ตัวอย่างวิกฤตการณ์ต่าง ๆ จากภาวะโลกร้อน


ภาวะโลกร้อน (Global Warming)

ตัวอย่างวิกฤตการณ์ต่าง ๆ จากภาวะโลกร้อนจากทั่วโลก

  1. ทะเลเหือดแห้ง  "ทะเลอารัล" ที่สูญสิ้นไปหมดแล้ว เหลือไว้เพียงซากประมงถูกทิ้งไว้กลางผืนทรายแห้งแล้ง ไม่เห็นน้ำสักหยดในปี 1990 จาก An Inconvenient Truth ซึ่งเขียนขึ้นโดย อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ผู้ผันตัวมาเป็นนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเต็มตัว  อัล กอร์ บอกว่า กรณีทะเลอารัลคือผลการไม่คำนึงถึงธรรมชาติอาจก่อให้เกิดผลกระทบใหญ่ สหภาพโซเวียต ผันน้ำของแม่น้ำใหญ่สองสายจากเอเชียกลาง ได้แก่ แม่น้ำอมูดาร์ยา และไซร์ดาร์ยา ที่เคยหล่อเลี้ยงทะเลอารัล นำไปใช้ในการชลประทานไร่ฝ้าย ที่สุดทะเลอารัลก็เหือดแห้ง เหลือเป็นเพียงอนุสรณ์สถานแก่โลกปัจจุบัน (ที่มา : http://www.matichon.co.th
  2. เอลนีโญส่งผลทะเลไทย น้ำเย็นลงมีตะกอนขุ่นทำให้คัน  ปรากฏการณ์เอลนีโญจากภาวะโลกร้อนส่งผลให้ธรรมชาติใต้ท้องทะเลอันดามันเปลี่ยนแปลง น้ำทะเลเป็นน้ำเย็นมีตะกอนขุ่น นักท่องเที่ยวเริ่มย้ายจุดดำน้ำลึกจากอันดามันใต้ไปเหนือ เพราะดำน้ำแล้วมีอาการคันตามผิวหนังและปะการังอ่อนที่สวยงามเริ่มเหี่ยวเฉา ทะเลอันดามันน้ำเย็น มาจากน้ำที่อยู่ในทะเลลึกเคลื่อนที่เข้าสู่พื้นที่ใกล้ฝั่ง ซึ่งน้ำนอกจากเย็นแล้วยังขุ่นมีตะกอนจากทะเลลึก ซึ่งเดิมไม่เคยเข้ามาในเขตตื้น แต่มากับมวลน้ำเย็น และตะกอนนี้มีธาตุอาหารจำนวนมาก ทำให้แพลงก์ตอนที่อยู่ในเขตน้ำตื้นเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว นักท่องเที่ยวที่ไปว่ายน้ำหรือดำน้ำจะรู้สึกว่า น้ำเย็น น้ำขุ่นและคัน เพราะแพลงก์ตอนบางตัวมีพิษแต่ไม่อันตรายถึงชีวิต นอกจากนี้ แพลงก์ตอนทำให้มีสัตว์น้ำขนาดใหญ่และสัตว์น้ำแปลกๆ ตามเข้ามา เช่น กระเบนราหู (ที่มา : http://www.thairath.co.th:80/)
  3. วิปริตโลกร้อน อเมริการ้อนตับแลบ อาร์เจนตินาหิมะตก  เกิดปรากฏการณ์ประหลาดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบเกือบร้อยปี เมื่อหิมะตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมงหลายพื้นที่ในกรุงบูเอโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา เมื่อวันที่ 9 ก.ค.50 ที่ผ่านมา บางแห่งมีหิมะตกหนักจนมองเห็นเป็นสีขาวโพลนที่ปกคลุมอยู่ทั่วไป สภาพอากาศที่หนาวเหน็บ ทำให้ชาวบูเอโนสไอเรสตกตะลึงไปตามๆ กัน เพราะเป็นครั้งแรกที่มีหิมะตกนับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2461 เป็นต้นมา ในส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ในทวีปเดียวกันแต่อยู่ทางตอนเหนือ กลับประสบปัญหาสภาพอากาศร้อนจัดจากคลื่นความร้อนแผ่ปกคลุม ทั้งที่นครนิวยอร์กและที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประชาชนต้องหาวิธีต่างๆ เพื่อดับร้อน ขณะที่ไฟป่าในพื้นที่ทางตะวันตกยังคงเผาผลาญสร้างความเสียหายหลายรัฐ ทั้งที่แคลิฟอร์เนีย เนวาดา ยูทาห์ วอชิงตัน โคโลราโด โอเรกอน และมอนแทนา โดยอุณหภูมิสูงสุดอาจเพิ่มขึ้นถึง 38 °C  (ที่มา : http://www.komchadluek.net/)
  4. พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา (Hurricane Katrina) คือพายุเฮอร์ริเคนที่รุนแรงและสร้างความเสียหายที่สุด ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ถูกจัดความรุนแรงตาม มาตราเฮอร์ริเคนในประเภทที่ 5 ถือว่ารุนแรงที่สุด สร้างความเสียหายมหาศาลให้แก่ชายฝั่งด้านตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ทางตอนใต้ของประเทศ เมืองนิวออร์ลีนส์ในมลรัฐลุยเซียนา ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2548 พายุดังกล่าวกินเนื้อที่ความเสียหายประมาณ 233,000 ตารางกิโลเมตร  ทำให้คนประมาณห้าล้านคนไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องใช้เวลาแก้ไขประมาณ 2 เดือน  (ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki)    การเกิดพายุเฮอร์ริเคน "แคทรีนา" และเฮอร์ริเคน "ริตา" ที่มีกำลังรุนแรงเชื่อมโยงกับการละลายของน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือ ทำให้เปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของความชื้นและลม  โลกร้อนทำให้เกิดพายุเฮอร์ริเคนอย่างไร?  พายุเฮอร์ริเคนเกิดในบริเวณที่อุณหภูมิสูง เรือนกระจกทำให้มหาสมุทรร้อนขึ้นเท่ากับว่าเติมเชื้อให้กับพายุเฮอร์ริเคนและทำให้มีกำลังแรงขึ้น  ก่อนที่พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาจะถล่มสหรัฐอเมริกานั้น อุณหภูมิของผิวทะเลในอ่าวเม็กซิโกสูงที่สุดในรอบ 100 ปี วัดได้ 79 °F ที่ความลึก 150 เมตร ยิ่งไปกว่านั้นยังไม่เคยเกิดเฮอร์ริเคนที่มีกำลังแรงระดับ 5 สองลูกซ้อนในฤดูเดียวกันและในที่เดียวกันอีกด้วย โอกาสที่จะเกิดพายุเฮอร์ริเคนที่มีความรุนแรงและมีจำนวนมากขึ้นในอนาคตมีสูงมาก (ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน 15 ตุลาคม 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 10080 และhttp://www.vcharkarn.com/)

 

รูปภาพจาก http://www.komchadluek.net/

หมายเลขบันทึก: 126132เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2007 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อีกไม่นานเกินรอ หิมะจะตกที่หน้าบ้านเรา

แม่น้ำเจ้าพระยาจะกลายเป็นน้ำแข็ง

พวกเราไม่มีใครอยากเห็นมันหรอกครับ

แต่คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ถ้าทุกคนยังไม่ลงมือทำอะไรซักอย่าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท