เรามี นักออกแบบ หรือยัง?


การจัดการความรู้ ควรเริ่มจากทุนเดิมที่เรามี

เมื่อวันพุธที่ 13 กรกฎาคม ต้นสัปดาห์นี้ได้เข้าร่วมเวทีการจัดการความรู้ในจังหวัดนำร่อง 9 จังหวัดของกรมส่งเสริมการเกษตร  บางเขน   มีคำถามหนึ่งที่น่าสนใจมาก  คือ  การนำ KM ไปใช้กับจังหวัดอื่นที่มีสภาพแวดล้อมยังไม่เอื้อเท่ากับจังหวัดนำร่องนั้น  มีประเด็น หรือ ข้อเสนอแนะจาก สคส. อย่างไรบ้าง?     ขออนุญาตตีโจทย์เพิ่มเติมครับ   เข้าใจว่า  เป็นผลกระทบจากนโยบายปูพรม   ทุกจังหวัด  ควรต้องทำการจัดการความรู้    ซึ่งเป็นสิ่งดีครับ  หากทำได้อย่างนั้น    

ผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นตรงนี้นะครับ

การจัดการความรู้  ควรเริ่มจากทุนเดิมที่เรามี   ปัญหาก็มีอยู่ว่า   แต่ละจังหวัดเห็นทุนเดิมของตนมากน้อยเพียงใด   โดยเฉพาะทุนความรู้เดิม     ผมหมายถึง    ความรู้เล็กๆ ของข้าราชการเล็กๆ   ซึ่งมีอยู่มากมายทั่วทั้งจังหวัด   มีการจัดการอะไรไปแล้วบ้างมากน้อยเพียงใด   สิ่งเหล่านี้คนมักมองข้าม เพราะว่ามันเล็ก    ความรู้เล็กๆ ของข้าราชการเล็กๆเหล่านี้  หากได้เอามากองรวมกันได้เมื่อไหร่   ก็จะได้กุญแจไขสู่การปฏิรูปราชการในหลายมิติ    แต่ปัญหาในเชิงปฏิบัติคือ  กระบวนการเอาความรู้มากองรวมกัน  แล้วให้เหล่าข้าราชการได้เรียนรู้  จาก "กองความรู้เล็กๆ"  ที่ว่านี้   มันต้องการ  "กระบวนการออกแบบ"  ที่แยบยล  ต้องรู้จริตคนเฉพาะแห่ง  ต้องแกะรอยวัฒนธรรมการเรียนรู้แต่เดิมว่าเป็นมาอย่างไร   ต้องมีเครื่องมือหลายตัว  ชนิดยกกันมาเป็นกล่อง  ประมาณว่า  หากเราจะยกเครื่อง   คงไม่มีช่างคนไหนใช้ประแจเพียง 2-3 ตัวนะครับ    การออกแบบกระบวนการเรียนรู้  จึงจำเป็นอย่างยิ่ง    หากเรามีนักออกแบบ  ผมเชื่อว่า  เราจะสามารถทำในที่ ที่มีสภาพแตกต่างกันได้

พูดมาพูดไป   อาจมีคำถามว่า  พูดถึงการจัดการความรู้  แล้วทำไมอยู่ดีๆ กระโดดมา  การออกแบบกระบวนการเรียนรู้???

การที่เราจะใส่ความรู้อะไรลงไปใน  หน่วยงาน  ในชุมชน  หรือแม้แต่ในบ้านเราเอง  ถามว่า  ณ  ขณะนี้เราตระหนักหรือไม่ว่าคนในบ้านเรา  เขาเข้าใจในระดับไหน    รับทราบ    รับรู้    หรือเอาไปใช้ได้แต่ยังประยุกต์ไม่เป็น   หรือริเริ่มสร้างสรรค์ต่อยอด-ต่อรากได้     ระดับเหล่านี้บอกเราได้ว่าคนที่บ้านเราเกิดเรียนรู้  มากน้อยเพียงใด     "นวัตกรรม" ไม่เคยเกิดขึ้นมาแบบลอยมาดื้อๆ    ความรู้ว่าด้วย "การจัดการความรู้"  ก็ไม่ต่างจากความรู้ว่าด้วยเรื่องอื่น    ความรู้ทุกชนิดเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น  แต่มันจะนิ่งและแห้งตายในที่สุด ถ้าหากหากไม่มีใครไปเรียนรู้มัน (ย้ำนะครับ เรียนรู้ไม่ใช่รับรู้เฉยๆ)   และเมื่อไม่รู้จักเรียนรู้   ก็จะไม่มีวันที่จะสร้างความรู้สำหรับตัวเองได้     ต้องคอยเสพความรู้  จากผู้อื่นอยู่ร่ำไป   แต่เอามาใช้กับตัวเองไม่ได้ซักที    อย่างนี้ไม่เรียกว่า  "ยืมจมูกคนอื่น หายใจ" แล้วจะเรียกว่าอย่างไร

กลับมาที่ 9 จังหวัดนำร่องการจัดการความรู้ นะครับ จากการฟังการนำเสนอการดำเนินงานในพื้นที่  สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกจากเสียงสะท้อนของจังหวัดนำร่องคือ  แต่ละจังหวัดเสนอแผนงาน  และแจ้งว่าจะทำอะไรเมื่อไร  อย่างไร  แต่หลายจังหวัดมีปัญหาเรื่องเวลา และภาระงานอื่นที่แทรกเข้ามา  จึงเกิดคำถามในใจผมครับว่า   แสดงแผนงานที่ตั้งขึ้นมานั้นยังมีความแปลกแยกจากงานประจำอยู่    ทำให้คนทำงานรู้สึกว่า KM เป้นภาระงานที่เพิ่มขึ้น    ตรงนี้  ก็เกี่ยวข้องกับการออกแบบอีกเช่นกัน   การทำให้ KM เป็นเนื้อเดียวกับงานประจำ   ก็จำเป็นต้องมีการออกแบบในรายละเอียด  ดังนั้น  หากจังหวัดใช้ KM ทื่อๆ  ก็จะเจอกับภาวะงานเพิ่มแน่นอน    มีหลายจังหวัดในที่ประชุม  นำเสนอให้เห็นความพยายามผสาน KM เข้ากับงานประจำ  บางจังหวัดก็รุดหน้าไปแล้วทำเป็นรูปธรรมแล้ว   แต่ตรงนี้เป็น Tacit knowledge มากครับ   ขึ้นอยู่กับว่าใครจะจับคว้าได้มากกว่ากัน  หลังจาก workshop ที่โรงแรมมารวยมาจนถึงวันนี้ ผมเชื่อว่าทุกจังหวัดมีการดำเนินการภาคปฏิบัติมาก  แต่อาจจะคิดว่าเป็นกิจเล็กๆที่ไม่ค่อยสำคัญมากนัก  ภาพเหล่านั้นจึงอาจตกหล่นไปบ้าง  แต่หลายจังหวัดอาจจะเกร็งด้วยเหตุที่ต้องถูกประเมินตามตัวชี้วัด   จึงทำให้ห่วงตรงนั้นมากไป   เลยเกร็ง ไม่เป้นธรรมชาติ    การประเมินก็ใช่ว่าจะดีไปเสียทุกด้านนะครับ    มุมมืดของการประเมินที่เห็นก็คือ   หากคนทำงานห่วงแต่ตัวชี้วัด  มิติอื่นๆที่ไม่ได้ถูกระบุอยู่ในตัวชี้วัดก็อาจจะถูกมองข้ามไป  ทั้งๆที่สิ่งเหล่านั้นมีส่วนเสริมแรงความสำเร็จเช่นกัน  เช่น  ความสุขของคนทำงาน, ความเป็นอิสระของคนทำงาน เป็นต้น   จึงอยากจะทิ้งท้ายฝากไว้ตรงนี้ครับว่า

"เรามั่นใจแล้วหรือ  ว่าตัวชี้วัดที่เรากำหนดขึ้นนั้น  มันครอบคลุมทุกมิติ"  นี่คือ tacit knowledge อีกเรื่องหนึ่งเหมือนกันที่เราจะต้องเรียนรู้กับมัน  และจัดการความรู้เช่นนี้ด้วย

ขอเป็นกำลังใจ..ให้ทั้ง 9 จังหวัด   มีอะไรที่จะให้  สคส.  ช่วยเหลือได้เขียน blog   เสนอ   แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกันได้เต็มที่ครับ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1269เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2005 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยนะครับกับพี่ "ธวัช"

ในทุกๆมิติที่ได้สะท้อนมาให้เห็นครับ

หลายเรื่องที่ได้จากการอ่าน มันคือ "ความจริง" ในเรื่องของการทำงานด้านการจัดการความรู้ หรือแม้แต่จะเป็นงานอื่นก็ตามที

คำกล่าวที่พี่ธวัชย้ำว่า "เรียนรู้ไม่ใช่รับรู้เฉยๆ" ที่ว่านี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งต้องคิดต่อว่า จะทำอย่างไรให้ การเรียนรู้นำไปสู่การปฎิบัติจริงได้อีกขั้นตอนหนึ่งด้วย

ผมเป็นอีกคนหนึ่ง ที่เรียนรู้ เรื่องการจัดการความรู้อยู่ในนตอนนี้ ซึ่งกำลังเรียนรู้ไปได้ขั้นตอนหนึ่งแล้ว และกำลังทำตัวเองจาก "ผู้เรียนรู้ ไปเป็น ผู้ปฏิบัติ" ซึ่งปฏิบัติในที่นี้ หมายความว่า ทำความเข้าใจในเรื่อง "การจัดการความรู้" ในบริบทต่างๆ

เพื่อนำเรื่องเหล่านั้นที่เป็นตัวอย่างดีๆ ของการจัดการความรู้ Best practices มานำเสนอ เผยแพร่ต่าสาธารณะในสังคมต่อไป ในฐานะเป็นผู้ถ่ายทอด (PR)

อย่างไรก็ตามผมเห็นตรงกับพี่ธวัชอีกเรื่อง จากการที่ได้ฟังเรื่องเล่า จากทั้ง 9 จังหวัด นำ-ร่องที่ นำ Km เข้าไปในการทำงานในบริบทต่างๆของแต่ละพื้นที่ ว่า "แผนงานที่ตั้งขึ้นมานั้นยังมีความแปลกแยกจากงานประจำอยู่    ทำให้คนทำงานรู้สึกว่า KM เป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้น"   

...จึงอยากให้กำลังใจทุกๆจังหวัดที่กำลังในสิ่งที่ดี และเป็นประโยชน์กับส่วนร่วมอยู่นะครับ พยายามขจัดปัจัยต่างๆที่ทำไม่บรรลุเป้าของตนเองอยู่

...แต่อยากให้ระวัง ในเรื่องของการประเมินด้วยครับ อย่าประเมินเป็นข้อๆ ตามเป้าที่วางไว้ จนลืมปัจจัยที่สำคัญในการทำงานทุกๆด้าน นั่นคือ "ความสุข" และ "บรรยากาศดีๆ" ของการทำงานร่วมกัน

...ซึ่ง "ความสุข" และ "บรรยากาศดีๆ" ของการทำงานร่วมกัน ผมเห็นว่ามันสำคัญยิ่งกว่า "เป้าหมาย" ซะอีก เป้าหมายเป็นเพียงผลพลอยได้จริงมั๊ยครับ

...ฉะนั้น อยากให้ทุกๆหน่วยงาน มีความสุขในการทำงาน มากกว่าที่เราจะมุ่งเป้ไปที่ เป้าหมายขององค์กรพียงอย่างเดียว เพราะถ้าเรามีความสุขในการทำอะไรสักอย่าง เป้าหมายที่เราหวังๆไว้ ก็จะตามมาเองครับ

อยากให้ทั้ง 9 จังหวัดนำร่อง ที่ได้ทำเรื่อง KM กันในตอนนี้ ซึ่งบางจังหวัดก็ไปได้สวย หรือบางจังหวัดยังติดขัดอยู่บ้างด้วยปัจจัยมากมาย ...ฉะน้นเวลาที่เหลือต่อจากนี้ ก่อนจะถึงการประเมินในเดือน กันยายน นี้ อยากให้ทุกคนมีความสุขในสิ่งที่ทำอยู่ ผลจะออกมาเป็นอย่างไรนั้น ถือว่าเราได้ทำเต็มที่แล้ว สู้ๆนะครับ.

ป.ล.ผมจะเป็นผู้เรียนรู้ และผู้สังเกตการณ์ที่ดี ในทุกๆงานของพวกคุณ เพื่อตีความ วิเคราะห์ สังคราะห์ และนำมาเผยแพร่ต่อไปครับ

***เจอผมที่ไหน ช่วยเป็น "คณอำนวยความสะดวก" ให้ผมด้วยนะครับ....

*** อาทิตย์ (จนท.ประชาสัมพันธ์ สคส.)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท