Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๑๐)


สรุปภาพรวมประเด็นสำคัญแก่นความรู้ และการประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ เพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์

สรุปภาพรวมประเด็นสำคัญแก่นความรู้ และการประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ เพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์


ผู้ดำเนินรายการ                         คุณทรงพล  เจตนาวณิชย์
วัน/เวลา                                    วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2548   เวลา 15.00-15.30 น.
คุณทรงพล  เจตนาวณิชย์ :
ผมให้ดูภาพรวมว่าพี่ผดุงกับคุณจรัลอยู่ในอำเภอเดียวกันแต่อยู่ต่างตำบล ภาพที่มาเล่าให้ฟัง แต่ภาพที่เราเห็นความเชื่อมโยงตรงนี้เราจะเห็นบทบาทของมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร ซึ่งตัวแกนเลขาที่เราเห็นในวีซีดี คือคุณสุรเดช เขาทำงานอยู่ที่สาธารณสุขจังหวัด การที่เขาอยู่ในส่วนราชการเขาสามารถต่อกับหน่วยราชการหลาย ๆ หน่วยรวมทั้งต่อกับทาง อบจ.  ผู้ว่าซีอีโอ เป็นเรื่องที่ดี   มูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตรใช้ทุนที่มีอยู่ในพิจิตรเอง ปราชญ์ชาวบ้านหลังจากไปดูงานที่อีสานเห็นปราชญ์ชาวบ้านที่อีสาน ชาวบ้านเริ่มเรียนรู้เป็นเครือข่ายนำเอา วปอ. พัฒนาประยุกต์ใช้ที่พิจิตรเพราะที่พิจิตรก็มีปราชญ์ชาวบ้านอยู่        ให้ตัวชาวบ้านที่ใฝ่รู้เรียนรู้ที่ต้องการหลุดพ้นจากวิกฤตการตีบตันของชีวิต โดยเฉพาะเรื่องหนี้สินได้มีโอกาสเรียนรู้วิธีกับทางปราชญ์ชาวบ้าน เรียนรู้ทั้งเทคนิค เรียนรู้วิธีคิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตกับทางปราชญ์ชาวบ้าน เรียนรู้มาแล้วสนับสนุนให้ทำจริงลงไปปฏิบัติเพราะรูปธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะเรียนแล้วไม่ไปทำงานจะต่อยอดลำบาก เพราะฉะนั้นเมื่อทำไปแล้วจะเห็นว่าทางพิจิตรพัฒนาไปเยอะ 3,000 กว่าครอบครัว ขับเคลื่อนด้วยการที่เอาสมาชิกเข้ามาที่ วปอ. มีแกนนำระดับอำเภอ 12 อำเภอ    มีเครือข่ายการเรียนรู้ที่มาเจอกันทุกเดือนเป็นเรื่องที่สำคัญ การเรียนที่มาทบทวนสิ่งที่ทำในพื้นที่ขณะเดียวกันเชิญวิทยากรจากภายนอกมาให้ความรู้ใหม่เป็นระยะๆ แล้วแต่ทางพื้นที่จะต้องการอะไรโดยมีทางคุณสุรเดชหรือทางมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตรเป็นตัวเชื่อมโยงจากภายนอก เพราะจะเห็นว่าการที่ชาวบ้านจะลุกขึ้นมาเปลี่ยนได้ต่อเนื่องและยั่งยืน โดยลำพังเฉพาะพื้นที่เองจะลำบาก อันนี้เป็นภาพกว้างๆ รูปธรรมในพื้นที่มีเรื่อง ผัก เรื่องข้าว เรื่องผลไม้ มากมายนั้นเป็นเรื่องเมื่อเช้า
ในช่วงตอนบ่ายของณรงค์และลุงสนั่น อยู่ภายใต้การดำเนินการมูลนิธิข้าวขวัญซึ่งเป็นมูลนิธิเช่นเดียวกัน แต่ว่าทางมูลนิธิเองไม่มีเจ้าหน้าที่สังกัดหน่วยราชการเป็นเสมือนเอ็นจีโอล้วนๆ แล้วมีพื้นที่ทำงานอยู่ใน 4 อำเภอ อำเภอบางปลาม้า อำเภอเมือง อำเภออู่ทาง อำเภอดอนเจดีย์  ที่ยกมาเป็นตัวอย่าง  ลุงสนั่นอยู่ ตำบลวัดดาว  อำเภอบางปลาม้า  กับณรงค์ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ข้าวขวัญ     ณรงค์ทำหน้าที่คุณอำนวยไปจัดโรงเรียนชาวนาขึ้นมาในพื้นที่ มีการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องเรียนรู้ทำจริงเห็นผล มูลนิธิทำหน้าที่เชื่อมโยงกับทาง สคส. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน โครงการต่างๆ มากมายรวมทั้งเครือข่ายเกษตรยั่งยืน ของประเทศ มีการไปดูงานในที่ต่าง ๆ  เห็นกลไกที่หนุนเสริมที่เป็นความเชื่อมโยงตรงนี้อยู่ เท่าที่ฟังอันแรก เราพบว่าเกษตรกรทั้งหลายวิกฤตตีบตันในชีวิตในเรื่องหนี้สินทำอาชีพแบบเดิมๆ ต้นทุนสูง รายได้น้อย มีเรื่องหนี้สินขึ้นมาก็พาลไปเรื่องอื่น ๆ ด้วย เรื่องปัญหาในครอบครัว เรื่องไม่มีเวลา เรื่องสุขภาพ มีหลายคนเห็นความวิกฤตความตีบตัน    แต่เกษตรกรบางคนอาจไม่เห็นในชีวิตขณะที่พวกเขาเห็นอยู่นี้   จริงแล้วในฐานลึกๆ ของทุกคนมีความใฝ่รู้อยู่       ท่านอาจารย์หมอประเวศ  วะสี พูดเมื่อเช้าว่าเมล็ดพันธุ์แห่งความรู้อยู่ในตัวคนเกือบทุกคน เพียงแต่ว่าใครจะไปเอื้ออำนวยทำให้สภาวะทำให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้นเจริญเติบโต โอกาสเป็นเรื่องสำคัญมีคนให้โอกาส มูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตรก็ตามหรือมูลนิธิข้าวขวัญเป็นผู้ที่สร้างโอกาสให้คนที่ใฝ่รู้เป็นคนต้องการจะหลุดพ้นจากวิกฤตได้ทดลองได้เข้ามาเรียนรู้โอกาส เพื่อนและเครือข่ายเป็นเรื่องที่สำคัญ การมีเพื่อนเครือข่ายการเรียนรู้ การมีกัลยาณมิตร  เมื่อเรียนรู้ไปแล้วเราลงมือทำอาจจะเริ่มจากเล็กๆ อย่างที่ลุงสนั่นบอกว่าเมื่อลงมือทำแล้วสิ่งที่สำคัญคือความต่อเนื่อง สิ่งที่ขบวนความต่อเนื่องคือเรื่องของเครือข่ายการเรียนรู้ด้วย  การต่อเนื่องเราพบว่าส่วนนี้เป็นส่วนที่ต่างจากส่วนราชการทำกัน ส่วนราชการเข้ามาเป็นไฟไหม้ฟางมาแล้วก็หายไปความต่อเนื่องไม่ค่อยเกิดขึ้น  มูลนิธิข้าวขวัญและมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตรสามารถสร้างความต่อเนื่องให้ได้  การสร้างขบวนความต่อเนื่องซึ่งผมคิดว่าสำคัญมากเมื่อมีความต่อเนื่องแล้วเมื่อลงไปทำแล้วการประเมินตนเองจะเห็นว่าเครือข่ายได้ประเมินตนเองหรือคนที่ทำงานมีการประเมินตนเองอยู่ตลอดเวลาและยิ่งมีเรื่องของเครื่องมือของการจัดการความรู้เข้ามา  เรื่องของการสร้างตัวชี้วัดว่าถ้าเราจะไปสู่เป้าหมายแล้วนั้น ขุมความรู้ที่สำคัญแก่นความรู้ที่สำคัญ ความสามารถหลักที่เราจะไปถึงเป้าหมาย คืออะไรต่าง ๆ เริ่มชัดเจนขึ้นว่าเราต้องการความรู้อะไร เราต้องการความสามารถอะไร  และเดี๋ยวนี้เรามีแค่ไหนและใครเก่งในเรื่องนี้เราจะเรียนรู้ได้จากใคร เครื่องมือของจัดการความรู้เข้ามาช่วยได้มากในการประเมินตนเอง ทำไปแล้วเกิดมรรคเกิดผลเห็นความสำเร็จถึงแม้ความสำเร็จจะเริ่มจากความสำเร็จเล็กๆ  แต่ความสำเร็จเล็กๆนั้นสร้างกำลังใจ สร้างความเชื่อมั่น  สร้างศรัทธาที่จะทำให้ตัวชาวบ้านมีความรู้สึกว่าเราได้มาถูกทางแล้วเพราะความสำเร็จเป็นตัวตอกย้ำ   เมื่อความสำเร็จเกิดขึ้นที่เป็นรูปธรรมเกิดความเชื่อมั่น ความคิดเริ่มเปลี่ยนว่าเรามาถูกทางในสิ่งที่เราเคยคิดเคยเชื่อนั้นมันไม่ใช่เปลี่ยนความคิดเปลี่ยนมุมมองแต่ก่อนจะมองเอาเงินเป็นตัวตั้ง  แต่ก่อนต้องปลูกเยอะ ๆ ขายเยอะ ๆ  เดี๋ยวนี้เปลี่ยนมุมมองว่าไม่ใช่แล้วอาจมามองความพอเหมาะพอควร ความสามารถที่ตัวเองจะจัดการได้ต่าง ๆ หรือมีการมองมิติสิ่งแวดล้อมมากขึ้น  มองในมิติของวัฒนธรรมประเพณี     มุมมองเริ่มเปลี่ยนเป็นมองความสมดุลของชีวิตมากขึ้นแทนที่จะมองเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนมุมมองพฤติกรรมก็เปลี่ยน เราจะเริ่มเห็นว่าวัฏจักรของความตีบตันยังมีอยู่เกษตรกรส่วนใหญ่เจอปัญหาและอยู่ในวังวนของความยากจน แต่พอค่อยๆได้เรียนรู้เห็นความสำเร็จก็เริ่มออกจากวังวนของความยากจนออกจากวังวนของความตีบตันได้  และสิ่งที่เราค้นพบจากท่านที่มาพูดสีหน้าเปี่ยมไปด้วยความสุขความมั่นใจความภาคภูมิใจ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เราสามารถสัมผัสได้จากสิ่งที่ท่านเล่าและเมื่อเราลงพื้นจริงของท่านทั้งหลาย เราจะยิ่งสัมผัสได้มากกว่านั้น อันนี้เราจะเห็นค่อนข้างชัดเจนว่าเส้นทางที่จะออกไปจากวิกฤตและความตีบตัน มันมีตัวอย่างมันมีของจริงว่ามีคนทำได้ แล้วก็เช่นกันถามว่าคนอื่นเกษตรกรอื่นๆ ที่จะเปลี่ยนความคิดจะเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้จะเปลี่ยนได้อย่างไร  อย่างที่ท่านอาจารย์ถามถ้าจะเปลี่ยนได้มันมีองค์ประกอบที่ถอดมาจาก 2 พื้นที่จะเห็นว่ามันต้องการองค์ประกอบของคนที่จัดการความต่อเนื่อง องค์ประกอบของคนที่จะจัดการความรู้ยกระดับความรู้ และคนที่จะเชื่อมความรู้จากภายนอกให้ไปเติมเต็มต่อยอดความรู้ภายใน  ขณะเดียวกันกระตุ้นให้มีการค้นหาความรู้จากภายในให้ใช้ได้มากที่สุด และหลายๆท่านได้ตระหนักว่าจริง ๆ สิ่งดีจากท้องถิ่นมีเยอะที่เรายังไม่หันไปมองด้วยสายตาใหม่ยังไม่ได้หันใคร่ครวญที่เพียงพอ  แม้แต่เรื่องของพืชผักที่แม่ทองดีบอกว่าเรื่องผักพื้นบ้านและเรื่องอะไรอีกมากเหล่านี้  
ผมคิดว่าเราได้เรียนรู้จากทั้งพิจิตรและทางสุพรรณค่อนข้างมาก เราเห็นว่าจริง ๆ แล้วเกษตรกรยังมีความหวังเพียงแต่ว่าต้องเปลี่ยนวิธีคิดชีวิตถึงจะเปลี่ยนและจะมีความหวัง คิดแบบเดิมทำแบบเดิมคงไม่ได้เกษตรกรยุคใหม่คงที่จะไม่ทำอย่างเกษตรกรเหมือนรุ่นพ่อแม่แล้ว คงจะต้องเป็นเกษตรกรที่เชื่อมภูมิปัญญาเดิมกับภูมิปัญญาใหม่ได้อย่างแนบเนียนและเติบโตไปได้อยู่ตลอดเวลา เพราะโลกเปลี่ยนแปลงโลกพัฒนาจะหยุดนิ่งไม่ได้ ความรู้เดิมบางอย่างอาจใช้ไม่ได้ผลในปัจจุบันแล้วจำเป็นต้องผสมผสานสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมา นี่ก็คือสิ่งที่เราเรียนรู้กว้างๆ ในรายละเอียดเชิญแลกเปลี่ยนครับ


ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนคนที่ 1 :
ขอบคุณครับ จริงๆ ผมฟังจับเป็นความรู้ที่เราเคยได้รู้มาแล้วทำให้เรานึกว่าจริง ๆ แล้วความรู้ต่าง ๆ ทฤษฎีการทำงานมันมีอยู่แล้ว เพียงแต่สิ่งที่เราขาดมากๆ ในปัจจุบันที่ชอบพูดกันแต่ไม่ชอบทำของ สคส. พูดว่าการจัดการความรู้ ถ้าไม่ทำก็จะไม่รู้จากตัวอย่าง 2 กรณีที่พูดมาก็เห็นความเปลี่ยนชัดเจนนอกเหนือจากรายได้คุณภาพชีวิต ตัวอย่างของพิจิตรที่เจอวิกฤตชีวิตทั้งในเรื่องหนี้สิน สุขภาพ  มีหน่วยงานภายนอกที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในชุมชนคือมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตรที่ร่วมส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับชุมชน    มีลักษณะแตกต่างระหว่างพิจิตรกับวัดดาวที่สุพรรณ คือของพิจิตรไปส่งเสริมกับคุณกิจคือตัวเกษตรกรนักปฏิบัติโดยตรง   เกษตรกรเหล่านี้จาก 10 คน จนเหลือคนเดียวอย่างทีมของคุณจรัล กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่เป็นแกนคุณอำนวยจากระดับตำบลและระดับอำเภอ การจัดการความรู้ในระดับเครือข่ายจังหวัดชัดเจน  ส่วนวัดดาววิธีการเริ่มจากหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางที่จัดการเรียนรู้ มูลนิธิข้าวขวัญคุณณรงค์ซึ่งก็เป็นคุณอำนวยเป็นคนรุ่นใหม่ลงไปพื้นที่ชาวนาชาวบ้านเรียนรู้ ผมพยายามได้จับวิธีการทำงานของพื้นที่ทั้ง 2 ประสบความสำเร็จได้มันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลัก ๆ อยู่    มีศูนย์การเรียนรู้มีสถาบันจัดการการเรียนรู้จะเป็นมูลนิธิพัฒนาพิจิตร มูลนิธิข้าวขวัญ  ในชุมชนที่คุณสนั่นพาชาวบ้านเรียนรู้ตรงนี้เองเป็นสถาบันการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง มีคนจัดการการเรียน มีคนออกแบบการเรียนรู้ ที่วัดดาวจะเห็นค่อนข้างชัดได้ออกแบบการเรียนรู้อะไรใช้ประเพณีวัฒนธรรมดึงคนเข้ามาบ้างมีการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาชุมชนก่อนเป็นต้น  ตรงนี้เป็นการออกแบบการเรียนที่ชัดมีคนนำแบบการเรียนรู้  มีการขุดความรู้ของชาวบ้านขึ้น มีการสร้างความรู้ชาวบ้านขึ้นมาตัวอย่างชัดๆ  เมื่อนำความรู้จากภายนอกที่เข้าไปแล้วชาวบ้านลงมือทำความรู้ที่เขาทำมีปัญหาเขาแก้ปัญหานั้นอย่างไร ตรงนี้จุดสำคัญที่ชาวบ้านลงมือปฏิบัติจริงสร้างความรู้ขึ้นมา   อำนาจของความรู้แต่ก่อนจะอยู่ที่โรงเรียน อาจารย์ อยู่ที่นักวิชาการ    อยู่ที่สำนัก       ตอนนี้อำนาจของความรู้มันกับคืนไปสู่สามัญชนกับสู่ชาวบ้านจริงๆ มีการเชื่อมโยงความรู้จากภายนอกเข้ามาช่วงเวลาที่เหมาะเจาะ  ต้องย้ำในเวลาที่เหมาะเจาะด้วยว่าในเวลาในช่วงนี้ชาวบ้านเริ่มทำจุลินทรีย์ หมักจุลินทรีย์แล้ว  เริ่มหมักแต่ยังไม่เป็นขั้นไม่เป็นตอนอย่างเป็นระบบอันนี้ สคส. ไหลเข้าเหมือนตัวอย่างวัดดาวมันเป็นการเชื่อมโยง ถูกเรื่อง ถูกคน ถูกเวลาด้วยอันนี้มันเป็นเงื่อนไขของปัจจัยของความสำเร็จจากที่ฟัง ๆ มามันมีเครือข่ายที่จะสร้างพลัง ตัวอย่างของวัดดาวที่ชัดจะใช้การจัดการ 3 เรื่อง ก็คือการจัดการเรื่องของความรู้ที่เข้ามาในช่วงไหน จัดการเรื่องของความรู้สึก เสริมพลังซึ่งกันและกัน มีการทำโปสการ์ดทำบันทึกให้กำลังใจตัวเองให้ซึ่งกันและกัน มีการลงมือทำได้ความรู้จากการที่ลงมือทำจริง ๆ แล้วมีประโยคที่สำคัญๆ ซึ่งน่าสนใจอยู่มากแต่เนื่องจากมีเวลาน้อยจะไม่ได้ลงรายละเอียดมาก  ตัวอย่างคำที่น่าสนใจอย่างเช่นที่พิจิตรเขาบอกว่าจริง ๆ เราไปเรียนรู้มาและเอามาเก็บในคลังความรู้ไว้ถึงเวลามันได้ถูกนำไปใช้   ชาวบ้านเขาได้พัฒนาความรู้โดยทางที่เขาไปรู้มาและลงมือทำโดยอาศัยความสังเกตก็เป็นจัดมาเป็นความรู้ได้จากการปฏิบัติอย่างเช่นมีผู้ฟังถามระบบนิเวศน์  ชาวบ้านเรียนรู้จากระบบนิเวศน์ได้อย่างไร ตรงไหนคือระบบนิเวศน์นี่ก็เป็นตัวอย่างชัด ๆ มีคำสำคัญดี ๆ อยู่มากมาย หรืออย่างเช่นเราจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าเกษตรกรรุ่นใหม่เมื่อใช้การจัดการความรู้แล้วไปไม่รอด  เท่าที่ฟังจะมีความรู้อยู่ 2 ส่วน คือความรู้ทางเทคนิค ซึ่งมีซ่อนอยู่ตัวคุณกิจที่มา 3-4 ท่านมากมาย ถ้าจะขุดออกมามีมากอีกส่วนเรื่องกระบวนการจัดการเรียนรู้  หรือ learn how to learn การออกแบบการเรียนของคุณอำนวย คุณกิจเขาทำกันอย่างไรเป็นความรู้ 2 อย่างที่เราได้รับในวันนี้มีความน่าสนใจอยู่พอสมควรทีเดียว

10 23 23-4learn how to learn 2


ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนคนที่ 2 :
สวัสดีครับผมชื่อชัยณรงค์ สังข์จ่าง เป็นคุณอำนวยอยู่ที่พิจิตร  มีส่วนเข้าไปสนับสนุนคุณกิจ จังหวัดพิจิตรจะมีประเด็นที่แลกเปลี่ยนที่จะชี้ให้เห็นคือวิกฤตเกษตรกรไทยในภาพรวมเป็นการที่สินค้าเกษตรต่างๆ ที่ชาวบ้านทำ  ถูกยกระดับให้แปรเป็นสินค้าเมื่อมันจะผลักชาวบ้านหรือผลักเกษตรกรอยู่ในความเสี่ยง 3-4 แบบ  อันแรกความเสี่ยงทางธรรมชาติและเป็นวิกฤตตลอดเวลาอย่างเช่น     คุณจรัล   พูดถึงน้ำท่วม น้ำแล้งที่ชาวบ้านควบคุมไม่ได้ทำให้ชาวบ้านหยุดอำนาจในการต่อรองด้านการเกษตรลง  อย่างที่สอง เรื่องระบบเศรษฐกิจ รายได้และการตลาดซึ่งเป็นรายได้ที่ชาวบ้านควบคุมไม่ได้ทำให้ชาวบ้านหมดอำนาจในการต่อรอง  อันที่สามมลภาวะและสุขภาพที่ทำให้ชาวบ้านต้องเกิดเสี่ยงอยู่ขณะนี้  อันสุดท้ายเรื่องของภูมิคุ้มกัน และเรื่องความขัดแย้งและความสัมพันธ์ในครอบครัวลดลงทั้ง 4 ประเด็นเป็นความเสี่ยงที่ชาวบ้านเผชิญอยู่ซึ่งเกิดจากการแปรสภาพของผลิตผลกลายเป็นสินค้า เราจะพบร่องรอยของเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่เข้าไปสู่ชาวบ้านมาก เช่น ชาวบ้านจะพูดว่ากระบวนการผลผลิต กระบวนการแปรรูป  ขณะเดียวกันชาวบ้านมองการตลาดเห็นวิถีการผลิตเป็นระบบสินค้ายังไม่สามารถเปลี่ยนทั้งหมดได้ กระแสหลักของเราเป็นกระแสเศรษฐกิจและการตลาดอยู่   ที่นี้ประเด็นการจัดการความรู้อย่าง เช่นว่า จังหวัดพิจิตรและสุพรรณบุรีที่เราพบประเด็นที่คล้ายกัน เช่น  ทั้งสอง ทำหน้าที่ค้นหาและสร้างองค์ความรู้มาใช้ถ่ายทอดให้กับชนรุ่นต่อๆ มา  ซึ่งเรียกว่าสถาบันการจัดการความรู้ ถ้าองค์กรไหนไม่สามารถพัฒนาตนเองเป็นสถาบันการจัดการความรู้ได้กระบวนการผลิตที่จะผ่านหลาย generation เรียกว่าผ่านคนรุ่นแล้วรุ่นเล่ามาแล้วนั้นคนรุ่นนี้จะทำไม่ได้ มีองค์กรตนเองไม่สามารถสร้าง ผลิตใช้เอง ได้ถ่ายทอดให้กับกลุ่มชนตนเองได้ประเด็นในตัวความรู้จะพบว่าในตัวความรู้มีอยู่ 3 แบบที่ใช้ในการถ่ายทอดระหว่างกลุ่ม  อันแรกที่เป็นภาษาเขียนกลุ่มเกษตรกรใช้ได้น้อยเพราะศักยภาพที่จะใช้ภาษาเขียนจะเป็นปัญหาสำหรับเกษตรกร ซึ่งที่ชาวบ้านใช้มากคือภาษากายหรือความรู้ที่เกิดจากการทำงานจริงๆ อีกอันหนึ่งกระบวนการที่เราไม่ค่อยได้เห็นความสำคัญมากนัก คือการแลกเปลี่ยนทัศนคติการใช้ภาษาใจของปราชญ์ชาวบ้าน รุ่น 1 รุ่น 2 ของชาวบ้านจะต้องมีการใช้ภาษาใจค่านิยมหรือภาษากายที่ถูกถ่ายทอดกันมาเพราะว่าเทคนิคทางการเกษตรมันหมายถึงความเชื่อมั่นคุณค่าของข้าวที่ถูกถ่ายทอดกันมามันหมายถึงความพากเพียรของปราชญ์ชาวบ้านรุ่นก่อนๆ ที่ผ่านมาเราควรนำมาปฏิบัติ ซึ่งการจัดการความรู้ทั้งสามภาษานี้ให้ครบถ้วนทั้งภาษากาย ภาษาใจ และภาษาเขียน กระบวนการการจัดการความรู้มีความก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้นคงจะมีประเด็นที่เสนอเพียงแคนี้


คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ :
ขอบคุณคุณชัยณรงค์ คุณอำนวยตัวจริง

หมายเลขบันทึก: 12646เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2006 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท