TOR PSCM


SCM

ข้อกำหนดการจัดจ้างที่ปรึกษา

โครงการพัฒนาระบบการบริหารเครือข่ายโซ่อุปทานและ Logistic

อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรตามระบบมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร

ภายใต้งบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ ปีงบประมาณ 2549 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม 1

ดำเนินการโดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--------------------------------------------------------------1.              หลักการและเหตุผล อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ โดยมีอัตราการส่งออกมากกว่า 5 แสนล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาถึงศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก ประเทศไทยกลับสูญเสียศักยภาพการแข่งขันโดยมีส่วนแบ่งการตลาดลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ..2538-2543 โดยมีคู่แข่งในภูมิภาคที่สำคัญคือประเทศจีน อินโดนีเซีย และเวียตนาม ภัยคุกคามอีกด้านหนึ่งจากสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา ได้ใช้เรื่องของสุขอนามัยพืช อาทิ ปริมาณสารพิษตกค้างในผลิตผลเป็นข้อจำกัดทางการค้า กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างที่ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และตาก เป็นแหล่งการเพาะปลูกที่สำคัญในเขตภาคเหนือตอนล่าง พืชที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ผลไม้ และพืชผัก แต่จากผลการวิเคราะห์สารตกค้างของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 พบว่ามีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการผลิตทางการเกษตร และได้รับความนิยมจากเกษตรกรอย่างกว้างขวาง ทำให้ธุรกิจด้านสารเคมีทางการเกษตรขยายตัวอย่างรวดเร็ว เป็นต้น ซึ่งเป็นการยากที่จะติดตามควบคุมให้มีการประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และยังพบว่าพืชผักต่างๆ มีสารตกค้างในสินค้าการเกษตรของจังหวัด ได้แก่ พริก คะน้า มะม่วง ลำไย และข้าว  นอกจากนี้พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างกลุ่มที่ 1 ยังขาดกระบวนเพิ่มมูลค่าเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมปรุงและพร้อมบริโภคทำให้มูลค่าที่ควรตกอยู่ในจังหวัดต้องสูญเสียให้กับผู้ผลิตในส่วนกลาง โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งประสบปัญหาวัตถุดิบภาคเกษตรที่ไม่ได้คุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ โดยเฉพาะปัจจุบันลูกค้าต่างประเทศต้องการให้โรงงานแสดงการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตควบคู่กับระบบการควบคุมคุณภาพการผลิตภายในโรงงาน ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มจังหวัดที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ แต่ผู้ผลิตไม่สามารถดำเนินการตามเงื่อนไขคุณภาพที่ผู้นำเข้ากำหนด ได้แก่ กล้วยตาก กล้วยทอดเนย และพริกแดง ทำให้ต้องสูญเสียตลาดไปไม่น้อยกว่าปีละ 100 ล้านบาท ประเด็นที่สำคัญจึงต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการก้าวเข้าสู่ครัวของโลกของอุตสาหกรรมอาหารตลอดโซ่อุปทาน โดยการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเกิดการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายตลอดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่ง การพัฒนาเทคโนโลยีและการผลิตเครื่องจักรเพื่อทดแทนการนำเข้า การพัฒนาเครือข่ายต้องประกอบด้วยผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ร่วมกันผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมในลักษณะเครือข่าย และสร้างระบบการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) และ Logistic การดำเนินงานดังกล่าวจะช่วยให้มีการใช้และจัดสรรทรัพยากรร่วมกัน ทำให้ต้นทุนการผลิตโดยรวมลดลง ซึ่งเป็นวิธีการเสริมสร้างศักยภาพความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารที่มีการเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับหลายผลิตภัณฑ์จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ และต้องระมัดระวังในเรื่องสุขอนามัยไม่เฉพาะแต่ขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์ในโรงงานแปรรูปเท่านั้น ความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของอาหารเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ  ผลผลิตจากไร่นา ถึงปลายน้ำ คือ ร้านค้าปลีก ดังนั้นการควบคุมคุณภาพ ณ จุดใดจุดหนึ่งเพียงอย่างเดียวทั้งในระดับฟาร์มถึงโรงงานอุตสาหกรรมจึงน่าจะไม่เพียงพอ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรและเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการฟาร์ม การใช้ปุ๋ย ยา เมล็ดพันธ์ ต่างๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ และสร้างความมั่นใจให้กับ ลูกค้า แต่อย่างไรก็ตามผลการดำเนินการที่ผ่านมา โรงงานอุตสาหกรรมอาหารหลายโรงงานประสบปัญหาการบริหารจัดการฟาร์ม โดยเฉพาะกับกลุ่มเกษตรกรที่ยังไม่เข้าใจและเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการดังกล่าวและโรงงานเองก็ไม่สามารถชี้แจงให้เกษตรกรเข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการในรายละเอียดปลีกย่อยเรื่องการบันทึกเอกสารการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่จะสร้างหลักประกันคุณภาพให้กับลูกค้าได้ จากปัญหาดังกล่าวศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริหารเครือข่ายโซ่อุปทาน และ Logistic อุตสาหกรรมอาหารตามระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัย ภายใต้ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างกลุ่มที่ 1 เพื่อให้มีการตรวจสอบรับรองระบบผลิตตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงการตรวจสอบรับรองสารพิษตกค้างในผลผลิตของเกษตรกร และสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการค้าและบริการ ให้เกิดการรวมกลุ่มและจัดตั้งเครือข่ายอุตสาหกรรมอาหาร GAP ภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 1  และดำเนินการสร้างระบบการจัดการระบบโซ่อุปทานอาหาร (Food Supply Chain) สร้างมาตรฐานการสอบกลับ (Tractability) และระบบ Logistic ที่มุ่งการส่งมอบอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ 12.              วัตถุประสงค์ของโครงการ2.1          เพื่อเป็นหน่วยงานหลักภาครัฐในการเป็นแกนนำด้านการพัฒนาระบบการจัดการโซ่อุปทานอุตสาหกรรมอาหารพร้อมปรุง/พร้อมบริโภค  ในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างกลุ่มที่  1   ที่สามารถสร้างผู้ประกอบการให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นผู้ชำนาญในการผลิตและการกระจายผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูป  พร้อมปรุง/พร้อมบริโภคอย่างแท้จริง2.2          เพื่อการเป็นแกนกลางในการจัดฝึกอบรม  การถ่ายทอดความรู้ และคำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการจัดการโซ่อุปทาน  และระบบต่อเนื่องเช่น  ระบบการกระจายสินค้า  ระบบ Logistic และระบบมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า เช่น มาตรฐาน มอก., มกอช., ISO.,HACCP GMP และ HALAL2.3          เพื่อเป็นศูนย์ประสานการให้บริการและวางระบบการตลาดตลอดห่วงโซ่อุปทาน พร้อมทั้งการตรวจสอบ ป้องกัน  และให้ความรู้แก่ร้านค้าเคมีเกษตร  มิให้จำหน่ายสินค้าต้องห้าม และจัดระเบียบการจัดสินค้าให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด2.4          เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมและบริการข้อมูลสารสนเทศระบบการจัดการโซ่อุปทาน ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและเรียนรู้การนำระบบสารสนเทศที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจ3.              กลุ่มเป้าหมายของโครงการ3.1          ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม  SMEs  จำนวน  40  ราย3.2          เกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรในระบบการจัดการโซ่อุปทานจำนวน 80  ราย3.3          หน่วยงานภาครัฐ  ภาคอุตสาหกรรม  องค์กรเอกชน  และสถาบันการศึกษาจำนวน  50  ราย4.              ผลลัพธ์ที่ต้องการ4.1          จำนวนผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคเกษตรที่เข้าร่วมโครงการและได้รับการถ่ายถอดความรู้(การฝึกอบรม สัมมนา และการให้คำปรึกษาแนะนำ)ในการจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรแปรรูป ตามมาตรฐานความปลอดภัยอาหารและ Logistics ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย 3.1และ 3.2 มีการลงทุนหรือขยายการลงทุน หรือสามารถลดต้นทุน หรือสามารถรักษาธุรกิจเดิม4.2          จำนวนผู้ได้รับบริการข้อมูลสารสนเทศ และการถ่ายทอดความรู้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ปีละไม่ต่ำกว่า 160 ราย5. เครื่องชี้วัดความสำเร็จของโครงการ5.1          ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม SMEs ได้รับการถ่ายทอดความรู้ในการจัดการโซ่อุปทาน จำนวน 40 ราย5.2           เกษตรกรผู้ปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ และ GAP ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องระบบการจัดการโซ่อุปทานจำนวน 80 ราย5.3          บุคลากรภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม องค์กรเอกชน และสถาบันการศึกษา ที่ให้บริการสนับสนุนกับผู้เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องระบบการจัดการโซ่อุปทาน จำนวน 50 ราย5.4          ผู้ได้รับการถ่ายทอดความรู้ในการจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรแปรรูปตามมาตรฐานความปลอดภัยอาหารมีการลงทุนหรือขยายการลงทุน หรือสามารถลดต้นทุน คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 8 หรือสามารถรักษาธุรกิจเดิม6.  รายละเอียดข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้ยื่นเสนองาน6.1          ที่ปรึกษาต้องเป็นองค์กร สถาบันการศึกษา หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนบริษัทมาแล้วไม่น้อยกว่า  5  ปี   ในวันที่ยื่นเสนอราคา และต้องยื่นสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ที่รับรองโดยกระทรวงพาณิชย์(ไม่เกิน 6 เดือนในวันที่ยื่นเสนอราคา) บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น(ฉบับปัจจุบัน) และสำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง6.2          ที่ปรึกษาต้องจดทะเบียนกับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลังประเภท A พร้อมแนบสำเนาหนังสือรับรองผ่านการจดทะเบียน ยกเว้นสถาบันการศึกษาซึ่งได้รับสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการให้บริการด้านวิชาการและการวิจัย โดยไม่ต้องจดทะเบียนกับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา6.3          ที่ปรึกษาต้องมีประสบการณ์ในการฝึกอบรม และการให้คำปรึกษาแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโซ่อุปทาน และ Logisticsให้แก่วิสาหกิจในทุกระดับ พร้อมแนบหลักฐานแสดงประสบการณ์ดังกล่าว รวมทั้งรายละเอียดด้านความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าร่วมดำเนินการ6.4          ที่ปรึกษาต้องมีประสบการณ์ในการฝึกอบรม ให้คำปรึกษาแนะนำและส่งเสริมการจัดการโซ่อุปทาน หรือ มาตรฐานการเชื่อมโยงระบบการจัดการโซ่อุปทานแก่องค์กร หรือหน่วยงานของรัฐที่ส่งเสริมการจัดการ Logistic หรือ การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) พร้อมแนบหลักฐานแสดงประสบการณ์ดังกล่าว โดยจะต้องแนบเอกสารและ/หรือ แนบสัญญาการเข้าให้คำที่ปรึกษา และความรู้ด้านการจัดการโซ่อุปทาน แก่ SMEs และ/หรือผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เป็นองค์กรให้คำปรึกษาแนะนำที่เกี่ยวข้องกับกับการสนับสนุนประสิทธิภาพของการจัดการ Logistic และ โซ่อุปทาน6.5          ที่ปรึกษาต้องมีหัวหน้าคณะที่ปรึกษาที่เป็นผู้ชำนาญการด้านการจัดการโซ่อุปทานและ Logistics ซึ่งมีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมีวุฒิบัตรหรือหลักฐานการรับรองความรู้ด้านการให้คำปรึกษาแนะนำการจัดการโซ่อุปทานและ Logistics จากองค์กรทั้งในและ/หรือต่างประเทศ เพื่อจะให้คำปรึกษาแนะนำแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล6.6          บริษัทที่ปรึกษา จะต้องเสนอรายละเอียดของเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าร่วมดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำโดยต้องมีสมบัติดังนี้6.6.1       สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในสาขาบริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์  วิศวกรรมศาสตร์ และมีประสบการณ์ในการให้คำแนะนำด้านการจัดการโซ่อุปทานมาไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือสาขาอื่นที่มีหลักสูตรการจัดการโซ่อุปทาน และ Logistics 6.6.2 ที่ปรึกษาต้องแนบรายละเอียดหลักฐานที่แสดงข้อกำหนดในข้อ 6.6.1 ดังนี้1)            ประวิติส่วนตัว2)            ความชำนาญและหน้าที่รับผิดชอบในปัจจุบัน3)            ประสบการณ์ทำงานหลังสำเร็จการศึกษาและการฝึกอบรม (ถ้ามี)6.7          ที่ปรึกษาจะต้องกำหนดชื่อหัวหน้าคณะที่จะเข้าให้คำปรึกษาแนะนำ และนำเสนอรายละเอียดของที่ปรึกษา (ตามข้อ 6.6.2) ให้เหมาะสม รวมทั้งกำหนดสัดส่วนของการจัดสรรที่ปรึกษาที่จะให้คำปรึกษาแนะนำอย่างมีคุณภาพ แก่วิสาหกิจจำนวนไม่น้อยกว่า 6 รายอย่างชัดเจน6.8          ตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการบริษัทที่ปรึกษาไม่สามารถเปลี่ยนที่ปรึกษาหลักที่ผ่านการพิจารณาของผู้ว่าจ้างแล้ว ยกเว้น กรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวที่ปรึกษา ซึ่งที่ปรึกษาจะต้องเสนอขออนุมัติเปลี่ยนที่ปรึกษาเป็นลายลักษณ์อักษรกับคณะกรรมกำกับการว่าจ้างที่ปรึกษา  และที่ปรึกษาใหม่จะต้องมีคุณสมบัติไม่ต่ำกว่าที่ปรึกษาเดิม7.  ขอบเขตและวิธีการดำเนินงานโครงการ เพื่อให้การฝึกอบรม การให้คำปรึกษาแนะนำ และการพัฒนาระบบการจัดโซ่อุปทานและ Logistics บรรลุตามประสงค์  กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะจัดจ้างบริษัท หรือ องค์กร ที่มีความรู้และประสบการณ์โดยมีขอบเขตและวิธีการดำเนินการ  ดังนี้7.1   กิจกรรมถ่ายทอดความรู้เรื่องระบบการจัดการโซ่อุปทานและ Logistics อุตสาหกรรมอาหารตามมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำถึงการแปรรูปและหน่วยงานผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับความรู้และตระหนักถึงความจำเป็น ในการเสริมสร้างศักยภาพความสามารถการแข่งขันด้วยระบบการจัดการสมัยใหม่ รายละเอียดเอกสารแนบ 17.2          กิจกรรมปรับปรุงระบบการผลิตและระบบประกันคุณภาพ เพื่อให้ได้รับการตรวจรับรอง มาตรฐานโรงงานตามข้อกำหนดมาตรฐานอาหารปลอดภัยและ/หรือมาตรฐานสากลที่ประเทศคู่ค้าต้องการ เช่น GAP, GMP, HACCP และ ISO รายละเอียดเอกสารแนบ 27.3          กิจกรรมสร้างระบบการจัดการและการเชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ตั้งแต่ในระดับฟาร์มถึงคู่ค้า เพื่อให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นการผลิตรวมของระบบ และการสร้างระบบ Logistics โดยที่ปรึกษาจะต้องสร้างระบบการจัดการและการเชื่อมโยงดังกล่าว พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้และการเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานและการเสริมสร้างประสบการณ์ด้วยการศึกษาดูงานทั้งภายในประเทศ รายละเอียดเอกสารแนบ 37.4          กิจกรรมวางระบบและพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศโซ่อุปทาน และ Logistics ภายในโซ่อุปทานอาหารอย่างน้อย 1 ระบบ เพื่อให้การไหลเวียนข้อมูลภายในโซ่อุปทานมีประสิทธิภาพ รายละเอียดเอกสารแนบ 47.5          ที่ปรึกษาต้องจัดทำเอกสาร เสนอโครงการครอบคลุมผลผลิตตัวชี้วัดผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการพัฒนาระบบการบริหารเครือข่ายโซ่อุปทานและ Logistics ฯ ตามที่กำหนดไว้ในแต่ละกิจกรรม8. ระเบียบการเสนอโครงการที่ปรึกษาผู้เข้ายื่นเสนองานครอบคลุมขอบเขต วิธีการดำเนิน การเชิงบูรณาการและการเชื่อมโยงสอดคล้องกันครบทุกกิจกรรมในข้อ 7 โดยต้องจัดทำเอกสารเสนองานออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้8.1 ซองข้อเสนอด้านเทคนิค ซึ่งบรรจุข้อเสนอด้านเทคนิคจำนวน 5 ชุด ในซองปิดผนึกและระบุไว้หน้าซองว่า ข้อเสนอด้านเทคนิคโดยข้อเสนอด้านเทคนิคประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้8.1.1       โครงสร้างการบริหาร พร้อมทั้งระบุผู้รับผิดชอบและที่ปรึกษาหลักในแต่ละกิจกรรม8.1.2       วิธีการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ในข้อ 3 โดยระบุรายละเอียดของสื่อ วิธีการที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ เช่น ประเภทสื่อ  จำนวนครั้ง เป็นต้น8.1.3       รายละเอียดแสดงวิธีและขั้นตอนในการดำเนินงาน จำนวนครั้ง/ระยะเวลาดำเนินการ เช่น การฝึกอบรมควรต้องแสดงหัวข้อวิชา กรอบเนื้อหาวิชา วิธีการฝึกอบรม และให้บริการปรึกษาแนะนำ วิทยากร  และกิจกรรมเสริมที่จัดขึ้น เพื่อให้การอบรมมีความสมบูรณ์และบรรลุตามวัตถุประสงค์  รวมทั้งแผนการดำเนินงาน/กระบวนการในการให้คำปรึกษาแนะนำของที่ปรึกษา8.1.4       แผนและวิธีการดำเนินงานตลอดโครงการ ฯ ระยะเวลาดำเนินงานโครงการ ผู้รับผิดชอบหลัก สูตรและแต่ละกิจกรรม รายนามวิทยากร คณะที่ปรึกษา (โดยระบุคุณสมบัติและประสบการณ์) โปรดระบุรายละเอียดหน่วยงานที่รับผิดชอบที่สามารถติต่อ/ประสานงาน ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ได้แก่ ที่อยู่ โทรศัพท์ โทรสาร และ e-mail เป็นต้น8.1.5       รายงานการติดตามผล (กลไกการติดตามและกำหนดดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโครงการฯ) โดยระบุรายละเอียดการจัดตั้งธุรกิจ เช่น จำนวนเงินลงทุนและภาพถ่ายต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องสถานที่ประกอบการ เป็นต้น8.1.6       เสนอวิธีการคัดเลือกโรงงานที่จะให้คำแนะนำการจัดการโซ่อุปทานมาใช้ปฏิบัติ8.1.7       เสนอรายละเอียดของวิธีการศึกษาและวิเคราะห์ก่อนเข้าปรึกษาแนะนำ8.1.8       เสนอรายละเอียดของกำหนดการให้คำปรึกษาแนะนำการจัดการโซ่อุปทานและ Logistics ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยให้อยู่ภายใต้ขอบเขตและวิธีการพัฒนาระบบการจัดการและการเชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ตั้งแต่ในระดับฟาร์มถึงคู่ค้า และกิจกรรมวางระบบและพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศโซ่อุปทาน และ Logistics ภายในโซ่อุปทานอาหารโครงการ ฯ8.1.9       เสนอวิธีการให้เกิดกรณีตัวอย่างในการนำเอาการจัดการโซ่อุปทานมาใช้ในธุรกิจ8.1.10เสนอวิธีวิเคราะห์ผลและตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการหลังจากมีการพัฒนา โดยให้สอดคล้องกับผลผลิต,ผลลัพธ์ของกิจกรรม8.1.11ให้คำปรึกษาแนะนำกับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 ในการสนับสนุนให้องค์กรเอกชน ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม และสถาบันศึกษา มีการจัดตั้งเครือข่ายการจัดการโซ่อุปทานสินค้าเกษตรแปรรูปในในพืชหลักอย่างน้อย 3 ชนิด คือ พริก มะม่วง กล้วย และ/หรือพืชหลักอื่นที่มีศักยภาพ โดยให้การสนับสนุนกิจกรรมการรวมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโซ่อุปทานรวมไปถึงการถ่ายทอดความรู้และติดตามให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายที่เป็นรูปธรรมและสามารถบริหารจัดการโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง8.2 ซองข้อเสนอด้านราคา ซึ่งบรรจุข้อเสนอด้านราคาจำนวน 1 ชุด ในซองปิดผนึกและระบุไว้หน้าซองว่า ข้อเสนอด้านราคาโดยข้อเสนอด้านราคาประกอบด้วยรายละเอียดเงื่อนไข เนื้องาน และระยะเวลาในการเบิกจ่ายค่าจ้าง ตลอดระยะเวลาดำเนินงานฯ เป็น 4 งวด  ดังนี้งวดที่ 1  สามารถเบิกจ่ายได้   20 %  ของค่าจ้างทั้งหมด (ระบุเนื้องาน)งวดที่ 2  สามารถเบิกจ่ายได้   30 %  ของค่าจ้างทั้งหมด (ระบุเนื้องาน)งวดที่ 3  สามารถเบิกจ่ายได้   30 %  ของค่าจ้างทั้งหมด (ระบุเนื้องาน)งวดที่ 4  สามารถเบิกจ่ายได้   20 %  ของค่าจ้างทั้งหมด (ระบุเนื้องาน)หมายเหตุ : -  การเบิกค่าจ้างแต่ละงวด  จะต้องมีเนื้องานครอบคลุมตามช่วงระยะเวลาดำเนินการ-  จังหวัดพิษณุโลก จะหักเ
หมายเลขบันทึก: 126295เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2007 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท