beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

beeman ไปสอนวิชา Economic Entomology


เกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้ง มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างไร

   เมื่อวันอังคาร (17 มกราคม) ตอน 10.00-12.00 น.ได้ไปสอนวิชาแมลงสำคัญทางเศรษฐกิจ มีคนเข้าเรียน ทั้งหมด 11 คน เป็นการไปบรรยายว่า "การเลี้ยงผึ้ง มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างไร" ในเวลา 2 ชั่วโมง แต่เนื่องจากเนื้อหาจริงๆ เยอะมาก เลยต้องพูดแบบบูรณาการ ก่อนจะพูดแบบบูรณาการ ต้องการให้นิสิตได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยเลยทำ AAR ของ วิชานี้ก่อนที่จะสอน หัวข้อที่ให้ทำ AAR (After Action Reveiw) ความจริงควรเรียกว่า BAR (Before Action Review) จะเหมาะกว่า หัวข้อมีดังนี้

  1. เป้าหมายหรือจุดประสงค์ของการมาเรียนวิชานี้
  2. มีอะไรที่ได้เกินคาด
  3. มีอะไรที่ได้น้อยกว่าคาด
  4. มีอะไรที่อยากให้ อ.beeman พูดเพิ่มเติม (เกี่ยวกับผึ้ง)
  5. ตัวเองจะกลับไปทำอะไร (กว้างมาก)

   นิสิต 11 คน มีรายชื่อต่อไปนี้ วาสนา,มินนา,ชนัจนาฏ,อำภา,นพดล,สิริรัตน์,วรรณภา,วารี,เพ็ญประภา,เพชรรุ้ง,เพทาย ภาพรวมๆ ของ BAR มีดังต่อไปนี้

A. เป้าหมายหรือจุดประสงค์ของการมาเรียนวิชานี้

  1. อยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับแมลงเศรษฐกิจ ทั้งในแง่ประโยชน์และโทษ, รวมทั้งแมลงที่ใช้ในการควบคุมศัตรุพืชโดยชีววิธี,
  2. อยากรู้เกี่ยวกับแมลงให้กว้างขวางขึ้นกว่าที่เคยเรียนมา
  3. อยากได้เกรด A และทราบเกี่ยวกับแมลงเพิ่มขึ้น
  4. อยากได้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมแมลงศัตรูพืช เพื่อไปบอกแม่ซึ่งทำการเกษตร
  5. อยากเรียนอะไรที่เอาไปประยุกต์ใช้ได้ เพราะที่ผ่านมาเรียนคล้ายๆ ท่องจำ
  6. อยากรู้เกี่ยวกับแมลงเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเราได้
  7. อยากได้ความรู้เพิ่มเติมจากที่เรียนมาเพื่อความต่อเนื่อง อยากได้เกรด อยากสนุกสนาน (เที่ยว)

B.มีอะไรที่ได้เกินคาด

  1. อาจารย์ (ดร.วันดี วัฒนะชัยยิ่งเจริญ) ให้ความรู้เยอะมาก
  2. ไม่คิดว่าตัวเองจะท่อง Order แมลงได้เยอะขนาดนี้
  3. อาจารย์สอนดี เล่าประสบการณ์ที่พบเจอ
  4. คะแนนสอบได้มากกว่าที่คาด
  5. ได้ความรู้และประสบการณ์ใหม่
  6. ได้รู้ว่าแมลสามารถแยกประเภทได้ อย่างน้อยก็รู้มากกว่าคนอื่นที่ไม่ได้เรียน
  7. ได้ทบทวนความรู้เก่า และรู้มากขึ้น (ท่อง Order ได้) ได้เรียนเรื่องการประยุกต์ใช้
  8. อาจารย์เพิ่มเติมหัวข้อต่างๆ แมลงมีประโยชน์ การใช้ประโยชน์
  9. เดิมคาดว่าน่าจะเรียนเกี่ยวกับแมลงเศรษฐกิจ แต่มีเรื่องอื่นๆ มาเกี่ยวข้องมากกว่าที่คิด

C.มีอะไรที่ได้น้อยกว่าคาด

  1. คะแนนน้อย (กลางภาค)
  2. วิชานี้ยังรู้ได้ไม่เต็มที่
  3. ยังได้ความรู้น้อยอยู่ เพราะไม่ขวนขวาย
  4. น่าจะรู้ลึกกว่านี้ และยังไม่รู้ว่าเรียนแล้วจะไปใช้อะไร
  5. น่าจะประยุกต์ได้มากกว่านี้
  6. ได้เห็นตัวอย่างทางเศรษฐกิจน้อย
  7. เรียนแมลงเศรษฐกิจจริงๆ น้อย

D.มีอะไรที่อยากให้ อ. beeman พูดเพิ่มเติม (เกี่ยวกับผึ้ง)

  1. เคยเรียนผึ้งมาแล้ว อยากได้ความรู้เพิ่มขึ้น
  2. อยากให้เพิ่มข้อมูล
  3. อยากไปดูงานนอกสถานที่
  4. อยากรู้เรื่องผึ้ง
  5. อยากให้พาไปดูที่เลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ
  6. อยากรู้เรื่องผึ้งเป็นอาชีพ (การเลี้ยงผึ้ง)
  7. อยากเห็นตัวอย่าง อยากออกไปข้างนอก
  8. อยากให้เรื่องแมลงเศรษฐกิจที่มาแรง
  9. อยากไปศึกษานอกสถานที่
  10. เพิ่มการศึกษานอกสถานที่เพราะมีตัวอย่างจริง

E.ตัวเองจะกลับไปทำอะไร

  1. กลับไปหาความรู้เพิ่มเกี่ยวกับ beeman
  2. ศึกษาต่อไปเรื่อยๆ
  3. ยังไม่ทราบ ศึกษาเรื่องนี้ต่อ
  4. อยากรู้วิธีกำจัดแมลง
  5. จะใช้วิชาที่เรียนมา เชื่อมต่อวิชาอื่นต่อไป
  6. เอาความรู้ไปปรับปรุงใช้ บอกเกษตรกร ใช้ตัวห้ำตัวเบียน
  7. อยากจะไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ศึกษาเรื่องแมลง
  8. อยากเข้าไปทำงานให้ศูนย์วิจัย เกี่ยวกับแมลง
  9. อยากให้พูดเรื่องแมลงที่เป็นอาชีพเสริมเป็นประโยชน์ต่อตัวเรา
  10. นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เช่น การป้องกันอันตราย...

    ต่อไปนี้เป็นความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์หรือการบูรณาการความรู้ การจัดการความรู้แล้วแต่จะเรียก เรื่องการเลี้ยงผึ้งจริงๆ ต้องคิดเป็นระบบ จะเรียนความรู้แบบแนวตั้งไม่ได้ หรือเรียนในด้านลึกอย่างเดียวไม่ได้ ต้องผสมผสานเรียนความรู้ในแนวราบแนวกว้างด้วย ซึ่งสุดท้ายต้องสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และใช้หลักการจัดการให้สมดุลย์ในทุกด้าน ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ค่อนข้างสูงพอสมควร

 

 
ลำดับการเรียนรู้ (จากซ้ายไปขวา)
 

ชีววิทยาของผึ้ง

 การเลี้ยงผึ้ง 

การจัดการฟาร์มผึ้ง

 การตลาดผลิตภัณฑ์ 

 (Bee Biology)

(Argricultural)

(วิทยาการจัดการ)

 (วิทยาการจัดการ)

 (Basic Science) (Applied Science)

(Social Science)

 (Social Science)

       
 

ภาพของนิสิตที่มาเรียนวิชา Econ.Entomol.

หรือวิชาแมลงสำคัญทางเศรษฐกิจ

 

หมายเลขบันทึก: 12661เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2006 19:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ภูมิใจจังค่ะ  คนเราเก่งเป็นเลิศอย่างไหนเนี่ย ใครๆก็มาหานะคะ ผึ้งต่อยเจ็บ แต่บางชนิดก้ไม่ต่อยคะ บางคน ยอมให้ต่อย ต่อไปไม่เจ็บแล้ว มีภูมิคุ้มกัน จริงไหมคะ
  • ขอบคุณครับท่าน ที่มาเยี่ยมบันทึกเก่าๆ
  • ผึ้งต่อยผมก็ยังเจ็บอยู่ ความจริงเขาไม่อยากต่อยหรอกเพราะว่า เมื่อเขาต่อยแล้วเขาก็ต้องตาย แต่เขาเสียสละต่อยเพื่อป้องกันรัง
  • เราก็ได้ภูมิคุ้มกัน ต่อยต่อไปแพ้น้อยลง (บางคนมากขึ้น)
  • แล้วเราก็ได้พิษผึ้งไปช่วยลดกรดยูริค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นโรค gout ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท