ฉีดยาแบบมืออาชีพ


แต่การจะบอกให้แก้ไขเราต้องทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจเหตุผลและประโยชน์ที่จะได้รับ การเปรียบเทียบโดยใช้ภาพในชีวิตประจำวันช่วยให้เข้าใจและจดจำได้ดีเสมอ

หลายคนต่างพูดเสมอว่า" พยาบาลฉีดยาเก่งไม่ค่อยเจ็บ " เราเองคัน....ปากอยากบอกว่าความจริงว่า     ไม่ใช่ทุกคนหรอกค่ะที่เก่ง   เก่งเฉพาะคนที่มีทักษะและสนใจเรียนรู้พัฒนาเทคนิคของตนจากประสบการณ์ที่ตนปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ   จริงๆพวกเราก็ไม่อาจเรียกตัวเองว่าเป็นมืออาชีพได้หรอกเพราะเขาชมเราครึ่งทางแค่วิธีฉีดเท่านั้น  ซึ่งเราไม่มีโอกาสติดตามผลหลังฉีดเพราะต่างกลับออกจากเราไปโดยเราไม่รู้ว่าหลังฉีดไม่เจ็บในครั้งนั้นกล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดตรงนั้นเขียวช้ำเป็นไตเกิดอักเสบบ้างหรือไม่ในรายที่เป็นCASE  OPD

ความจริงเรามีนักฉีดยามืออาชีพที่พวกเราพยายามปลุกปั้นครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อหวังชิงชัยในตนเองให้ลดระดับน้ำตาลที่สูง ดูเป็นการแข่งขันที่น่าสนับสนุนยิ่งเพราะมีแต่ให้คุณประโยชน์ล้วนๆถ้าทำดีมีแต่ได้  ก็ผู้เป็นเบาหวานของเราที่ฉีดอินซูลินไงคะ  ซึ่งมีทั้งมือใหม่  มือเก่า และมืออาชีพ  ตัวดิฉันขณะนี้ก็กำลังพยามยามฝึกฝนตนเองให้เป็นพี่เลี้ยงมืออาชีพอยู่ทุกวัน  ปัญหาส่วนใหญ่มักอยู่ที่มือใหม่ ที่ยังฉีดไม่เข้าใจเทคนิค   และมือเก่าที่ยังไม่เชี่ยวชาญเพียงพอจะเป็นมืออาชีพ 

 ระยะนี้ดิฉันพบมือเก่าหลายรายที่ตกหล่นเทคนิคเล็กๆน้อยๆ   แต่มีผลทำให้BSสูงแพทย์ส่งมาทบทวนการฉีดยา พบว่าเป็นเรื่องเดินยาเร็ว ซึ่งเราจะค้นหาข้อผิดพลาดได้ด้วย 2 วิธีคือ

1. เราต้องให้ผู้เป็นเบาหวานฉีดยาให้ดูทุกครั้งที่FUโดยอาจจะให้ทดลองกับอุปกรณ์สอนฉีดยาหรือถ้ามีโอกาสเห็นตอนฉีดจริงจะยิ่งดี    ให้สังเกตุทุกขั้นตอนของการฉีดด้วยตัวพี่เลี้ยงเอง 

2.สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ต้องสำรวจผิวหนังบริเวณหน้าท้องที่ฉีด  ถ้าปกติไม่มีรอยเขียว รอยนูนหมายถึงผลการฉีดประสบความสำเร็จอีกส่วน

แต่การจะบอกให้แก้ไขเราต้องทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจเหตุผลและประโยชน์ที่จะได้รับ  การเปรียบเทียบโดยใช้ภาพในชีวิตประจำวันช่วยให้เข้าใจและจดจำได้ดีเสมอ   ซึ่งดิฉันใช้วิธีการรดน้ำต้นไม้เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ  ถ้าเดินยาเร็วเหมือนเราเปิดน้ำแรง แรงน้ำจะกระแทกดินกระจายบางส่วนสะท้อนกลับมาทำให้เปียกตัวเราด้วย เปรียบเหมือนการเดินยาเร็วทำให้เกิดแรงดันมากไปกระแทกเนื้อเยื่อทำให้ชอกช้ำพอวันรุ่งขึ้นเื้อก็เขียวทิ้งไว้หลายก็กลายเป็นไตแข็ง  แล้วถ้าฉีดยาไปโดนเนื้อที่เป็นไตแข็ง   ยาก็จะดูดซึมไม่ดีมีแต่ให้โทษ    ถ้าเปิดน้ำให้ไหลช้า  น้ำจะค่อยๆซึมลงดินไม่ทำให้เกิดความเสียหาย ยาก็จะดูดซึมเข้าไปทำหน้าที่ได้สมบูรณ์บนเนื้อเยื่อที่ปกติ

ยุวดี   มหาชัยราชัน

หมายเลขบันทึก: 12604เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2006 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท