>12< คนโบราณนับอย่างไร ใครพี่ ใครน้อง


ในระบบการเรียกศกตามเลขท้ายปีจุลศักราช นิยมเรียกด้วยศัพท์บาลี

        

จุลศักราช

          

           สมัยเป็นเด็กมีญาติผู้ใหญ่ที่อายุมาก  ๆ แล้ว  ก็มักมีคำพูดแปลกๆที่ใช้เรียกปีต่าง ๆ  เช่น  เรียกแบบปีนักษัตร    ชวด,    ฉลู,     ขาล,    เถาะ,    มะโรง,     มะเส็ง,     มะเมีย,      มะแม,      วอก,    ระกา,    จอ,     และ กุน    

  

          ถ้าเป็นปีนักษัตรเด็กสมัยใหม่ก็ยังพอรู้เรื่องบ้างนะคะ   แต่ผู้ใหญ่บางคนชอบพูดถึงปีแบบจุลศักราช   เมื่อก่อนงงไม่รู้ว่าปีแบบนี้มาจากไหน    พอถามท่านเองก็ยังไม่ทราบด้วยซ้ำไปว่าเรียกตามปีจุลศักราช   คงบอกแค่เพียงว่า  พูดต่อ ๆ กันมา   วันนี้มีโอกาสสนทนากับอาจารย์ถึงการนับปี   จุลศักราช    นำมาฝากทุกท่าน ประวัติศาสตร์ชาติไทยรู้ไว้ไม่ใช่ว่านะคะ

 

               การเรียกปีจุลศักราชอาจารย์พูดแต่ผู้เขียนไม่มั่นใจในตัวเองว่าจะเขียนถูกหรือเปล่า เพราะไม่ถนัดภาษาบาลี เลยแอบไปค้นและขอบคุณ     google   วิกิพิเดีย   ได้มาครบทั้ง  10  ข้อดังนี้ค่ะ

ในระบบการเรียกศกตามเลขท้ายปีจุลศักราช นิยมเรียกด้วยศัพท์บาลี ดังนี้

  1. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 1 เรียก   "เอกศก"

  2. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 2 เรียก   "โทศก"

  3. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 3 เรียก   "ตรีศก"

  4. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข  4 เรียก   "จัตวาศก"

  5. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 5 เรียก   "เบญจศก"

  6. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 6 เรียก   "ฉศก"

  7. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 7 เรียก   "สัปตศก"

  8. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 8 เรียก   "อัฐศก"

  9. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 9 เรียก   "นพศก"

  10. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 0 เรียก   "สัมฤทธิศก

           

             อาจารย์ให้ผู้เขียนลองหัดนับปีเกิดใครอยากรู้บ้างว่าตัวเองเกิดปีไหนต้องเรียกว่าอย่างไร    ยกมือก่อนค่ะ   อิอิ   ไม่มีใครกล้ายกมือเพราะกลัวคนอื่นจะรู้ว่าแก่     งั้นก็อ่านแล้วลองคิดคนเดียวดูนะคะ

 

ขั้นตอนที่แรก    ให้นำปี  พ.ศ.  ที่เกิด   ลบด้วย   1181  

ได้เลขท้ายของผลลัพธ์เท่ากับเลขใด  ให้ย้อนกลับไปดูข้อ   1  - 10   ด้านบน

ตัวอย่าง  เช่นเกิด  พ.ศ.  2515  ลบด้วย   1181    ได้เท่ากับ   1334    ได้เลขท้ายของผลลัพธ์เป็นเลข   4     เรียกว่าจัตวาศก

ขั้นตอนที่สอง   ให้ไปดูว่า  คุณเกิดปีนักษัตรอะไร    เช่น   ปีชวด

แสดงว่าคุณ      เกิดปีชวดจัตวาศก   

 

เห็นไหมคะแค่บอกปีแบบนี้ประกอบกับการมองหน้านิดหน่อยก็คนโบราณก็สามารถบอกได้แล้วว่าใครพี่ใครน้อง  

ขอบคุณค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #12#g2k
หมายเลขบันทึก: 126625เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
  • ได้ความรู้อีกเรื่องหนึ่งแล้ว
  • ขอบคุณครับ
  • อ่านสองรอบแล้วยัง งงๆ
  • สงสัยสมาธิไม่ดี หรือไม่ก็แก่แล้ว..อิอิ

ขอบคุณครับคุณครู

 

  • ขอบคุณมากครับที่ทำให้ได้ความรู้เพิ่ม
  • แต่ไม่ชอบปีนี้เลยให้ตายซิโรบิน
  •  เกิดปีชวด

ขอบคุณPค่ะ

  • ที่แวะมาทักทาย
  • ไปช่วยไล่ปลวกมาแล้วนะคะ

คุณPสะมะนึก

  • ขออภัยค่ะที่ทำให้งง
  • ยกตัวอย่างประกอบแล้วค่ะ
  • พอไหวไหมคะ
  • ขอบคุณค่ะ

  

 

%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99-%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%a2%e0%b8%a5%e0%b9%82%e0%b8%89%e0%b8%a1

สวัสดีค่ะ

P

น้องเกิดปีอะไรคะ สงสัยจะถูกโฉลกกัน ถูกชะตากับน้องน่ะค่ะ

P

3.  ขจิต ฝอยทอง

  • ไม่ชอบปีชวดหรอกเหรอคะ
  • ปีเกิดอาจารย์เหรอคะ
  • เอ๊ะ   หรือว่าปีเกิดคนที่อาจารย์รู้จักแล้วไม่อยากเจอ 
  • (บาปกรรมจริง ๆ  เลยเรา  ไปจี้ใจดำชาวบ้านเขา )
  • แค่ยกตัวอย่างเองค่ะ  
  • อย่าคิดมากเลยนะคะ    อิอิ
  • เข้าใจแล้วครับคุณครู
  • ได้ปี  มะเมียอัฐศก 
  • แล้วไปบอกกับคนอื่นเขาจะรู้เรื่องไหมนี่

ขอบคุณครับ

P

สวัสดีค่ะพี่

  • ฮือ ๆๆ เจอมุขนี้อึ้งเลย
  • พี่เป็นผู้ใหญ่ที่รักษ์ ชื่นชมมากนะคะ
  • กระซิบได้ไหมคะตรีศกค่ะพี่แม่บอกว่าปีนี้ขยันนะคะ
  • ใช้ได้นะคะงานในบ้านนอกบ้านต้มไข่ก็เป็นค่ะ อิอิ
  • ขอบคุณค่ะ

P

  • เข้าใจซิคะ  คำเหล่านี้จะปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์  เอาไว้อธิบายให้ลูกหลานฟังค่ะ
  • ตอนนี้อย่างน้อยก็รักษ์นี่ไงที่นับได้ว่าใครพี่ใครน้อง
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

 ช่วยค้นหน่อย คนเกิดฝาแฝด ทำไมว่า คนเกิดก่อนพี่ บ้างก็ว่าคนเกิดทีหลังพี่ โอ๊ยงงค่ะ

เห็นเขียนเรื่องนี้ น่าจะสนใจเกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ด้วย จะขอรบกวนช่วยแปลความหมายพงศาวดารสักประโยคหนึ่งเพราะติดขัดอยู่ อยากทราบความหมายที่แท้จริงค่ะ ^ /\ ^ ถ้าแปลได้ก็ถือว่าช่วยเหลือกันหน่อยนะคะ คือเดาได้ประมาณ 30% อยากรู้ความหมายทั้งหมด หรือวิธีการเขียนว่าทำไมถึงต้องเขียนคำนี้ มันอยู่ในช่วงเวลาแบบไหน นับยังไง แต่ละอันไม่เหมือนกันเลย นี่ยกตัวอย่างมาอันหนึ่งเท่านั้น

ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาล เป็นอดีตภาค ๒๔๕๓ พรรษากาลปัตยุบัน จันทรโคจร โสณสัมพัตสร กรรติกมาส กาฬปักษ์ นวมีดิถี ศุกรวาร สุริยคติกาล รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ พฤศจิกายนมาส ปัญจวีสติมสุรทิน โดยกาลนิยม

ลองแปลคร่าวๆ ตามที่กึ่งรู้กึ่งเดาว่า
ปีที่ดี พระพุทธศาสนาล่วงแล้ว 2453 ปี ปีปัจจุบัน พระจันทร์อยู่ในตำแหน่ง............. .......... ........... ปีกุน นับตามสุริยคติเป็นปีรัตนโกสินทร์ที่ 129 เดือนพฤศจิกายน ....................
ที่มา: หนังสือเฉลิมพระยศเจ้านาย
  • สวัสดีค่ะคุณ RAK-NA
  • ลองคิดตามแล้วค่ะ....ไม่บอกหรอกนะว่าได้....อุ๊บ! ... (กลัวพี่ขจิตรู้ความลับ....)
  • เข้าใจหาความรู้มาเผื่อแผ่จังเลยนะค่ะ
  • ขอบคุณค๊า.......

สวัสดีค่ะP

  • แม่หมอ สงสัยเหมือนกันค่ะ
  • เพราะเคยได้ยินมาว่าคนเกิดหลังเป็นพี่
  • แต่เท่าที่เคยถาม ๆ มา นะคะเค้าบอกว่า
  • พี่จะเสียสละให้น้องออกมาก่อน
  • แต่ตามหลักความเป็นจริงคนที่เกิดก่อนก็น่าที่จะเป็นพี่นะคะ  เป็นแค่เพียงความคิดเห็นนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

 

  • สวัสดีค่ะ น้อง P
  • โหใจคอกะจะให้พี่เป็นผู้เชี่ยวชาญพงศาวดารหรือเปล่าคะเนี่ย 
  • ถ้าแปลก็กลัวพงศาวดารเขาจะเพี้ยน  หรือเกิดพงศาวดารใหม่  อิอิ
  • มองแล้วน่าจะเป็นข้อความบางตอนหรือเปล่าคะ
  • เอาเป็นว่าพี่ลองแปลกึ่งรู้กึ่งเดาเหมือนน้องแล้วกันนะ  
  • ศุภมัสดุ  เป็นข้อความกล่าวถึงเวลาที่ดีใช้ขึ้นต้นหรือลงท้ายประโยคเวลาที่ประกาศพระบรมราชโองการ  พูดแบบภาษาง่ายในปัจจุบันนะ
  • ฤกษ์ดีแห่งปีพุทธศักราช  2543  นับตามปีทางจันทรคติ  9  ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน  นับตามปีทางสุริยคติปีรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)  129   เป็นวันที่   25   เดือนพฤศจิกายน  
  • ถ้ามีเวลาจะค้นเพิ่มเติมมาฝาก  นะจ๊ะสาวน้อย
  • ขอบคุณค่ะ

 

P

  • คิดได้แล้วแต่ไม่บอกใช่ป่าว

 

  • กระซิบก็ได้นะคะ  รับรองไม่บอกอาจารย์เขาหรอกค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
^ /\ ^ ขอบคุณมากค่ะ ทำให้กระจ่างขึ้นอีกเยอะ พอจะจับแนวทางได้ขึ้นมาพอสมควร ขออีกสักนิดนะคะ พี่พอจะรู้วิธีการนับเลขที่พ้นเลขสิบไปแล้วมั้ยคะ เช่น 1-เอก 2-โท/ทวิ 3-ตรี/ไตร 4-จตุ 5-เบญจ/ปัญจ 6-ฉะ 7-สัตตะ 8-อัฏ 9-นพ 10-ทศ (แล้ว 0 คือสัมฤทธิใช่มั้ย)

จากนั้น 11 12 13 เรื่อยไปเรียกว่ายังไง จะได้แปลออก และที่พี่แปลอันเก่าให้มีหลักการแปลยังไง โอ้ยดีใจจังที่มีคนรู้ เป็นเรื่องที่ติดอยู่ในใจมานมนาน หาคนช่วยไม่ได้เลย

P

  • สวัสดีค่ะ

๑ = เอก

๒ = โท, ทุ, ทวิ, ทวี

๓ = ตรี, ไตร, ตรัย, เต

๔ = จตุ, จัตุ, จตุระ, จัตุระ

๕ = เบญจะ, ปัญจะ

๖ = ฉ    อ่านว่า ฉะ / ฉอ

๗ = สัตตะ

๘ = อัฏฐะ, อัฐ, อัษฎะ

๙ = นวะ, นพ

๑๐ = ทศ, ทส

  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท