เว็บไซต์กับความเหมาะสมในการใช้งาน


วันนี้ผมมีโอกาสได้ร่วมประชุมอันหนึ่งซึ่งรู้สึกสนุกเป็นอย่างมาก ผู้ร่วมประชุมต่างมีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการสนธิความรู้ ได้ประเด็นดีๆ มามากมาย

แต่ก็มีประเด็นหนึ่งที่ผมติดใจเป็นพิเศษ คือประเด็นของความเหมาะสมในการใช้งาน (usability)

ไม่มีประโยชน์อะไรเลย หากเรา:

  • มีเว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยข้อมูล แต่ผู้ใช้หาอะไรไม่เจอ
  • มีบริการที่ผู้ใช้ไม่รู้ว่าจะใช้ได้อย่างไร ใช้แล้วได้อะไร
  • มีเว็บที่สวยงาม แต่โหลดช้าจนผู้ใช้เบื่อไม่อยากคอย แล้วก็หนีไปเว็บไซต์อื่น
ไม่ว่าเราจะมี web services หรือเขียนโปรแกรมด้วยเทคนิคชั้นสูงเพียงใดก็ตาม หากไม่มีผู้ใช้ หรือผู้ใช้ไม่รู้จะใช้งานอย่างไร สิ่งที่ทุ่มเททำมา ก็สูญเปล่าครับ เปลืองทั้งเงิน เปลืองทั้งกำลัง เปลืองทั้งเวลาครับ
คำสำคัญ (Tags): #usability#hci
หมายเลขบันทึก: 126175เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2007 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
โอ้โห ประชุมเรื่องเดียวกันอย่างไม่น่าเชื่อค่ะ วันนี้พึ่งจะประชุมกับมหาวิทยาลัยตั้งแต่ 10.00-12.45 เรื่องการจัดทำหน้าตา และการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เข้าใช้งานและระบบ CMS

คือ...สรุปเหมือนกันเดี้ยะทั้งสามข้อ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ^ ^ แต่ที่มีข้อคุยกันนอกเหนือคือ เรื่องความร่วมมือของบุคลากรในการเผยแพร่ข้อมูล และให้ความสำคัญกับความสม่ำเสมอในการปรับปรุงข้อมูลใหม่ รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้ดูแลข้อมูลต้องหมั่นอัพเดทสิ่งที่ได้รับมา สองอันหลังนี่เป็นปัญหาของหน่วยงานราชการที่พบประจำค่ะ
  • สวัสดีครับ
  • มาเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

ผมเองเชื่อโดยส่วนตัวว่า...

         web = design x usability

ใคร design เต็ม แต่ usability ศูนย์ web นั้น ก็ "สูญเปล่า" ดังที่ทุกท่านว่ามา

ผมเคยเจอ...

  • เว็บลูกเล่นแพรวพราว ที่ทำให้เครื่องผู้ใช้แฮงค์ได้ภายในไม่เกิน 1 นาที
  • เว็บอลังการ (ใหญ่ ยักษ์ แต่เนื้อหานิดเดียว คือ คลิกเพื่อเข้าสู่หน้าหลัก โผล่มาให้คลิก หลังผ่านไปแล้ว 5-10 นาที) หรือใช้เวลาโหลดเกินครึ่งชั่วโมง แต่ถ้าใช้วิธีโหลด text file ใช้เวลา 1-2 วินาที ก็ได้ข้อมูลเท่ากัน
  • เว็บสวย แต่อ่านไม่ออก ถ้าไม่ใช้แว่นขยายกำลังสูงมาช่วย
  • ฯลฯ

Programmer: 

        design = 100;

usability = 0;

web = design * usability;

print web

reboot

 

คำสั่ง reboot ไม่มีอยู่ในภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาอะไรทั้งนั้นครับ แต่เป็นการกระทำที่โปรแกรมเมอร์ทุกคนรู้จัก แปลกดีไหมครับ 

การเขียนโปรแกรมเหมือนงานวิจัย เหมือนการผจญภัย แม้มีจะเป้าหมายที่ชัดเจน แต่ก็ไม่มีใครรู้ว่าผลลัพท์จะออกมาเป็นอย่างไร และจะต้องผ่านอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเตรียมตัวอย่างไร ก็ไม่มีทางครอบคลุมได้ทั้งหมด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท