ผลการนิเทศงาน กศน.


กศน. กับการจัดการศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้บริหาร  ศบอ.  หลายท่านคงได้รับเอกสารสรุปรายงานผลการนิเทศการศึกษานอกโรงเรียน(เล่มสีเขียว) ของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนแล้วนะคะ เป็นสรุปผลงานของ กศน. ที่ทำให้เราชาว กศน. หูกว้าง  ตากว้างขึ้นมากเลยนะคะ  เพราะเราได้ทราบว่า ชาว กศน.ที่อยู่ในที่ต่าง ๆ  ทั่วประเทศไทยนั้น ได้ทำงานที่สำคัญ  และยิ่งใหญ่ให้กับประเทศชาติของเรา  ได้ช่วยเหลือพี่น้องปวงชนชาวไทยให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี  ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม  จับต้องได้  ใช้เห็นผล  ขอเป็นกำลังใจ  และขอบพระคุณ  ชาว กศน.  ทุกท่าน  ขอให้ท่านจงภาคภูมิใจกับผลงานของพวกเราและมีกำลังที่จะขับเคลื่อน งานการศึกษานอกโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้า  และอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไปชั่วกาลนานเทอญ
หมายเลขบันทึก: 127029เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ ท่าน ผอ.

  • รายงานการนิเทศ(เล่มสีเขียว)คงน่าสนใจมากทีเดียว 
  • คงต้องหาโอกาสอ่านดูมั่งแล้ว
  • ฟังที่ท่าน ผอ.เล่า ผมก็คน กศน.คนหนึี่ง ก็รู้สึกว่าภูมิใจครับ
  • ขอบคุณนะครับที่นำมาแบ่งปัน
  • ศน.ที่รับผผิดชอบแต่ละกลุ่มจังหวัด ต้องทำหน้าที่นิเทศ ค้นหา จับภาพสิ่งดีๆ กิจกรรมดีๆ นำมาเผยแพร่ ยกย่อง ยกระดับคุณค่า
  • อย่างนี้ถือว่าดีแล้วใช่ไม๊ครับ
     เรื่องของเศษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน หลายคนมองเศษฐกิจพอเพียงในมิติที่ต่างกัน ที่ต่างกันคือการต่างกันในแนวปฏิบัติ อำเภอนี้รวมกลุ่มทำปุ๋ยหมัก บ้างรวมกล่มปลูกพืชผักสวนครัวหรืออะไรจิปาถะ ต่างก็เรียกว่าเป็นกิจกรรมเศษฐกิจพอเพียงทั้งนั้น หากแต่ความเข้าใจในหลักการของปรัชญาค่อนข้างชัดเจน ถามว่าทำอย่างไรแนวปฎิบัติของเศษฐกิจพอเพียงจะเป็นรูปธรรมที่สัมผัสได้ตามความเข้าใจของผมคิดว่าเศษฐกิจพอเพียงควรต้องมีroad map เพื่อที่จะเป็นตัวกำกับการดำเนินงานและroad map ที่ว่านี้ต้องไม่ใช่สูตรสำเรีจรูปต้องแตกต่างกันออกไปตามบริบท แต่หลักการต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท