นักวิชาการ & ปราชญ์ชาวบ้าน


เมื่อนักวิชาการ/นักวิจัย พบ ปราชญ์ชาวบ้าน "เวทีการต่อยอดองค์ความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง" เพียงเปิดใจ เปิดโอกาส และทำจริง...ใช้ได้จริง

 

ปราชญ์พิจิตรสุดฮอต นักวิชาการลงพื้นสร้างมาตรฐานต่อยอดองค์ความรู้ชาวบ้าน

           "ปัญหาของชาวบ้านหัวก้าวหน้าอย่างกลุ่มประชาคมจังหวัดพิจิตรที่พยายามพึ่งตนเองสร้างความรู้ขึ้นใช้เองในการประกอบอาชีพ ผ่านกระบวนการเก็บ รวบรวม คิด-ค้น-คว้า ทดลองมาจนได้ผลดีระดับหนึ่งแต่ยังเป็นการใช้ในวงแคบไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากลหรือมีมาตรฐาน ทำให้คนเหล่านี้อึดอัดที่ไม่สามารถตอบข้อสงสัยทางวิทยาศาสตร์นั้นได้ เพราะไม่มีความรู้ ซึ่งในจุดนี้ภาควิชาการหรือนักวิจัยมักละเลยด้วยแม้จะทำได้ง่าย ๆ ด้วยกระบวนการในทางวิทยาศาสตร์ในห้องแลบ" 
                    

            จากปัญหาดังกล่าว สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิชาการ นำโดย ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช ผอ.สคส. และ ศ.ดร.วิชัย บุญแสง ผอ.ฝ่ายวิชาการ สกว.จึงจัดกิจกรรมสัญจรพานักวิชาการอาวุโสด้านต่าง ๆ และนักวิจัย ลงพื้นที่ดูภูมิปัญญา องค์ความรู้ของเกษตรกร 4 กลุ่ม 4 พื้นที่ในจังหวัดพิจิตร เพื่อทางต่อยอดสร้างมาตรฐานขององค์ความรู้ชาวบ้านให้เป็นที่ยอมรับ มีการพัฒนาและปรับปรุงให้ได้มาตรฐานมากขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ สร้างความภูมิใจให้กับชาวบ้านเจ้าต้นตอขององค์ความรู้นั้น ๆ และสามารถขยายผลให้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถลด ละ เลิก การใช้สารเคมี  ลดต้นทุนการผลิต และสามารถสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ผู้บริโภคและสังคมได้ในที่สุด เมื่อเกษตรสามารถผลิตอาหารปลอดภัยกันอย่างกว้างขวาง   


                คุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ ประธานมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร กล่าวว่า การที่นักวิชาการ และนักวิจัย จาก สกว.ร่วมศึกษากระบวนการเรียนรู้ ของเกษตรกรพื้นที่ต่างๆของจังหวัดพิจิตร อาทิ กลุ่มผักปลอดสาร อ.สามง่าม, โรงเรียนทายาทเกษตรกร อ.วังทรายพูน, เครือข่ายข้าวสะอาด อ.ตะพานหิน และเกษตรรวมมิตร อ.ตะพานหิน :ซึ่งเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกันของเกษตรกร สร้างองค์ความรู้ในชุมชนขึ้นใช้ และสามารถหาทางออกลด ละ เลิกใช้สารเคมีจากการทำเกษตรกรรม ด้วยการจัดการความรู้  แต่ละกลุ่มจะมีจุดเด่นที่ต่างแยกกันไปทำเสร็จแล้วนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนให้กับกลุ่มอื่นได้รู้และนำไปใช้ต่อ

                ประธานมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร กล่าวว่า การที่นักวิชาการ และนักวิจัย จาก สกว.ร่วมศึกษากระบวนการเรียนรู้ ของเกษตรกรพื้นที่ต่างๆของจังหวัดพิจิตร อาทิ กลุ่มผักปลอดสาร อ.สามง่าม, โรงเรียนทายาทเกษตรกร อ.วังทรายพูน, เครือข่ายข้าวสะอาด อ.ตะพานหิน และเกษตรรวมมิตร อ.ตะพานหิน :ซึ่งเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกันของเกษตรกร สร้างองค์ความรู้ในชุมชนขึ้นใช้ และสามารถหาทางออกลด ละ เลิกใช้สารเคมีจากการทำเกษตรกรรม ด้วยการจัดการความรู้  แต่ละกลุ่มจะมีจุดเด่นที่ต่างแยกกันไปทำเสร็จแล้วนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนให้กับกลุ่มอื่นได้รู้และนำไปใช้ต่อ

               ซึ่งความสำเร็จของการขยายเครือข่ายเกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีสุขภาวะที่ดีขึ้น อีกทั้งยังเกิดการรวมกลุ่มกันเรียนรู้ และพัฒนาความรู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งถือเป็นฐานทุนทางสังคม ทุนทางปัญญา ของเครือข่ายเกษตรกร และเครือข่ายคนทำงาน เช่น ครู ,เจ้าหน้าที่สาธารณสุข กศน. , ผู้นำเกษตรกร,ปราชญ์ชาวบ้านฯลฯ ที่มีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นและเข้มแข็ง ซึ่งปัจจัยสำคัญคือมีการใช้ “การจัดการความรู้” มีการบันทึกองค์ความรู้ สูตรจุลินทรีย์, ปุ๋ยชีวภาพ ,สมุนไพรไล่แมลง และการพัฒนาพันธุ์ข้าว โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ ผ่านการตรวจสอบและประเมินว่ามีความสำเร็จแล้วในระดับหนึ่ง

                ทั้งนี้โดยภาพรวมของเครือข่ายเกษตรกรจังหวัดพิจิตร สามารถตอบโจทย์แก้จนได้ในเรื่องของ การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ครอบครัวมีความสุข เกษตรกรสุขภาพดี และมีความเข้มแข็งมากขึ้น

                 ศ.ดร.วิชัย บุญแสง ผอ.ฝ่ายวิชาการ ของ สกว. กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ดูวิถีชีวิตและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับกลุ่มเกษตรกรดังกล่าว ทำให้ทราบว่าชาวบ้านมีองค์ความรู้เพื่อการประกอบอาชีพของตนเองอยู่แล้วและผ่านกระบวนการที่เชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง
                 “ถ้าเป็นการใช้เองภายในก็ไม่มีปัญหา แต่เมื่อมีการใช้อย่างแพร่หลายออกไปก็จะเกิดคำถามหรือข้อกังขาในความน่าเชื่อถือ เช่น น้ำหมักชีวภาพที่ชาวบ้านทำขึ้นได้นับ 10 สูตร ผ่านการลองผิดลองถูกและพบว่ามี 3 สูตรที่ใช้ได้ผลดี นั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง และอะไรคือตัวที่ทำให้พืช ผัก ผลไม้ในพื้นที่นี้เติบโต ให้ผลดีมีคุณภาพ  หรือบางรายเอาไปหยดใส่น้ำให้ไก่กินแล้วไก่ไม่เป็นโรคไข้หวัดนก ก็น่าศึกษาว่ามีความเป็นไปได้อย่างไร”

                   ศ.ดร.วิชัย กล่าวอีกว่า ในส่วนของ สกว.มีโครงการที่ทำงานวิจัยและพัฒนาที่เป็นการต่อยอดองค์ความรู้ชาวบ้านเหล่านี้ให้เป็นที่ยอมรับทางวิชาการ ซึ่งจะสร้างความน่าเชื่อถือและความภาคภูมิใจและมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น งานวิจัยดังกล่าวแยกเป็น 2 ระดับคือระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้นอาจใช้กระบวนการทางวิจัยทางวิทยาศาสตร์ตอบคำถามให้กับชาวบ้านได้ในเวลาไม่นาน  เช่น เรื่ององค์ประกอบของดิน น้ำ ปุ๋ย น้ำชีวภาพต่าง ๆ   พันธุ์ข้าว ผัก ผลไม้ เป็นต้น  ขณะที่บางเรื่องที่กระทบหลายด้านต้องใช้เวลาวิจัยนานก็เป็นเป้าหมายระยะยาว  และนักวิจัยก่อนที่จะทำวิจัยจะต้องลงไปคุยกับชาวบ้านดูองค์ความรู้ในพื้นที่ก่อนจึงจะสร้างงานวิจัยที่ตรงกับความต้องการของพื้นที่และใช้ประโยชน์ได้จริง
        
   

               อย่างไรก็ตามในด้านความร่วมมือจากภาคราชการในพื้นที่  นายพินิจ พิชยกัลป์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า เครือข่ายประชาคมจังหวัดพิจิตรที่เดินเรื่องการผลิตอาหารปลอดภัย ด้วยการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์นั้น ความจริงก็สอดคล้องและตรงกับยุทธศาสตร์ของจังหวัด และยุทธศาสตร์ชาติที่ว่าด้วยเรื่องอาหารปลอดภัย และการเป็นครัวของโลก ซึ่งทางจังหวัดพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่และจะมีการนำมาพูดคุยในเวทีระดับจังหวัด รวมทั้งจะมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มเครือข่ายเกษตรต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันต่อไป

                 ด้าน ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช  ผอ.สคส. กล่าวว่า การพบกันระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย และกลุ่มเกษตร ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นมิติใหม่ของการทำงานวิจัยที่ต้องการให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงและในเวลาไม่นาน นักวิจัยจึงต้องมาต่อยอดความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ นักวิจัยจึงมักละเลย และหันไปทำเรื่องใหญ่ ๆ แม้อาจจะไม่ได้มีการใช้ประโยชน์โดยได้ทันทีก็ตาม จึงเป็นโอกาสดีที่จะกระตุ้นให้เกิดการวิจัยลักษณะนี้ให้มากขึ้น ซึ่งการทำงานของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้พบว่ามีกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจำนวนอยู่ในท้องถิ่นและมีการเก็บรวบรวมองค์ความรู้อยู่แล้วในระดับหนึ่งและต้องการการเสริมแรงจากนักวิชาการ/นักวิจัย และยังช่วยเสริมแรงให้ขบวนการจัดการความรู้ของสังคมไทยเคลื่อนไปได้มากขึ้น.

 

 

 

 

 

 คัมภีร์สมุนไพรพึ่งตนเองของลุงสมพงษ์

ลุงสงพงษ์  ธูปอัน เกษตรกรคนเก่ง

 ผู้สื่อข่าวสนใจการซักถามระหว่างนักวิชาการกับปราชญ์ชาวบ้าน

ลุงสมพงษ์โชว์ปุ๋ยหมักที่ทำไปใช้ไป

ขนุนในสวนก็ต้องรู้จักวิธีดูแล

หมายเลขบันทึก: 12637เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2006 17:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณทีมอาจารย์หมอวิจารณ์มากเลยนะครับ....

คนพิจิตรจะได้ตื่นตัวสักที...ว่าพิจิตรก็มีอะไรดีๆเหมือนกัน

ความจริงที่ไปดูมีหลายพื้นที่ ล้วนมีเรื่องราวดี ๆ ของคนพิจิตรมากมาย  แล้วจะทยอยนำมาเขียนเผยแพร่ต่อไปค่ะ

 

     บันทึกได้ดีมากครับ ผมและทีมงานจากกำแพงเพชร ได้เรียนรู้จากพิจิตรในหลายๆ ประเด็น ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนากระบวนการทำงานส่งเสริมการเกษตรของจังหวัด อาจจะได้ไม่ดีเท่าพิจิตรแต่ก็จะพยายามทำต่อไปครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท