัดลำปาง 
            โดยใช้ระยะเวลาในการสร้างธุรกิจชุมชน  รวมทั้งการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรม  และมีการติดตามประเมินผลภายใน 6 เดือน
กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินการ

          พื้นที่ดำเนินการ
          โครงการนี้คัดเลือกพื้นที่ต้นแบบขึ้นมาจำนวน 5 พื้นที่ (ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น)  ซึ่งใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณา  คือ  ความพร้อมของสมาชิกและคณะกรรมการบริหาร  และ ทุนในการดำเนินการ รวมทั้งความสมัครใจขององค์กร (กลุ่ม)   

            กลุ่มเป้าหมาย
          ในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายนั้น  ตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า ธุรกิจชุมชนนั้นเป็นของชุมชน  ดังนั้น  จึงควรให้สมาชิกของชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการมากที่สุด  ดังนั้น  กลุ่มเป้าหมายที่ตั้งขึ้นมานั้นจึงมาจากจำนวนสมาชิกของสถาบันพัฒนาระบบการออมเพื่อสุขภาวะและสวัสดิการชุมชนของทั้ง 5 องค์กร (กลุ่ม)
            ประกอบด้วย
          1.สถาบันพัฒนาระบบการออมเพื่อสุขภาวะและสวัสดิการชุมชนป่าตัน-นาครัว  เทศบาลตำบลป่าตัน-นาครัว  อำเภอแม่ทะ  จังหวัดลำปาง  จำนวน 400 คน
            2.สถาบันพัฒนาระบบการออมเพื่อสุขภาวะและสวัสดิการชุมชนบ้านดอนไชย  เทศบาลตำบลล้อมแรด  อำเภอเถิน  จังหวัดลำปาง  จำนวน 2,000 คน
            3.สถาบันพัฒนาระบบการออมเพื่อสุขภาวะและสวัสดิการชุมชนเกาะคา  เทศบาลตำบลเกาะคา  อำเภอเกาะคา  จังหวัดลำปาง  จำนวน 300 คน
            4.สถาบันพัฒนาระบบการออมเพื่อสุขภาวะและสวัสดิการชุมชนป่าตัน-นาครัว  เทศบาลนครลำปางเขต 4  อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง  จำนวน 600 คน
            5.สถาบันพัฒนาระบบการออมเพื่อสุขภาวะและสวัสดิการชุมชนแม่พริก  เทศบาลตำบลแม่พริก  อำเภอแม่พริก  จังหวัดลำปาง  จำนวน 500 คน
            6.ภาคีร่วมพัฒนา  เช่น  สถาบันการศึกษา  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ส่วนราชการ  คณะกรรมการของสถาบันฯ (ระดับจังหวัด) และ คณะกรรมการของสถาบัน (ระดับองค์กร)  ประมาณ 100 คน

หมายเหตุ : จำนวนสมาชิกที่กำหนดไว้เป็นจำนวนสมาชิกโดยประมาณของแต่ละกลุ่ม  ในการทำจริงอาจลดจำนวนลงก็ได้ค่ะ  เช่น  ชุมชนละ 100 คน  เป็นต้น

วิธีดำเนินงานหรือกิจกรรม
            การดำเนิน “โครงการพัฒนาธุรกิจชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิต  พิชิตความยากจน  และชุมชนมีสวัสดิการ”  นั้น  มีวิธีดำเนินงานและกิจกรรมดังนี้
การดำเนินงานและกิจกรรม

ก่อนเกิดธุรกิจชุมชน

ระหว่างกระบวนการทำธุรกิจชุมชน

หลังการเกิดธุรกิจชุมชน

- จัดเวทีประชุมเตรียมการ จำนวน 6 ครั้ง  แบ่งเป็น การประชุมเตรียมการ (ทำความเข้าใจ) ในระดับจังหวัด 1 ครั้ง  และระดับองค์กร (กลุ่ม) จำนวน 5 ครั้ง  (องค์กรละ 1 ครั้ง)
 


   - ประชุมทำความเข้าใจกับสมาชิกของ 5 องค์กร  องค์กรละ 1 ครั้ง
 - สำรวจข้อมูลความต้องการธุรกิจชุมชนของสมาชิกทั้ง 5 องค์กร  โดยใช้แบบสำรวจ
 -จัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกและภาคีร่วมพัฒนา จำนวน 5 ครั้ง (องค์กรละ 1 ครั้ง)
- จัดทำธุรกิจชุมชนตามโครงการที่ได้รับการเสนอจากสมาชิก
- การประชาสัมพันธ์ธุรกิจชุมชนตามสื่อต่างๆ


- การประเมินผลการดำเนินการธุรกิจชุมชน
- จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางการปฏิบัติ


ระยะเวลาในการดำเนินงาน
          ระยะเวลาในการดำเนินงานทั้งสิ้น 6 เดือน  โดยจำแนกรายละเอียดได้ดังนี้

ขั้นตอนการดำเนินการ
    เดือนที่
      ผลลัพธ์
  1
2
3
4
5
6
 
1.จัดเวทีประชุมเตรียมการ

          ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความเข้าใจและให้ความร่วมมือ
2.ประชุมทำความเข้าใจกับสมาชิก
            สมาชิกเกิดความเข้าใจ  เห็นความสำคัญ  และให้ความร่วมมือ
3.สำรวจข้อมูลความต้องการธุรกิจชุมชน
 
        ได้ข้อมูลความต้องการธุรกิจชุมชน
4.จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น
   
      ได้ข้อมูลความต้องการธุรกิจชุมชนและข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ
5.จัดทำธุรกิจชุมชน
            เกิดธุรกิจชุมชน
6.การประชาสัมพันธ์ธุรกิจชุมชน
   
      ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบและให้การสนับสนุนธุรกิจชุมชน
7.การประเมินผลการดำเนินการ

          ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างและการบริหารจัดการธุรกิจชุมชน
8.จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย
         
ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
            1.เป็นต้นแบบในการสร้างและการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิต  พิชิตความยากจน  และชุมชนมีสวัสดิการ  ให้กับองค์กรอื่นๆในสถาบันฯและองค์กรภายนอก
            2.ช่วยเติมเต็มการบริหารจัดการในระดับจังหวัดและระดับกลุ่มให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็ง  ความยั่งยืน  ของการจัดสวัสดิการชุมชน
            3.ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับภาคีร่วมพัฒนา  ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกัน  และความยั่งยืนในที่สุด

            วันนี้ขอแค่นี้ก่อนนะคะ  คิดได้แค่นี้ค่ะ  ยังไงก็ช่วย Comment ด้วยนะคะ จะดีมากค่ะถ้าช่วยแนะนำหนังสือหรือเอกสารเกี่ยวกับแผนแม่บทชุมชนให้กับผู้วิจัยสำหรับนำมาใช้ในการศึกษา (พรุ่งนี้ถ้าสติกลับคืนมา  จะเอาแผนนี้มานั่งอ่านและคิดอีกครั้งค่ะ  บางทีอาจลบแผนนี้ออกไปจากความคิดก็ได้ค่ะ)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 12810เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2006 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
กัสมาภรณ์ หงษ์ขาว

ฉันเป็นอาจารย์สอนทางด้านธุรกิจ....คลิกเข้ามาเจอบทความของคุณ ไม่ทราบว่า ณ ปัจจุบันนี้กระบวนการทางด้านการวิจัยของคุณไปถึงไหนแล้ว แผนธุรกิจชุมชนสำเร็จแล้วหรือยัง จะได้ช่วยอ่านงัยล่ะ....สู้ๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท