เรื่องขุ่น ๆ ในขวดใส ๆ


เพื่อสุขภาพเราควรดื่นน้ำสะอาดวันละ 6 - 8 แก้ว

สวัสดีครับวันนี้ผมจะมาเขียนเล่าเรื่องน้ำ ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของร่างกายคนเราประมาณ 70%  ว่ามีอะไรบ้างนะครับ

ข้อความในแบบเรียนที่ทุกคนจดจำได้กลายเป็นบทบัญญัติด้านสุขภาพที่มีการนำไปปฏิบัติมากที่สุดข้อหนึ่งเพียงแต่ทุกวันนี้แทนที่จะนับปริมาณน้ำเป็นแก้วเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค เราอาจจะต้องนับกันเป็นขวด ตัวเลขที่น่าสนใจระบุว่า ผู้บริโภคทั่วโลกหันมาดื่มน้ำดื่มบรรจุขวดเพิ่มขึ้นถึง 57 เปอร์เซ็นต์ หรือ 41 พันล้านแกลลอน ใน ค.ศ. 2004 รวมค่าใช้จ่ายที่ผู้บริโภคใช้รวมกันไม่ตำกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ ทำให้พบว่าโลกกำลังกลายเป็นสุสานของบรรดาบรรจุภัณฑ์พลาสติก ขวดพลาสติกที่ใช้บรรจุของเหลว โดยทัวไปมี 2 แบบ คือขวดใส กับขวดขุ่น แต่ที่ได้รับความนิยมมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ขวดPET(Polyethylene terephthalate) ความใสของขวดชนิดนี้นอกจากจะทำให้ผ้บริโภคเชื่อมั่นว่าของเหลวที่บรรจุอยู่ภายในไร้ซึ่งสิ่งปลอมปน น้ำหนักและขนาดกะทัดรัดเหมาะมือ ในประเทศไทยน้ำดื่อมบรรจุขวดได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน จากข้อมูลการเก็บขยบะของ กทม. มีการคาดการณ์ว่าในปี 2550 ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 13,550 ตัน ในจำนวนนี้เป็นขยะพลาสติกถึง 28 เปอร์เซ้นต์  แต่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ง 6 ครั้งว โดยกลับมาเป็นขวดน้ำได้อีก 2-3 ครั้ง จากน้นจะนำไปทำเป็นขวดสีเขียว สีน้ำตาลบ และเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกสีดำ ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ อีก 40 เปอร์เซ็นต์ จะกลายเป็นขยะฝังอยู่ในดินและต้เองใช้เวลาย่อยสลายถึง 1000 ปี หากเผาจะมีมลพิษมีไดอกซิน หรือสารก่อมะเร็ง ฉนั้น จึงมีการรณรงค์ให้มีการลดการใช้พลาสติกและผู้บริโภคร้ว่าในการบรรจุน้ำขวด สิ้นเปลื่องพลังงานน้ำมันอย่างมหาศาล

สำหรับผ้บริโภคอาจเป็นเรื่องต้องชั่งน้ำหนัก ถ้าปริมาณขยะและการสูยเสียพลังงานแลกมาด้วยสุขภาพที่ดี บางทีถ้าเรามีข้อมูลที่เพียงพออาจทำให้การตัดสินใจเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นไปได้ง่ายขึ้น องค์การอาหารและยา(อย.)  ชึ้แจงว่า การนำขวดพลาสติกใช้แล้วมาใส่น้ำดื่อมไม่มีอั้นตรายทำใหเป็นมะเร็ง แต่ได้มีการให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ขวดPET ที่ใช้ยบรรจุน้ำดื่มนั้น ผลิตขึ้นสำหรับใส่อาหารหรือเครื่องดื่มเพียวครั้งเดียว ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับให้นามาทำความสะอาดใหม่ โดยใช้ความร้อนสูงหรือขัดถูแล้วนำมาใช้ซ้ำ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าอาจจะมีสารบางอย่างจากขวดหลุดมาเจือปนกับยอาหาร ดังนี้น ผู้บริโภคจึงไม่ควารนำมาใช้ช้ำหรือ ตั้งทิ้งไว้ให้ถูกแสงแดดเป็นระยะเวลานาน

การระมัดระวังไม่ให้ขวดใส ๆ แปรสภายเป็นภัยร้ายใกล้ตัว เป็นเพียวกฏกติกาข้อเดียวที่ผู้ยบริโภคต้องท่องให้ขึ้นใจ ที่เหลือยังมีข้อกังขาอีกมากมายว่าแท้จริงแล้ว น้ำใส ๆ ในขวดพลาสติกเหล่านี้ คือน้ำดื่อมทีดีที่สุดต่อร่างกายแล้วหรือยัง

 

คำสำคัญ (Tags): #ดื่นน้ำสะอาด
หมายเลขบันทึก: 126448เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาเยี่ยม  คุณ

นาย สนิท - เกตุแก้ว

ปกติผมตื่นมาตอนเช้าจะดื่มน้ำ3-4 แก้วเป็นประจำ..

ครับผม  ฮา ๆ เอิก ๆ

  • สวัสดีครับพี่สนิท
  • ขวดน้ำที่เราดื่มจนหมดแล้ว ไม่ควรนำกลับมาใช้อีกครับ แต่ควรจะเก็บสะสมไว้เยอะ ๆ แล้วเหยียบให้แบน ๆ ชั่งกิโลขายได้ครับผม ฮิ ฮิ ใกล้จะรวยแล้วเรา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท