BSC เชื่อมกับแผนกลยุทธ์ได้หรือไม่


เป็นแนวคิดการเชื่อม BSC เข้ากับแผนกลยุทธ สำหรับแนวทางต้องใช้ความเป็น HR มืออาชีพ

ในโลกแห่งการแข่งขันนั้น  องค์กรต้องมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์มองการไกล ต้องมี HR ที่เป็นมืออาชีพเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในการวางแผนกลยุทธ์  เพื่อนำพาองค์กรสู่การแข่งขันและอยู่รอด  แนวคิดเพื่อการอยู่รอดนั้น  จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่าคุ้มทุน (Utilization management) ซึ่งดิฉันคิดว่าสามารถนำ BSC มาเป็นแนวทางในการมองประเด็น วางแผนกลยุทธ์และประเมินผลการจัดการตามแผนกลยุทธขององค์กรได้  โดยในการบริหารจัดการต้องให้เกิดความสมดุลในทุกมุมมอง  โดยผู้บริหารต้องสามารถมองภาพทุกมุมมองได้อย่างบูรณาการ องค์รวมและเป็นระบบ (integration holistic and system dynamic)

ในมุมมองลูกค้าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด   การส่งมอบคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นต้องตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลัก  เพราะผู้ที่บอกถึงคุณค่าคือผู้รับมิใช่ผู้ให้  

ในมุมมองด้านกระบวนการภายใน ต้องมีการระบบบริหารจัดการที่ชัดเจนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์กร ในอนาคตองค์กรที่จะประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรใหญ่  แต่ควรเป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการเป็นแนวราบ (flat organisation) มีการกระจายแลเสริมพลังอำนาจ (empowerment) เพื่อการตัดสินใจที่รวดเร็วรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทุกๆ วินาที   กระตุ้นและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเพิ่มคุณค่าทั้ง product , process  หรือ service ขององค์กรสู่การแข่งขันในตลาดที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก

มุมมองด้านการเรียนรู้นั้นต้องมีการหา Talent หา best practice หาเครื่องมือมาสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นองค์กร  ในปัจจุบันหลายๆองค์กรให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ในองค์กร   มีจัดเวทีในการ share knowledge เป็น community of practice (CoP)  เพื่อดึง tacit knowledge ออกมา และมีการจัดเก็บสินทรัพย์ความรู้ (knowledge asset) อย่างเป็นระบบ ง่ายต่อการเข้าถึงองค์ความรู้ที่เป็น explicit knowledge  สะดวกต่อคนรุ่นหลัง (knowledge access)  เกิดการเรียนรู้ร่วมกันทั่วทั้งองค์กรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  (learning organization)

นั่นคือต้องสร้างให้คนในองค์กรมี personal mastery พัฒนาสู่  life long learning   พร้อมที่จะ share vision ในองค์กร เกิด  team learning บนพื้นฐานการมีความคิดอย่างเป็นระบบ (system thinking)  และเปิดใจยอมรับความเปลี่ยนแปลงและความคิดเห็นของผู้อื่น (mental model)  

ในขณะเดียวกันมุมมองด้านการเงินก็เป็นจุดที่ไม่ควรมองข้าม  การปรับกระบวนการภายใน   ไม่ว่าจะเป็นการลดคน  ลดงาน ลดกระบวนการ  หรือแม้แต่การ Outsource  สิ่งเหล่านี้จะเป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มรายได้การลดต้นทุนขององค์กรลงได้   ซึ่งต้องอาศัยนัก HR  มืออาชีพในการวิเคราะห์แนวโน้มและวางแผนกลยุทธ์ที่ดีต่อไป

ความสำคัญของนัก HR คือการเข้าไปเป็นหุ้นส่วนในการวางแผนกลยุทธ์โดยต้องแสดงบทบาทและสมรรถนะของตนให้เป็นที่ปรากฏสมเป็น HR professional   ซึ่งนับเป็นสิ่งท้าทายสำหรับหนัก HR ทุกคนที่ต้องไปให้ถึงแนวโน้มและความท้าทายดังกล่าว    ................................................ 

คนีงนิจ อนุโรจน์

หมายเลขบันทึก: 126232เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2007 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 09:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท