ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House (14) Outcome mapping - 2


เพราะฉะนั้นในฐานะที่ไปเป็นคนกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เปลี่ยนการทำงานจากตัวหนังสือ มาเป็นระบบในสังคม เปลี่ยนการทำงานแบบผลงานใคร ผลงานมัน มาเป็น ยินดีด้วยกัน ทุกคนได้ผลงาน เทคนิคของการเปลี่ยนตรงนั้นก็คือการพยายามใช้คำถาม

 

Outcome mapping - ตอนที่ 2 ค่ะ

  • ขออนุญาติไปสู่กรอบใหญ่ของเขา คือว่า เขามีอยู่ 3 กรอบ ว่า Vision Mission อะไร หน่วยงานต่างๆ ไม่ได้ทำ HA เหมือนโรงพยาบาล เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะไปพูดกับเขา วิสัยทัศน์ ต้องแปลงออกมาเป็นภาษาง่ายๆ เพื่อที่จะให้เขาได้เข้าใจว่า เขาจะดึงอะไรออกมา วิสัยทัศน์ขององค์กร
  • ตอนนี้เราเริ่มดึงมาสู่วิสัยทัศน์โครงการ และบอกให้เขาต้องคุยกันให้ได้ว่า วิสัยทัศน์โครงการเป็นยังไง ภาคีมีใครบ้าง ทำให้เกิดศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน และให้เขา List ออกมา ว่า ภาคีที่จะช่วยให้เขาทำงานสำเร็จ เขาจะต้องมองหาใคร
  • จุดนี้จะสำคัญมาก เพราะว่าที่ผ่านมา เรามองตัวเรา และเป้าหมายที่เราจะเปลี่ยน แต่เพื่อนร่วมทางนี่มา เดี๋ยวเอาผลงานไปหมด เราแค่เริ่มเห็น และ OM จะมีผลลัพธ์ที่แตกต่าง
  • ตรงนี้นะคะ พูดเกือบตาย เพราะว่าผู้คนก็จะไม่รู้ว่า ผลลัพธ์ระดับ 1 ระดับ 2 มันแปลว่าอะไร เราก็มาแปลว่า ผลลัพธ์นี่นะ ถ้าทำคนเดียวมันได้อะไร ทำ 2 คน แล้วคนที่สองมันเก่งน่ะ ได้อะไร ถ้าทำ 2 คนแล้ว ถ้าคนหนึ่งเก่ง อีกคนไม่เก่งได้อะไร ก็เริ่มมองเห็นความแตกต่าง และเริ่มระบุได้ พอระบุได้เสร็จก็นำไปสู่การตั้งเกณฑ์ว่า แล้วความก้าวหน้าจะเกิดอะไรขึ้น ก็ทำอย่างนี้ในทุกชุด ในทุกๆ ภาคี หาภาคีให้ครบ
  • แล้วก็ใช้ขั้นต่อไป คือ แผนที่ยุทธศาสตร์ อย่างที่เรียนว่า ขณะนี้ประเทศชาติบอกว่า เราต้องบริหารจัดการกันด้วยแผนยุทธศาสตร์ ไปจนถึงระดับปฏิบัตินี่ ทำตามหมดเลย เพราะฉะนั้นสังคมของเราเหมือนถูกครอบเอาไว้
  • เราก็เริ่มนำอันนี้เข้าไปบอกว่า ยุทธศาสตร์นี้มันจำเป็นนะ เพราะว่ามันมีการเปลี่ยนแปลงอะไร เพราะฉะนั้น เรามาคิดเชิงยุทธศาสตร์กันดีกว่า
  • ในกรอบของไอเดีย มันจะเป็นกรอบของตอนนี้ใช้กันได้มากขึ้น ก็คือว่า การสร้างยุทธศาสตร์มานี่ตั้งเป้าแล้ว มองว่าคนต้องเปลี่ยนอะไร และสิ่งแวดล้อมต้องเปลี่ยนอะไร ก็เริ่มที่จะมียุทธศาสตร์ของการสื่อสารเป็นยังไง ยุทธศาสตร์ของการสนับสนุนเป็นยังไง ยุทธศาสตร์ของการเป็นเหตุเป็นผลเป็นยังไง งัดยุทธศาสตร์พวกนี้ออกมา ตาม Outcome mapping แล้วนี่
  • เขาก็เริ่มมองเห็นว่า เขาจะทำอะไรต่อ เริ่มระบุได้ว่า ถ้าจะไปทำงานกับกระทรวงนี้ กระทรวงนี้เก่งยุทธศาสตร์ระดับไหน เราน่าจะไปต่อรองกับเขา เอาอะไรมาใช้ในโครงการ
  • เสร็จแล้ว ขั้นสุดท้ายของการวางแผนของแผนที่ผลลัพธ์ มันก็คือ ตัวเองต้องปรับอะไร ลองอ่านดูนะคะ อันนี้เป็นอะไรที่งงที่สุด ทุกคนงงหมดเลย ก็คือว่า ค้นหา สำรวจความคิด โอกาส ทรัพยากรใหม่ ทีมงานตกใจ แล้วมันแปลว่าอะไรล่ะ ฟังเสียงสะท้อน ... แล้วมันอยู่ที่ไหน หาการสนับสนุนอะไร ... เขาไม่เข้าใจ
  • เราก็กลับมาตีความใหม่ และเราก็เอาทุนเดิมของพวกเราว่า จริงๆ แล้ว ตรงนี้ก็ทำเพื่อพัฒนาทีมงาน และก็ไปสอบทานภาคี ว่าเขามี Inform ไหม หาว่าใครอยู่ด้วยกัน และจะไปชวนใครมา และก็มาชี้แจงนโยบายกับผู้ว่า ว่า ท่านเป็นอย่างนี้นะคะ ทีมงานเขาว่าอย่างนี้ ภาคีเขาว่าอย่างนี้ นโยบายที่ท่านผู้ว่าฯ กำหนดมา มันน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมั๊ย ในเวทีนี้ผู้บริหารต้องทำ ผู้บริหารก็กลับมาขยายการเรียนรู้ในสำนักงานฯ สานฝันในการปรับระบบ และก็สื่อสารให้ครบเพื่อสร้างความยั่งยืน และก็สร้างความตื่นเต้นด้วยนวัตกรรม สร้างคุณธรรมความสุขให้ทุกคนที่ร่วมงาน

click ขยายภาพอ่านได้นะคะ

  • นี่ก็คือ การ Empower เจ้าหน้าที่ทุกคนในองค์กร เพราะฉะนั้น หลังจากที่เราแปลงคำยากๆ เชิงวิชาการ ออกมาเป็นคำง่ายๆ ที่เขาจำได้
  • เขาก็เริ่มเข้าใจว่า ข้อไหนเป็นบทบาทของใคร ผลสุดท้ายทุกคนได้ประโยชน์ เพราะว่า ทุกคนมีหน้าที่ไปทำข้อ 5 ถึง ข้อ 7 อะไรพวกนี้ ก็เริ่มที่จะออกมาเป็นแผนได้
  • ตัวแผนจริงๆ มีหน้าตาที่มีทั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ เหมือนที่หน่วยงานทำ แต่ว่า ระบบมันจะเกิดขึ้น และองค์กรก็เริ่มมองเห็นแบบบันทึกต่างๆ โดยเราทำออกมาเป็นแบบบันทึกมีอยู่ 4 ชุด
  • ก็พบว่า ผู้คนก็เริ่มที่จะมองว่า ความจริงแล้วการทำงานร่วมกับผู้อื่นเกิดประโยชน์มากกว่า เพราะทุกคนมุ่งการทำงานสู่ชุมชน ชุมชนก็จะรู้สึกว่าเขาเป็นคนหนึ่ง ของการสร้างระบบการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น Outcome mappinfg จะช่วยเราทั้งในระดับของตัวโครงการ ตัวองค์กร และตัวชุมชน ส่วนใหญ่ของสังคม
  • เพราะฉะนั้นในฐานะที่ไปเป็นคนกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เปลี่ยนการทำงานจากตัวหนังสือ มาเป็นระบบในสังคม เปลี่ยนการทำงานแบบผลงานใคร ผลงานมัน มาเป็น ยินดีด้วยกัน ทุกคนได้ผลงาน เทคนิคของการเปลี่ยนตรงนั้นก็คือการพยายามใช้คำถาม
  • แต่คำถามนั้นต้องเป็นคำถามในเชิงบวก ขออนุญาติใช้คำศัพท์ว่า Appreciative Inquiry แล้วก็ต่อจากนั้น คนที่จะไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ท่านอาจจะมีชื่อใน KM อะไรก็ตามนี่ ตรงนี้เราใช้ concept ของ constructilism คือ เรา break down โมเดลใหญ่ออกมา แล้วไปผสมกับการสื่อสารที่ชัดเจน ภาษาง่ายๆ และให้เขาลองทำ
  • และประเมินพบว่า เขาเริ่มใช้มากขึ้น และที่สำคัญมากคือ ทะเลาะกันน้อยลงกับนอกหน่วยงาน เพราะฉะนั้นถ้าจะทำให้สำเร็จ องค์ประกอบของการใช้ Outcome mapping ในองค์กร ในโครงการนี้จำเป็นที่จะต้องมีคนที่ทำงานใน KM น่ะคะ คุณเอื้อ คุณกิจ คุณลิขิต ต้องครบหมดเลยละค่ะ
  • เพราะว่า จริงๆ และเรามีอยู่ 4 ชีวิต ตัวดิฉันเองไม่ได้ทำเลย นอกจากเป็นคนคิด มนุษย์ช่างคิด แต่คนอื่นเป็นคนช่างเก็บ ดิฉันมาพูดวันนี้ได้ เพราะว่าทีมงานเขาทำให้
  • ต้องขอขอบคุณ ดร.มุกดา คุณวิมล และคุณฉัตรลดา ว่า บังคับให้มาพูดวันนี้ ถ้ามีอะไรตกหล่น ถามทั้ง 3 ท่านเหล่านั้นเลยนะคะ ขอบคุณค่ะ

วันนี้ทีมอาจารย์ก็มาอยู่ด้วยกันครบในห้องประชุมนี้ละค่ะ

รวมเรื่อง ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House  

 

หมายเลขบันทึก: 126365เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2007 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท