โจทย์เขียนรายงานวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข สัปดาห์ที่ 2


การประยุกต์ใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์ มาอธิบายพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพ

     โปรดดูรายละเอียดกติกาได้ที่บันทึก โจทย์เขียนรายงานวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข โดยในสัปดาห์นี้ก็ขอให้นักศึกษาได้เล่าประสบการณ์ในการทำงานของตัวนักศึกษาเอง ที่เห็นว่าเป็นการประยุกต์ใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์ มาอธิบายพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพ

     กรณีตัวอย่างเช่น กรณีของการให้สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนแบบเดิม (สปร.) จะพบว่าผู้ที่มีบัตร สปร. ประเภทผู้มีรายได้น้อย มักจะมาใช้บริการบ่อยครั้ง (ถี่) บางครั้งดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ปกติยังไม่จำเป็นนัก แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นบัตรทองประเภทเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 30 บาท กลับสังเกตได้ว่าหากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็จะไม่มาใช้บริการ ซึ่งแสดงว่าการร่วมจ่าย 30 บาทต่อครั้งน่าจะมีผลในแง่ดีต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในภาพรวม (หมายเหตุเป็นการมองเพียงบางส่วนในระบบหลักประกันสุขภาพในภาพรวมทั้งหมด)

หมายเลขบันทึก: 12738เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2006 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
นางมยุรา ชูทอง และนางวไลภรณ์ สุขทร

 การจัดสรรงบประมาณ ก่อน พ.ศ.2544 การจัดสรรงบประมาณด้านต่างๆ สสจ.จะจัดสรรผ่าน สสอ. เพื่อให้ สสอ. จัดสรรให้กับสถานีอนามัยต่างๆ ในภาพรวมไม่ได้แยกชัดเจน แต่ตั้งแต่มีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2544 เป็นต้นมามีการเปลี่ยนแปลงการจัดสรรงบประมาณเป็นเหมาจ่ายรายหัว ซึ่ง สสจ. จะจัดสรรให้ CUP ต่างๆ เป็น 3 ส่วน คือ

1. OPD จัดสรรตามจำนวนผู้ป่วยนอก

2. IPD จัดสรรตามจำนวนผู้ป่วยใน

3. P&P จัดสรรตามจำนวนประชากร ใช้ในการส่งเสริมและป้องกันโรค

ซึ่งการจัดสรรงบประมาณแบบปัจจุบันนี้ สามารถนำงบ P&P มาใช้ปฏิบัติงานเชิงรุกในการส่งเสริมและป้องกันโรค เช่น โครงการออกกำลังกาย , อาหารปลอดภัย , ไข้เลือดออก , ฉี่หนู ป็นต้น ทำให้เกิดสภาพคล่องในการทำงาน สามรถแก้ปัญหาได้ถูกจุดและรวดเร็วทันเวลา

     เรียน พี่สายัญฯ

     ผมได้ติดตามดูแล้วที่พี่บอกว่าได้เขียนบันทึกแล้วนั้น จริง ๆ แล้วพี่เพียงสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกแล้ว ดังที่ผมพบคือ http://gotoknow.org/profile/kangsadan แต่พี่ยังไม่ได้สร้าง Blog ซึ่งต้องสร้าง Blog ก่อนจึงจะเขียนบันทีกได้ ขอให้พี่ลองอ่านบันทึกนี้ของ อ.ดร.จันทวรรณ ดูนะครับ http://gotoknow.org/Createblogpost_html เป็นขั้นตอนต่าง ๆ

     ขอให้สนุกกับการจัดการความรู้ครับ แล้วจะได้มากกว่าการนั่งเรียนในห้อง (ขอบอก...) ชวนเพื่อน ๆ สมัครกันด้วยล๊ะครับ

    

นาย คมสรรค์ ชื่นรัมย์ นายวิโรจน์ มิตทจันทร์

จากโจทย์ข้อที่ 2 จากอดีตกับหลักเศรษฐศาสตร์ของข้าพเจ้า  หลักการในการใช้วิชาเศรษฐศาสตร์กับการทำงานเกียวเนื่องกับการดูแลผู้ป่วยที่ต้องแสดงถึงบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อผู้ป่วยและ การพัฒนาคุณภาพบริการให้มีมาตรฐานและได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่อันเนื่องมาจากการจัดสรรงบประมาณตาม จำนวนของผู้ป่วยทั้ง ipd opd P&P ซึ่งกำหนดจากความพึงพอใจของประชาชนในการรับบริการทั้งความถูกต้องรวดเร็วและมีประสิทธิภาพดังนั้นโรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขจะต้องเร่งทำงานในเชิงรุกมากขึ้นเพื่อสร้างความพึงพอใจทั้งด้านการตรวจรักษา และบริการ รวมถึงการควบคุม เฝ้าระวัง และป้องกันโรค อย่างเกิดประสิทธิผล ดังนั้นเราจึงเป็นฟันเฟืองชิ้นหนึ่งในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการเสริมสร้างความมีสุขภาพดีถ้วนหน้ามาสู่ประชาชนในพื้นที่

สรุป ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการเพื่อคงจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนใว้และและเพิ่มศักยภาพทั้งบุคลากรและการบริการให้ทัดเทียมโรงพยาบาลเอกชน ...ครับ...

     ขอให้ท่านมั่นใจ เขียนออกมาได้เลย ไม่มีถูกผิดนะครับในตอนนี้ สิ่งที่ท่านสะท้อนออกมา จะทำให้ผมทราบว่าควรจะเติมเต็มตรงใหนบ้าง และจะได้จัดให้มีการ ลปรร.เพื่อทบทวนกัน ในตอนท้าย เราค่อยช่วยกันสรุปอีกครั้ง แล้วจะนำมาบันทึกสรุปไว้อีกทีครับ ขอให้เรียนรู้ด้วยความสนุก ไม่ต้องเครียด
ครับ ขอคุณมากที่แนะนำครับ และพี่จะไปดำเนินการครับ ขอคุณครับ
นายสว่าง บุณยะนันท์ สายัญ ศรีนาค

พฤติกรรมการใช้บริการสาธารณสุขของเจ้าหน้าที่ กรณีการรับบริการทางการแพทย์ต่าง ๆ เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนต่าง ๆ แล้วเมื่อจะต้องชำระเงินค่าบริการเจ้าหน้าที่มักจะขอค้างชำระเงินก่อน และบางกรณีเมื่อชำระแล้วก็สามารถไปเบิกเงินจากการเงินได้เลย

ปัจจุบันการค้างชำระก็สามารถทำได้ในกรณีฉุกเฉิน และการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลก็ทำตามขั้นตอนปกติ ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีก่อนการเปลี่ยนแปลง 1. เจ้าหน้าที่สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละวันได้ 2.เจ้าหน้าที่สามารถเข้ารับบริการทางด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึง                                                                               3.สะดวกต่อเจ้าหน้าที่ผู้มารับบริการ                                   4.กรณีฉุกเฉินสามารถค้างชำระค่าบริการทางการแพทย์ได้       .

ข้อเสียก่อนการเปลี่ยนแปลง1. ทำให้เจ้าหน้าที่การเงินที่เรียกเก็บค่าบริการไม่สะดวกต่อการทำงาน                                                                          2.เพิ่มภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่การเงิน                              3.การทำงานไม่เป็นระบบ ขาดขั้นตอนการปฏิบัติ และเกิดความล่าช้าในการทำงาน

ข้อดีหลังการเปลี่ยนแปลง เจ้าหน้าที่การเงินทำงานสะดวก มีความเป็นระเบียบ ลดข้อผิดพลาดจากการทำงาน และเข้ากับระบบการประกันคุณภาพด้วย

ข้อเสียหลังการเปลี่ยนแปลง ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้รับบริการไม่สะดวกต่อการเบิกจ่าย เพราะต้องรอ ใช้เวลานานกว่าจะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาล

สว่าง บุณยะนันท์ สายัญ ศรีนาค

เพิ่มเติม

จากการจัดสรรเงินในปัจจุบัน แบบ 30 บาท ส่งผลดังนี้ การปฎิบัติงานนอกเวลาราชการของ เจ้าหน้าที่ จะเห็นได้ว่าเมื่อมีโครงการ 30 บาท เข้ามาเกี่ยวข้อง สถานบริการสาธารณสุข(สถานีอนามัย) มีเงินบำรุงเพิ่มขึ้น เมื่อมีเงินเพิ่มขึ้นสภาพคล่องของสถานีอนามัยมากขึ้น การใช้จ่ายเงินด้านต่างๆ ก็ย่อมมีมากขึ้น เช่นการจ่านค่าตอบแทนการให้บริการนอกเวลาราชการ การจ่ายค่าตอบแทน การปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมป้องกันโรค ตลอดจนการดูแลผู้ป่วย เรื้อรังที่ไม่ต้องไปรับการรักษาที่ รพ. ซึ่งทำให้ผู้ป่วยได้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อม

 

 

 

นายวีระ สุวรรณละเอียด นางสุภาวณี ยูโซ๊ะ
ประสบการณ์ในการทำงานที่ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐศาสตร์กับพฤติกรรมด้านสุขภาพ
 ในการปฏิบัติงานด้านสุขภาพตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการดำเนินงานไปอย่างหลากหลายรูปแบบด้วยกัน  ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานในลักษณะใดๆก็ตามในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าจะต้องคุ้มค่ากับต้นทุน เพื่อให้สอดคล้องกับระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงาน ซึ่งจะแตกต่างกับการดำเนินงานด้านสุขภาพในสมัยก่อนๆ  แต่ในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปข้างหน้านั้นก็ต้องยอมรับว่ารูปแบบบางอย่างก็เปลี่ยนแปลงแบบถอยหลังลงคลองเช่นกัน  จากประสบการณ์ที่เคยพบเห็นแต่ไม่เคยได้สัมผัสคลุกคลีอะไรมากนักของผู้เขียน เห็นว่าในปัจจุบันสถานบริการต่างๆเริ่มมุ่งเน้นระบบกำไร ขาดทุน นำมาใช้กับระบบบริการสุขภาพ เนื่องจากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ดังจะเห็นได้จาก สมัยก่อนกระจายงบประมาณด้วยระบบ สปร. เวชภัณฑ์ยา/ไม่ใช้ยาในสถานบริการมีขีดจำกัดในการรักษาที่ดีในระดับหนึ่งแต่พอระบบ 30 บาทเข้ามาเวชภัณฑ์ที่มีในสถานบริการกลับหายไปอย่างน่าเป็นห่วง ถามว่าทุกวันนี้ผู้บริหารมองบริการสุขภาพเป็นธุรกิจใช่หรือไม่เนื่องจากบอกว่าใช้ยาดีๆ สั่งยามามากๆ ขาดทุน(น่าช้ำใจจริงๆ) ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ใครเป็นผู้รับชะตากรรม  ประชาชนเจ้าของงบประมาณ ใช่หรือไม่ (ความจริงนะครับเท่าที่พบเห็น)
 จากประสบการณ์ของผู้เขียนในการทำงานด้านสุขภาพได้นำหลักทางเศรษฐศาสตร์มาใช้กับระบบพฤติกรรมทางสุขภาพด้วยเช่นกัน แต่ไม่ใช่ในหลักการดังกล่าวข้างต้น แต่เป็นการใช้ในการดำเนินงานเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพในเรื่อง การรักษาพยาบาล  เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์ทุกคนหลีกเลี่ยงการเจ็บไข้ได้ป่วยไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรที่จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย เมื่อเกิดการเจ็บป่วยแล้วมนุษย์ทุกคนก็ย่อมมีโอกาสในการเลือกรับบริการด้านสุขภาพที่ตนเองเห็นว่าดี เห็นว่าสมควรตามความเหมาะสมและตามความสามารถที่จะกระทำได้ หรือแม้แต่การเลือกสิ่งสาธารณูปโภคในชีวิตประจำวันของผู้เขียนเอง ก็เลือกตามความสามารถความเหมาะสมและกำลังความสามารถของข้าพเจ้าที่มีอยู่ นี่เป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐศาสตร์กับพฤติกรรมสุขภาพในทรรศนะของข้าพเจ้า
     ผมได้อ่านแล้วปราบปลื้มครับต่อความรู้สึกนึกคิด และประสบการณ์ของคุณ และที่สำคัญให้คุณค่ามากกว่าที่คุณไปลอกจากเอกสารมาส่งผมโดยเราทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้อะไรกันเลยครับ หรือได้บ้างก็น้อยมาก
นายราชันต์ ศรีนวล นายวรวิทย์ กาเส็มส๊ะ
จากการทำงานและได้ลงพื้นที่ได้คลุกคลีกับชาวบ้านซึ่งเป็นชุมชนที่ห่างไกลความเจริญ(อาศัยอยู่ในเกาะ) ซึ่งต่างก็มีอาชีพทำการประมง หาเช้ากินค่ำ รายได้ไม่แน่ไม่นอน บางวันก็ได้เยอะ ถ้าดวงไม่ดีก็ไม่ได้เลย วันไหนที่ไม่สบายก็ไมกล้ามาสถานีอนามัยเพราะกลัวว่าจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล 30 บาท ตรงกันข้ามกับอดีต มีบัตรประกันสุขภาพ 500 บาท การมาใช้บริการของประชาชนมากมีความอุ่นใจเพราะต้องเสียครั้งเดียวแต่สามารถใช้บริการได้ทั้งปี ถ้าเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ผู้ใช้บริการจะชอบบริการบัตรประกันสุขภาพ 500 บาท มากกว่า แต่เมื่อมองด้านการบริหารและการจัดการ (ด้านผู้ให้บริการ) คิดว่าประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการทางด้านสุขภาพทั่วถึงและครอบคลุม และสามารถลดรายจ่ายทางด้านการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟู
นายณัฐโชค บูเก็ม นายอิสมาแอ กือตุ

จากการทำงานและได้ลงพื้นที่ได้คลุกคลีกับชาวบ้านซึ่งเป็นชุมชนที่ห่างไกลความเจริญ  มีความลำบากในการเดินทาง ชาวบ้านไดบอกกล่าวว่ามีความลำบากมาก จึงจำเป็นต้องหาวิธีการต่างๆเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยและการรักษาพยาบาลตัวเองและครอบครัว และหาแนวทางต่างๆ

1.การเลือกสถานที่บริการด้านสุขภาพของประชาชน เช่น การใช้บริการคลีนิค โรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น

2.การใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการรักษาพยาบาลหรือการรักษาโรคเบื้องต้น

3.การใช้สมุนไพรต่างๆในการรักษาโรค

4.การปลูกพืชสมุนไพรในสถานบริการเพื่อใช้ในการรักษาพยาบาล และมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์

5.การให้คำปรึกษาหรือการให้สุขศึกษาแทนการใช้ยาในบางกรณี

นายยุทธนา กาฬสุวรรณ กับ นาย อาดัม แวดาย๊ะ 476277005 476277017
จากประสบการณ์เห็นว่าในปัจจุบันสถานบริการต่างๆเริ่มมุ่งเน้นทางธุรกิจ โดยมีระบบกำไร และขาดทุนนำมาใช้กับระบบบริการสุขภาพ เนื่องจากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคจะจัดสรรงบประมาณตามจำนวนผู้ลงทะเบียนรับบริการ โดยคิดรายละ 1,200 บาท จากนั้นเมื่อได้รับจะมีการจัดสรรระหว่าง โรงพยาบาล และสถานีอนามัยในเขตรับผิดชอบ โดยจัดสรรตามความเหมาะสม แต่เป็นการใช้ในการดำเนินงานเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพในเรื่อง การรักษาพยาบาล เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามนุษย์ทุกคนหลีกเลี่ยงการเจ็บไข้ได้ป่วยไม่ได้จึงจำเป็นต้องใช้บริการรักษา มนุษย์ทุกคนก็ย่อมมีโอกาสในการเลือกรับบริการด้านสุขภาพที่ตนเองเห็นว่าดี เห็นว่าสมควรตามความเหมาะสมและตามความสามารถที่จะกระทำได้

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท