สรุปผลการปฏิบัติงานในโครงการ Japan – Thailand Technical Cooperation Project


Summary reportสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างปี 2548 – 2549
สรุปผลการปฏิบัติงานในโครงการ  Japan – Thailand Technical Cooperation Project
on Animal Disease Control   in Thailand and Neighboring Countries   น.สพ.ดร.สาทิส ผลภาค โครงการ JICA โดยผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่น Dr.Yoshi Kashiwasaki ได้ร่วมมือกับทางศูนย์ฯ ขอนแก่น โดยผู้เชี่ยวชาญไทยจำนวน 3 คนคือ น.สพ.ดร.สาทิส ผลภาค   น.สพ. อุดม  เจือจันทร์   และ น.สพ.พิเชฐ  ทองปัน  ไปพัฒนาศักยภาพการชันสูตรโรคทางห้องปฏิบัติการกลาง(NAHC: National Animal Health Institute) นครเวียงจันน์ และการดูแลสุขภาพสัตว์ขั้นพื้นฐานร่วมกับโครงการ FORCOM  เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวม 4 ครั้ง ระหว่างปี 2548-2549  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้น.สพ. อุดม  เจือจันทร์  ไปพัฒนาศักยภาพการตรวจโรคทางพยาธิวิทยา(Pathology) เพื่อชันสูตรโรคจากการผ่าซาก ด้วยการดูวิการรอยโรคภายนอก (gross lesion) และการชันสูตรโรคจากวิการเนื้อเยื่อด้วยวิธี Histopathology  โรคสำคัญต่างๆที่ได้ถ่ายทอดในสัตว์ปีกได้แก่โรค NCD, Fowl Cholera, IB, ILT, AI ,Gumboro, Marek และ Leukosis ในสุกรได้แก่โรคCSF,Porcine cercovirus, Edema disease, PRDC (Porcine respiratory disease complex), Swine dysentery, PIA complex(Porcine Intestinal Adenomatosis)และ Streptococcosis              น.สพ.พิเชฐ  ทองปัน  ได้ไปถ่ายทอดความรู้เพื่อเพิ่มขีดศักยภาพงานชันสูตรโรคทางด้านอิมมูนวิทยา (Immunology)ต่อโรคสำคัญต่อไปนี้คือ โรคBrucellosis(ใช้เทคนิค ELISA, RBT, EDTA และ TAT), Paratuberculosis (ใช้เทคนิค ELISA และ CFT), Leptospirosis(ใช้เทคนิคMAT, Culture)และ  Melioidosis  (ใช้เทคนิค IHA, Cultureและเตรียม Melioidin Antigen)ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพทางห้องปฏิบัติการ NAHC และ Regional  Lab-     ขาดเจ้าหน้าที่และพนักงานห้องปฏิบัติการที่มารับการฝึกและรับผิดชอบงานเฉพาะทาง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ 1 คนต้องทำหลายหน้าที่  เช่น เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาและผ่าซากยังขาดเจ้าหน้าที่ประจำ-          ไม่มีตัวอย่างส่งเข้ามาตรวจเป็นประจำ นอกจากเป็นของโครงการพิเศษเฉพาะโรคเช่น AI , CSF-          ห้องปฏิบัติการในพื้นที่ (Regional Lab) ยังมีขีดศักยภาพไม่พอหลายด้านในการชันสูตรโรค (ขาดแคลนทั้งเจ้าหน้าที่และงบประมาณในการดำเนินงานตรวจตัวอย่าง)-     ระบบในการรายงานโรคและจัดส่งตัวอย่างจากพื้นที่ ยังเป็นปัญหาในทางปฏิบัติในกรณีที่พบสัตว์ป่วยหรือตายการส่งตัวอย่างเพื่อการยืนยันโรคทำได้ลำบาก มักอาศัยการชันสูตรจากประวัติสัตว์ตายเป็นหลัก-          ความล่าช้าในการตรวจวิเคราะห์โรคในห้องปฏิบัติการไม่ทันเวลาที่นำกลับไปใช้ควบคุมโรคในพื้นที่น.สพ.ดร.สาทิส ผลภาค  ได้ไปช่วยงานเทคนิกภาคสนามของโครงการ FORCOM : Forest Managenent and Community support project  เมืองหลวงพระบางในด้านการตรวจวินิจฉัยโรคภาคสนาม วิธีการป้องกันและควบคุมโรค โดยการใช้วัคซีน ยาถ่ายพยาธิ หรือยาปฏิชีวนะ และสอนการบันทึกข้อมูลการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้อง โดยเน้นในสัตว์เศรษฐกิจได้แก่ โคพื้นเมือง กระบือพื้นเมือง แพะ สุกร และสัตว์ปีก  โดยมีฐานปฏิบัติการในหมู่บ้านต่างๆในเขตเมืองไสยบุรี เมืองน่าน เมืองหลวงพระบางและเมืองหลวงน้ำทา นอกจากนี้ได้สุ่มเก็บตัวอย่างเลือด ซีรั่มและอุจจาระ จากสัตว์ชนิดต่างๆ เพื่อตรวจสอบสภาวะโรคในพื้นที่และสอบถามปัญหาสุขภาพและโรคสัตว์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในหมู่บ้าน รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาโครงการในการจัดตั้งโครงการดูแลสุขภาพสัตว์ขั้นพื้นฐาน(Basic Animal Health Service : BAHS) โดยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เป็นผู้ดำเนินการเอง โดยมีโครงการ FORCOM เป็นผู้สนับสนุนทางด้านวิชาการและเงินทุนบางส่วน ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อยต่างๆต่อไปนี้ คือโครงการธนาคารยาสัตว์หมู่บ้าน โครงการจัดตั้งสัตวแพทย์บ้าน(Village Veterinary Worker : VVW) โครงการฝึกอบรมให้ความรู้การป้องกันรักษาโรคสัตว์ให้แก่กลุ่มบุคคล 3 ระดับคือ เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ เจ้าหน้าที่ภาคสนามของแขวง และเจ้าหน้าที่ด้านส่งเสริมและฝึกอบรมของ FORCOM  ซึ่งปัญหาด้านสุขภาพสัตว์ที่พบในหมู่บ้านจากการออกพื้นที่ 4 ครั้งในช่วง 2 ปีจำแนกตามชนิดสัตว์ สรุปได้ดังนี้คือในสัตว์ใหญ่ โคและกระบือ จะพบการระบาดของโรคคอบวม (HS) ในช่วงต้นฤดูฝนโดยมีสาเหตุจากการที่เกษตรกรไม่นิยมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเนื่องจากจับสัตว์มาฉีดวัคซีนได้ยากและการชำแหละซากสัตว์ที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุเพื่อนำไปบริโภค นอกจากนี้พบร่องรอยแผลเรื้อรังที่กีบจากการระบาดของโรค FMD ในกระบือ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคให้บริการ  ส่วนพยาธิภายในจากการตรวจหาไข่พยาธิจากอุจจาระพบทั้งพยาธิไส้เดือน พยาธิตัวกลมในกระเพาะลำไส้ และพยาธิใบไม้ตับโคกระบือ ในแพะพบโรคที่เป็นปัญหาคือ  โรคปากเปื่อย (Scaby mouth) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจากการเคลื่อนย้ายสัตว์ที่อมโรคเข้ามาในพื้นที่ และโรคพยาธิตัวกลมในกระเพาะลำไส้ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ลูกแพะท้องเสียและตายตามมาได้ การแก้ไขได้ให้คำแนะนำให้เกษตรกรทำการหมุนเวียนแปลงหญ้า (Pasture Rotation) และการวางโปรแกรมถ่ายพยาธิแก่ลูกแพะในช่วง 3 อาทิตย์แรกหลังคลอดและทุกๆ3 เดือนในแพะทุกรุ่นเพื่อควบคุมปริมาณพยาธิภายในดังกล่าวไม่ให้มีมากเกินไป ในสุกรพบปัญหาโรคสำคัญ 2 ชนิดคือ อหิวาต์สุกร(CSF) และ AD ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยใช้วัคซีน ส่วนพยาธิภายใน ยังคงพบกลุ่มพยาธิไส้เดือนและพยาธิตัวกลมในกระเพาะลำไส้เป็นหลัก  การวางโปรแกรมโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค และถ่ายพยาธิแม่สุกรในระยะก่อนผสมจะช่วยควบคุมโรคได้ ในปัจจุบันปัญหาหลักในการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรคือปัญหาการจัดการด้านอาหารเนื่องจากวัตถุดิบหลักในการเลี้ยงสุกรจะเป็นวัตถุดิบที่มีในพื้นที่ได้แก่ รำ มันเส้น ข้าวโพดซึ่งเป็นอาหารพลังงานเกือบทั้งหมด มีผลทำให้ลูกสุกรโตช้า จึงต้องมีการปรับปรุงสูตรอาหาร  โดยเสริมให้มีระดับโปรตีนในอาหารให้สูงขึ้นเพื่อให้สุกร เจริญเติบโตได้ดีและขายได้เร็วขึ้น            ในสัตว์ปีก โดยเฉพาะไก่พื้นเมืองปัญหาที่พบบ่อยคือโรคนิวคาสเซิลและอหิวาต์เป็ดไก่ ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยการใช้วัคซีน แต่ก็มีปัจจัยบางประการที่ทำให้การทำวัคซีนป้องกันโรคไม่ได้ผลก็คือ โรคพยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร ซึ่งได้แนะนำให้เกษตรกรทำการถ่ายพยาธิแก่ไก่ที่เลี้ยงทุกระยะ 3 เดือนเพื่อควบคุมไม่ให้มีพยาธิในทางเดินอาหารมากไปจนไปรบกวนระบบการสร้างภูมิคุ้มกันโรคและการดูดซึมอาหารบริเวณลำไส้ นอกจากนี้ได้มีการตรวจยืนยันการตรวจพบโรคHistomoniasisที่เกิดจากโปรโตซัวชนิด Histomonas meleagridis ในไก่พื้นเมืองที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นครั้งแรกอีกด้วย ส่วนโรคในเป็ดโรคที่พบจากอาการป่วยน่าจะเป็นโรคอหิวาต์เป็ดไก่ เป็นที่น่าสังเกตว่าไก่งวงมักจะเป็นสัตว์ปีกกลุ่มสุดท้ายที่ยังคงเหลืออยู่ในหมู่บ้านหลังจากการเกิดโรคระบาดในสัตว์ปีกโดยเฉพาะโรค ND หรืออหิวาต์เป็ดไก่ ทำให้เกษตรกรมักนิยมเลี้ยงไก่งวงเป็นหลักนอกจากสัตว์ปีกชนิดอื่นๆ            ส่วนโครงการดูแลสุขภาพสัตว์พื้นฐาน(BAHS)ซึ่งได้จัดตั้งในกลุ่มเป้าหมาย  2 หมู่บ้าน ที่เมืองไสยบุรี โดยการคัดเลือกตัวแทนเกษตรกร(สัตวแพทย์บ้าน :VVW) ที่จะมาทำหน้าที่ในการดูแลรักษาโรค ฉีดวัคซีน และถ่ายพยาธิแก่สัตว์ในหมู่บ้าน ก็ดำเนินไปด้วยดี มีเกษตรกรในหมู่บ้านมาใช้บริการเพิ่มขึ้นตามลำดับ  จากการดำเนินงานมาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้อัตราการป่วยและตายของสัตว์ลดลง เป็นผลต่อเนื่องทำให้ประชากรสัตว์เพิ่มขึ้น เกษตรกรขายสัตว์ได้มากขึ้น และทำให้มีรายได้เพิ่มจากการเลี้ยงสัตว์มากขึ้นตามมา   ซึ่งในปัจจุบันโครงการได้ขยายผลไปยังหมู่บ้านต่างๆในหลายพื้นที่ของโครงการ FORCOM  และมีแนวโน้มด้านการตอบรับของเกษตรกรในระดับดีปัญหาอุปสรรคที่พบในช่วงปฏิบัติงานในพื้นที่ -          พื้นที่แต่ละหมู่บ้านอยู่ห่างไกลกันและห่างจากเมืองหลักมาก ทำให้การส่งตัวอย่างหรือรายงานโรคทำได้ลำบาก-          บางพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้การเก็บตัวอย่างเพื่อรอส่งในสภาพเย็นทำได้ยาก รวมทั้งมีผลต่อการเก็บรักษาคุณภาพวัคซีน-          ระดับการศึกษาของเกษตรกร ทำให้สื่อสารหรือถ่ายทอดความรู้ทำได้ในระดับหนึ่ง-          การรายงานผลชันสูตรที่ส่งล่าช้าจากห้องปฏิบัติการทำให้เมื่อเกิดโรคระบาดแล้วควบคุมได้ยาก-          ไม่มีระบบการจัดหายารักษาสัตว์  ยาถ่ายพยาธิ วัคซีน และยาบำรุงที่จำเป็นต่างๆ ไว้บริการในหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดความสะดวกใช้ข้อได้เปรียบของการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์-          เกษตรกรมีสัตว์ประจำถิ่นของตนเองอยู่แล้วจำนวนหนึ่ง การขยายพันธุ์ทำได้ทันทีโดยไม่ยาก-          มีพื้นที่ว่างเปล่าและแหล่งเลี้ยงสัตว์ตามธรรมชาติ ยังไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์มาก-          โรคติดต่อสำคัญที่พบในปัจจุบันยังไม่มาก และส่วนใหญ่สามารถควบคุมได้โดยการใช้วัคซีนและยาถ่ายพยาธิ -          เกษตรกรมีความสนใจที่จะเรียนรู้การป้องกันโรคสัตว์เนื่องจากมีฐานความรู้และประสบการณ์จากการเลี้ยงสัตว์มาก่อน และรายได้จากการขายสัตว์มีราคาสูงกว่าการขายผลผลิตการเกษตรทางด้านอื่นๆ-          การให้บริการเกษตรกรมีระบบการเก็บเงินเป็นค่ายาและค่าบริการมาตั้งแต่ต้น ทำให้ไม่เป็นปัญหาในการเก็บเงิน เนื่องจากเกษตรกรคุ้นเคยกับระบบนี้มาก่อน จะสร้างระบบกองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านได้ง่าย-          ปัจจุบันเกษตรกรยังผลิตจำนวนสัตว์ได้น้อยกว่าความต้องการของตลาด-          รูปแบบการผลิตสัตว์ มักไม่มีการใช้ยาสัตว์ผสมอาหาร  ทำให้มีสารตกค้างในผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้อยมากหรือไม่พบเลย ซึ่งเป็นรูปแบบของ Organic farm อยู่แล้ว-          เจ้าหน้าที่ระดับบริหารส่วนท้องถิ่น ให้การสนับสนุนเต็มที่เมื่อได้แก้ไขปัญหาต่างๆที่พบแล้ว คาดว่าการดำเนินงานของโครงการ FORCOM จะเป็นจุดเริ่มต้นทำให้การพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ในหมู่บ้านต่างๆในทางภาคเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต   สรุปแล้วความช่วยเหลือดังกล่าวในภาพรวมในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมานอกจากจะสร้างเสริมประสบการณ์ ทักษะความรู้ต่างๆแก่เจ้าหน้าที่ที่ออกไปปฎิบัติงานแล้ว  นับว่าเป็นก้าวแรกของการใช้ห้องปฏิบัติการประจำภาคแห่งนี้เป็นแห่งแรกเพื่อเป็นฐานการฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเป็นรูปธรรม   
หมายเลขบันทึก: 126431เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณที่บอกค่ะ

เดือน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท