แผนการดำเนินงานต่อของโครงการ


  วันที่ 18 มกราคม 2549 เวลา 13.30 น. ทีมวิจัยนัดหมายพูดคุยกันในการดำเนินงานต่อไปของโครงการ งานที่ดำเนินการต่อไป คือ

    เรื่องที่ 1 ทีมวิจัยจะลงสัมภาษณ์เชิงลึกกับแกนนำเครือข่าย จะใช้วิธีการพูดคุยสอบถามกันแบบกันเอง เพราะทีมวิจัยคิดว่าการพูดคุยกันแบบกันเองจะได้อะไรเยอะกว่า การประชุมหรือพูดคุยกันอย่างเป็นทางการ โดยคำถามที่จะถามก็จะเป็นคำถามตั้งแต่โครงการนี้เข้าไปชุมชนได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ตัวเองได้เรียนรู้และมีทักษะอะไรเพิ่มขึ้น และที่สำคัญคือตอนนี้กองทุนสัจจะวันละ 1 บาท ก่อตั้งสำเร็จไปแล้ว ก็จะถามตั้งแต่จุดประกายความคิดที่จะทำกองทุนสัจจะวันละบาทเริ่มต้นขึ้นได้อย่างไร เหตุผลที่เลือกตั้งกองทุนสัจจะวันละ 1 บาท และทำไมถึงเลือกทำและไปดูงานของครูชบ ได้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งกองทุนนี้อย่างไรบ้าง รวมถึงวิธีการจัดการด้านการเงินของกองทุนนี้จะมีแนวทางในการจัดการอย่างไร และประเด็นในตอนท้ายที่จะถาม คือ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กองทุนสัจจะวันละ 1 บาท ก่อตั้งได้สำเร็จ มีอะไรบ้าง ทีมวิจัยมีส่วนช่วยผลักดันในการจัดตั้งกองทุนนี้อย่างไร และทีมเครือข่ายอยากจะรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง นี้ก็คือเป้าหมายแรกที่ทีมวิจัยจะลงพื้นที่

    เรื่องที่ 2  คือ จะเชิญคณะกรรมการเครือข่ายซึ่งเป็นตัวแทนจาก 9 หมู่บ้าน เข้าร่วมอภิปรายผลการทำงานในรอบ 6 เดือน ที่ผ่านมา หลังจากที่โครงการผ่านไปแล้ว 6 เดือน มีอะไรเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปบ้างในชุมชน ได้ความรู้และทักษะที่เพิ่มขึ้นในเรื่องอะไรบ้าง และสิ่งที่แต่ละหมู่บ้านยังขาดและอยากจะรู้เพิ่มเติมมีเรื่องไหนบ้าง สำหรับกำหนดการณ์ที่จะจัดว่าเป็นวันไหน จะมีการหารือกันอีกทีในการประชุมเครือข่ายในวันที่ 27 มกราคม 2549 จะแจ้งให้ทราบต่อไปค่ะ

    เรื่องที่ 3  คือ จัดอบรม โครงการฝึกอบรมการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพองค์กรการเงินชุมชน ของคระกรรมการกองทุนหมู่บ้าน (เป็นความต้องการของชุมชน) จะหารือกันหลังจากการอภิปรายผลการทำงานของเครือข่ายในรอบ 6 เดือน เพื่อที่จะกำหนดความต้องการของชุมชนได้ถูกต้องและตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นก็จะเป็นการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เพื่อปรับปรุงให้โครงการสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น กำหนดหลักสูตรในการฝึกอบรมการเป็นวิทยากรกระบวนการ ซึ่งตอนนี้ก็ได้ทาบทาม อ.จำนงค์ แรกพินิจ อาจารย์ จาก ม.ทักษิณ คุณประมวล วรานุศิษฏ นักวิชาการ พช. จ.นครศรีธรรมราช จะมาเป็นวิทยากรกระบวนการในการฝึกอบรม และร่วมหารือกำหนดหลักสูตรในการฝึกอบรมด้วย และในการกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมก็จะเชิญ แกนนำเครือข่าย หน่วยการจัดการความรู้ (พี่ภีมและทีมงาน) อ.จำนงค์ หนูนิล อ.กศน.เข้าร่วมหารือด้วย เพื่อจะได้เนื้อหาที่เข้มข้นขึ้น เพื่อเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายในระดับกองทุน คือกองทุนหมู่บ้านมีประสิทธิภาพ และระดับสมาชิกต่อไป

    เรื่องที่ 4  คือ ในระดับกองทุนหมู่บ้าน ทีมวิจัยจะลงสัญจร ในวันทำการของกองทุนหมู่ทั้ง 9 หมู่บ้าน ดูการทำงานของทุนหมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านมีการบริหารจัดการของแต่ละกองทุนอย่างไรบ้าง แตกต่างกันในเรื่องอะไรบ้าง จุดเด่น จุดด้อย ของแต่ละหมู่บ้าน (จะเป็นการพูดคุยสอบถาม) และจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเองใน 9 หมู่บ้าน ได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้แต่ละกองทุนหมู่บ้านมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ

    ส่วนผลของการทำกิจกรรมต่าง ๆ จะออกมารูปแบบใด เป็นไปตามเป้าหมาย หรือเกินเป้าหมาย ที่ตั้งไว้หรือไม่ จะรายงานผลให้ทราบต่อไปค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 12642เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2006 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สนใจเรื่องที่4ครับ ถ้าทีมวิจัยศึกษาจนเข้าใจสถานภาพของกองทุนแล้ว(ร่วมกับทีมรับผิดชอบของเครือข่าย)ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรีบดำเนินการ
นอกจากทำความเข้าใจกลุ่มแล้ว ความเข้าใจบริบทของชุมชนก็สำคัญด้วย จะฝากนู๋แป้นกับแหม่มไปเรีนรู้ด้วยครับ

จากนั้นก็วิเคราะห์อย่างมีส่วนร่วมกับแกนนำเครือข่ายให้เข้าใจแล้วนำความรู้เข้าไปช่วยใน2ลักษณะคือ
1)อบรมให้ความรู้ให้ตรงกับเรื่องที่ขาดอยู่อย่างจำเพาะเจาะจง อย่าเหวี่ยงแห
2)สร้างการเรียนรู้ให้แกนนำกลุ่ม(คนทำงาน)รู้จักวิเคราะห์กลุ่มตนเอง มีภาวะผู้นำ ทำงานเป็นทีม สามารถคิดเชิงระบบเพื่อพัฒนากลุ่มด้วยตนเอง ทีมสนับสนุนช่วยให้ข้อมูลแหล่งเรียนรู้หนุนเสริมเครือข่ายกับกลุ่ม

นอกจากวงเครือข่ายและกลุ่มแล้ว วงสมาชิกก็น่าจะเริ่มลงลึกนะ

รวมทั้งการทำงานร่วมกับหน่วยงานสนับสนุนและอบต. ชวนคนทำงานตามสายงานที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน พัชเคยวิเคราะห์ว่าหน่วยงานไหนสอดคล้องกับเรื่องอะไร ถ้าชวนมาทำไม่ได้ก็อาจจะขึ้นอยู่กับคนหรือเงื่อนไขอะไรก็เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ตอบคำถามโจทย์วิจัย

การทดลองทำงานกับเพื่อนราชการภาครัฐใน3ตำบลของอ.เมืองของหน่วยจัดการความรู้ ค่อนข้างHappyครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท