ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House (15) ลปรร. Outcome mapping


บทเรียนของเรา เราคิดว่า Outcome mapping ช่วยกระบวนการในการคิดของคนทำงาน ใช้ได้กับทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับโครงการ ระดับชุมชน ชาวบ้าน

 

อ.อ้อ เปิดเวที ลปรร. ค่ะ

  • อ้อว่าเครื่องมือตัวนี้เป็นเครื่องมือใหม่ มันมีคำถามที่น่าสนใจเยอะว่า ตัว Outcome mapping นี่ที่เขาบอกว่า มันดีเพราะว่างานแต่ละงาน งานบางงาน เช่น งานพัฒนาสังคมนี่ วัด Impact ยาก และไม่ใช่แค่เครื่องมือตัวเดียว หรือองค์ประกอบตัวเดียวที่มันเปลี่ยนได้ เขาก็ไปจับที่ตัว Outcome หรือพฤติกรรมของคนที่เราอยากให้เปลี่ยน
  • พอไปใช้ก็มีปัญหาตั้งแต่ตัวที่เขาตั้ง vision เลย ว่าทำไมมันต้องยาวขนาดนี้ พอผ่าน vision มาแล้ว เอ๊ เราจะเอาใครเป็น Boundary partner ต้องทำงานร่วมกัน และเขาเปลี่ยนพฤติกรรมไหม ถ้าเขาไม่เปลี่ยนพฤติกรรม แล้วเราจะเอาเขามาเป็น Boundary partner ไหม อะไรอย่างนี้
  • เอ สมมติว่า ถ้าจะเปลี่ยนอะไรแบบนี้ จะเอา กพร. มาเป็น Boundary partner ไหม หรือจะเอาใครมาเป็นดี หรือพอเข้าไปทำแล้วนี่ งานเล็กงานใหญ่แค่ไหน ถึงต้องใช้ Outcome mapping หรือว่างานที่เป็นลูกโซ่ หรือว่างานแผนงาน โครงการต่อๆ จากเราไปทั้งหมดนี่ โครงการเล็ก โครงการน้อย หมู่บ้านเล็ก หมู่บ้านน้อย หรือว่าศูนย์อนามัย ต้องทำกันหมดมั๊ย มันจะระเบิดระเบ้อไหม ลองดูว่าใครมีประสบการณ์ และอยาก share ตรงนี้ ขอเรียนเชิญค่ะ

คุณรวิวรรณ สมพงษ์ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ขอร่วม ลปรร. ค่ะ และถามข้อข้องใจ

  • มีข้อข้องใจจะเรียนถามว่า ... เมื่อปี 47 มีประสบการณ์นำเอาแนวคิดของ Outcome mapping ไปประเมิน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เชียงใหม่
  • ปรากฎว่าตอนนั้นเราทำกันเองกับผู้รู้ที่ผ่านการอบรม ซึ่งตอนนั้นก็ค่อนข้างใหม่ เราก็ทำตามขั้นตอนของ Outcome mapping ว่ามีอะไรบ้าง ทำกันไป ทำกันมา
  • สุดท้ายแล้ว ผลสรุปที่ได้ การสรุปบทเรียนต่างๆ จะเป็น Project manager เกือบทั้งหมด ทั้งคนที่เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด ก็ไม่รู้ว่าตัวเองทำตรงไหน เป้าหมายตรงไหน เพราะว่าจะเป็นวิธีการประเมินแบบใหม่ ที่เราจะไปเน้นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง ดูพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง ทำไปด้วยความสับสน
  • อันหนึ่งที่แน่ๆ ที่เป็นจุดอ่อนของเรา คือ เรื่องขององค์ความรู้ อันที่สอง ความสับสนว่า เป้าหมายของเรามันอยู่ตรงไหน อันนี้เรื่องใหญ่มาก เพราะว่าตีโจทย์ไม่แตก เรื่องที่สามที่สำคัญที่สุด
  • นอกจากที่ อ.ชะนวนทอง ได้พูดเมื่อกี่ว่า Outcome mapping เป็นวิธีคิดที่เป็นระบบกับงานที่สลับซับซ้อน ทีนี้เราประเมินตัวเอง เอ๊ ชมรม/กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของเราตอนนั้นได้ของบฯ จาก สสส. มันไม่ซับซ้อนหรือเปล่า ก็เลยขอถามอาจารย์ว่า มันต้องซับซ้อนไหม มีลูกโซ่ มีอะไรหรือเปล่า

อ.ชะนวนทอง ตอบให้ทราบค่ะว่า

  • ประสบการณ์ของเรา เป้าที่หนึ่งที่เอามาใช้ เพราะว่าอยากให้เขาทำงานร่วมกับคนอื่นได้ อันที่สองก็คือ ผู้บริหารมีบทอะไร ผู้ปฏิบัติมีบทอะไร
  • เพราะฉะนั้นในตอนนั้นตั้งเป้าฯ ไว้อย่างนี้ เพราะรู้ว่าโครงการทางด้านสาธารณสุข ทางด้านกฎหมายนี้ต้องซับซ้อนแน่นอน ก็เลยฝึก และคิดว่าโครงการของพวกเราน่าจะใช้ได้หมดนะคะ
  • คนทำต้องเข้าใจระบบ และเข้าใจวัตถุประสงค์ของแต่ละขั้นตอน ความยากจะอยู่ขั้นตอนที่ 1 เพราะฉะนั้น เรามีหน้าที่กระตุ้นให้เขาคิด เราไม่ได้มีหน้าที่ไปวางแผน แต่ไปกระตุ้นว่า มีอะไรอีกที่ถ้าเราจะทำขั้นที่ 1 มีอะไรอีกบ้าง เราออกแบบตัวเครื่องมือ และให้เขาเติมไปเรื่อยๆ เป็นแบบบันทึก ภาคมีกี่คน วิสัยทัศน์ตอนนี้ของเราคืออะไร ของโครงการคืออะไร และถ้าทำปีที่ 1 เขาก็จะมีวิสัยทัศน์เป็นอย่างไร สองอันนี้ถ้าไปคุยกับเขา จะคุยว่าอย่างไร ก็ออกแบบพวกนี้ออกมาช่วย
  • สำหรับประสบการณ์ Outcome mapping ต้องใช้ทุกระดับ และตอนนี้ก็มี IM เข้ามาด้วย คือ IM มาช่วย Evidence based และ OM มาช่วยในการประเมิน เท่าที่ทำงานตอนนี้ใช้ 2 ตัว
  • หลังจากที่เราชวนเขาคิดแล้ว มันออกมาเป็นแผน และหัวหน้าหน่วยงานก็จะสามารถเอาไป Monitor ได้ว่า แผ่นไหนใครจะไปทำ

คุณวิมล ผู้ร่วมก๊วนอาจารย์ เสริมตรงนี้ค่ะว่า

  • คำถามที่ถามว่า มีทีมทำหรือไม่ อย่างไร คือ ตอนที่ไปทำกันนั้น ต้องยอมรับว่า เราไปทำให้กระทรวงยุติธรรมนี่ เราไม่รู้บทบาทภารกิจของเขา
  • แต่ตอนที่เราทำ Outcome mapping เป้าหมายก็คือ เขาจะทำยังไงให้ลดปัญหายาเสพติด โดยใช้พลังเครือข่ายชุมชนลดปัญหายาเสพติด และในแต่ละชุมชนก็มีบริบทที่ต่างกัน ที่ Outcome mapping
  • ไปจับนี้ vision อย่างหนึ่งก็คือ แต่ละที่ก็ vision หนึ่ง และเวลาเอาแบบฟอร์มไปใช้ ตัวพวกเราเองเป็นเพียงคนแปลงสื่อสารข้อความเท่านั้นเอง และใช้ข้อคำถามเชิงบวก ถามเขา และคนที่ตอบคำถามทั้งหมด ไม่ใช่ทีมเราทำ คนที่ทำจะเป็นคนทำเอง
  • เช่น ในชุมชนจอบขวาง เขาจะทำยังไงให้ชุมชนดูแลปัญหายาเสพติดให้ลดลง หรือป้องกันเด็กไม่ให้ติดยาเสพติด ถามว่า ในชุมชนจอบขวางนี่ ใครบ้างที่จะมาช่วยคุณแก้ หรือลดปัญหาเรื่องนี้ได้ เขาคิดเอง เราโยนคำถาม และเขาคิดเอง ว่า เขามีภาคีคือใคร มันก็จะมีชุมชน มีแกนนำ มีวัด มีโรงเรียน มีผู้ใหญ่บ้าน อบต. มี รพ. มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เยอะมาก และบางชุมชนเขาบอกว่า ทุกคนเลยในชุมชน
  • พวกเราก็มาสุมหัวกันอีกว่า ให้ช่วยคิด ใจเย็นๆ ให้ช่วยคิดว่า คนที่ทำให้งานนี้สำเร็จเบอร์ 1 คือใคร และเบอร์ 2 คือใคร จากวงในที่ทำภาคีให้สำเร็จ คือใคร และใครคือคนที่สนับสนุนให้งานนี้สำเร็จได้ และเสร็จแล้ว เราถึงไปเชิญคนที่มีชื่อปรากฎเป็นภาคี จะให้เขาทำได้สำเร็จ การที่จะไปเชิญภาคีได้ ก็ต้องจูนอีกว่า พันธกิจของภาคีเดิมที่มีอยู่คืออะไร และพันธกิจของโครงการนี้คืออะไร
  • เพราะฉะนั้น ภาคีที่มานี้ เท่ากับว่า เขาเอาทรัพยากรมานะ เขาก็ต้องได้ผลงานไปด้วย และผลงานของเขาก็เสริมหนุนพันธกิจใหญ่ เป้าหมายใหญ่ของโครงการนี้ด้วย มันมีการที่ว่า เอาอะไรมาทำด้วยกัน และตัวเองได้อะไรกลับไป โดยใช้ Outcome mapping เป็นเครื่องมือวัดเป็นช่วงๆ ตั้งแต่เริ่มมาสุมหัวทำอะไรกัน และภาคีพันธกิจจะทำอะไร ไม่ใช่ว่า โครงใหม่ที่จะทำร่วมกัน และเอาพันธกิจโครงใหม่ไปทำ แต่หมายถึงพันธกิจที่เขาทำอยู่ จะมาเสริมหนุนกับธงรวม ธงใหญ่ที่มาปักธงร่วมได้อย่างไร และใครในองค์กรของเขาที่จะช่วย
  • อย่างในโรงเรียน ใครทำเรื่องนี้อยู่ คือเรื่องยาเสพติด คือ ดึงเอาตัวหลักๆ มา และมีตัวเสริม และตัวเสริมทำอะไร มันเลยละเอียดมาก และเราก็ให้เขาเขียน และให้ mail กลับมาให้เรา และพวกเรา 4 คนก็ช่วยกันอ่าน แบ่งพื้นที่กัน
  • และเราก็มาสุมหัวอันอีกว่า บางชุมชนเขียนมาอ่านไม่รู้เรื่องเลย แตว่าบางชุมชนเขียนมารู้เรื่อง อ.ชะนวนทอง บอกว่า แบบนี้ไม่ได้แล้ว ยังงี้เราจะใช้เวทีแลกเปลี่ยนเลย เอาชุมชนที่รู้เรื่องเนี่ยะ มันเขียนรู้เรื่องได้ยังไง มันไปวิเคราะห์ได้ยังไง ให้เล่าให้ฟังซิ คนที่ไม่รู้เรื่องจะได้เล่าให้ฟังได้
  • แทบจะเรียกว่า ให้มา เรานี่เป็นแค่คนกลางนะคะ ที่ไปเขียน ไม่ได้ไปทำอะไรเลย เราแค่เอาเครื่องมือไปทดลองทำ เพราะเราก็เรียนรู้ไปกับเครื่องมือนี้ด้วย ก็เลยจะตอบว่า คนทำก็คือ เจ้าของงาน แลภาคีที่แท้จริงของเขา
  • และสุดท้าย จริงๆ แล้ว KM มันเหมือนกับอยู่ช่วงท้าย แท้จริงๆ แล้ว มันอยู่ตั้งแต่ขั้นตอนแรกเลย รู้เลยว่า ใครจะมาเป็นภาคีหลัก ภาคีสนับสนุน ภาคีรอง และสุดท้าย มันมาทั้งคน มีทั้งงานมาด้วย ก้าวสุดท้ายที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน และมีความสุขร่วมกันจริงๆ นี่คือประสบการณ์ตรงที่อยากจะมาร่วม share

อ.ชะนวนทอง เพิ่มเติมให้เล็กน้อยค่ะว่า

  • ตอนที่เราออกแบบตอนแรก เราเป็นตัวกระตุ้นให้เขาได้คิด และเราเอามาร้อยเรียง มันก็จะออกมาได้ว่า อ๋อ คุณทำงานกันนี้นะ คุณอยากเห็นภาพอะไรที่เกิดขึ้น คุณไปคุยซิว่า ในประชาคมเขามีไหม ถ้าในประชาคมเขามี ก็แปลว่าคุณเป้าใกล้กันแล้ว และพันธกิจของคุณมีอะไร และพันธมิตรมีใคร และพันธมิตรเหล่านั้นเขาจะไปได้ถึงผลลัพธ์ วัตถุประสงค์ระดับไหน
  • ต้องเห็นตรงนี้นะคะว่า ใน Outcome mapping มีระดับของผลลัพธ์ที่แตกต่าง อันนี้คือความเด่น แต่ก่อนเราคาดหวังอยู่ระดับเดียว คือ ทุกคนต้องทำอย่างที่ข้าบอก
  • แต่ตอนนี้เราเริ่มที่จะมองเขามองเราอย่างเป็นจริงขึ้น เพราะฉะนั้นสิ่งคาดหวังว่าจะเกิดขึ้น คือ พันธมิตรนี่ และสิ่งที่อยากจะให้เกิด และสิ่งที่บอกว่า เกิดก็ดีเยี่ยมเลย ถ้ามาคนเดียวก็ OK นะ เอาเพื่อนมาด้วยก็ดีนะ ถ้ามาทั้งตัวเองและเพื่อนและเงินก็ยิ่งดีใหญ่เลยนะ เพราะฉะนั้นถ้าเรามากรมอนามัยได้ระดับ 3 นะ ถ้าไปกรมควบคุมโรคได้ระดับ 2 นะ กรมสุขภาพจิตได้ระดับ 1 นะ อะไรอย่างนี้ละค่ะ
  • เราก็จะตั้งตัวชี้วัด วางแผนทีมงานในการทำงานได้สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะฉะนั้นตัว Indicator และวิธีการอยู่ร่วมกับเขา เราจะมีสติ และสมาธิมากขึ้น คือ รู้ว่าคนนี้มันก็ไม่มีเงิน ก็ไม่ต้องไปต่อรองเรื่องเงิน แต่ว่าเอาอย่างอื่นเขามา เพราะฉะนั้น กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมันจะเกิดขึ้น ได้ คุณต้องรู้อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ไม่ใช่คุณบอกว่า ตัวหนังสือต้องเอาอย่างนี้
  • เพราะฉะนั้น บทเรียนของเรา เราคิดว่า Outcome mapping ช่วยกระบวนการในการคิดของคนทำงาน ใช้ได้กับทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับโครงการ ระดับชุมชน ชาวบ้าน เดี๋ยวนี้ชาวบ้านก็จะคิดตัวนี้เป็นอยู่แล้วละค่ะ แต่ทำอย่างไรให้คนเจ้าของโครงการนี้ เปิดใจรับว่า คนหลายคนในโลกนี้ มันมีคนที่เปลี่ยนได้ต่างๆ แล้วก็ไปเชื้อเชิญเขามาเป็นภาคีด้วย
  • และสุดท้ายหน้าที่ของผู้บริหารโครงการ ก็คือไปหยิบที่เขาทำมานี้ไปใส่เป็นแผน เพื่อที่จะให้เกิดระบบว่า ถ้าไปทำงานกับคนกลุ่มนี้ เราต้องทำอะไรบ้าง มันก็จะออกมาว่า ทุกคนได้เรียนรู้ ว่า จะ Monitor อะไร พอเรียนรู้ว่า Monitor อะไร ก็ไม่ทะเลาะกัน และทุกคนก็มีความสุข เพราะว่าได้ผลงาน
  • ก็เลยทำให้โครงการนี้ไปเป็นนโยบายของกระทรวงยุติธรรม “ยุติธรรมทั่วหน้า ประชามีส่วนร่วม” “Justice for All – All for Justice” จากงานที่ไปทำนี้ ท่านปลัดฯ ก็บอกว่า เอาเลย ท่านสั่งออกมา เพราะฉะนั้น การจะทำอะไรมันต้องใช้ระบบ บังเอิญเราโชคดีเราไปใช้ระบบนี้เข้า และมันออก และหน่วยงานเขาก็เลยเกิดมียุติธรรมจังหวัด อาจจะมีทะเลาะกันอยู่บ้าง แต่ก็มีที่ไม่ทะเลาะด้วย เป็น evidence ให้ผู้ใหญ่ ก็บอกว่า เออ เข้าท่า
  • ใครจะคิดว่าการเปลี่ยนในทางด้านกฎหมายนี่ ใช้กิจกรรมนารวม ... การเปลี่ยนในเรื่องการทำความจับคนเขาคุกนี่ละคะ เขาสร้างนวัตกรรมการทำนารวม ... ตรงนี้พวกเราคิดไม่ออกหรอกค่ะ โง่สนิทเลย แต่พอนั่งทำงานกับเขา นั่งทำงานกับชาวบ้าน นั่งทำงานกับเกษตร และนายอำเภอ สื่อมวลชน เขาลงมาแล้ว เขาบอก อันนี้ทำให้คนเรียนรู้กันว่า ไม่ต้องแย่งน้ำกัน ไม่ต้องแย่งโก่งราคาข้าวกัน เพราะว่าจะไปซื้อตาชั่งแบบมาตรฐานก็ไม่มี่สตังค์ ชุมชนยากจน และยังทำให้เกิดยุ้งข้าวให้คนมาเอาข้าวไปกิน ดูแลกัน เกิดความเอื้ออาทร
  • ถามว่า ถ้าเราไม่มีระบบที่จะให้โอกาสคนในพื้นที่ ที่มีความแตกต่างในต้นทุนกันนี้ และต้นทุนการเอื้ออาทร เราจะมนั่งคิดนวัตกรรมนี้กันได้อย่างไร แต่จากการที่เรามมี Outcome mapping มาช่วยทำให้คนได้เดินออกหาเพื่อนร่วมทางอย่างเป็นระบบ จึงทำให้เกิดพลังของชุมชนมาช่วยในการคิด นวัตกรรมที่เหมาะสม และมีส่วนร่วมได้มากที่สุด จนเกิดเป็นความภาคภูมิใจ และทำให้คนที่เข้าคุกมาแล้ว ออกมาสู่สังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี อันนี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง ความจริงแล้วก็จะมีอีกหลายพื้นที่

นี่ก็คือสิ่งที่เพิ่มเติมจากอาจารย์ละค่ะ 

รวมเรื่อง ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House  

 

หมายเลขบันทึก: 126370เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2007 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท