การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น


      ผมได้ไปเป็นวิทยากรเรื่อง  “การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในหลักสูตร “นักบริหารท้องถิ่นระดับสูง” รุ่นที่ 5 จัดโดยสถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เมื่อ 16 มกราคม 2549 ได้นำเอกสาร (แผ่นพับ) “แนะนำการจัดการความรู้  Introduction To Knowledge Management (KM)” ของ สคส. (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม) ไปเผยแพร่ และเล่าเรื่องเกี่ยวกับ สคส. โดยย่อ
      ผมได้ใช้วิธีบรรยายนำก่อนโดยใช้ข้อความสำคัญดังต่อไปนี้เป็นแนว
           1. ความรู้   หมายรวมถึง
                  §  ข้อมูล ข้อสนเทศ ที่จัดเป็นเรื่องราว
                  §  สิ่งที่จำได้
                  §  ความเข้าใจ
                  §  ความรู้สึกนึกคิด
                  §  ความสามารถ (ในเชิงการคิด การทำ การพูด)
           2. ความรู้    สามารถจำแนกได้เป็น 
                  §  ความรู้ชัดแจ้ง (นอกตัวคน)  (Explicit Knowledge)
                  §  ความรู้ฝังใน (ในตัวคน)  (Tacit Knowledge)
           3. “การจัดการความรู้” (Knowledge Management)  คือ การดำเนินการกับ “ความรู้” เพื่อให้บรรลุผลที่พึงประสงค์
           4. องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้
                  §  การค้นหา
                  §  การศึกษา  เรียนรู้ แลกเปลี่ยน
                  §  การจัดเก็บ จัดระบบ
                  §  การใช้ประโยชน์ ประยุกต์ใช้
                  §  การเสริมสร้าง พัฒนา ยกระดับ
                  §  การสร้างใหม่ นวัตกรรม
           5. การจัดการความรู้สามารถทำได้
                  §  ภายในบุคคล           -           ระหว่างบุคคล
                  §  ภายในกลุ่ม             -           ระหว่างกลุ่ม
                  §  ภายในองค์กร          -           ระหว่างองค์กร
                  §  ภายในชุมชน           -           ระหว่างชุมชน
                  §  ภายในท้องถิ่น         -           ระหว่างท้องถิ่น
                  §  ภายในเขตพื้นที่       -           ระหว่างเขตพื้นที่
                  §  ภายในประเทศ         -           ระหว่างประเทศ
           6. เป้าประสงค์ของการจัดการความรู้  (ผลที่จะได้รับ)
                  §  ได้แรงบันดาลใจ กำลังใจ ความรู้สึก ทัศนคติ ที่ดีและสร้างสรรค์
                  §  ได้สัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่มคน ระหว่างองค์กร ที่ดีและสร้างสรรค์
                  §  ได้ความคิด  แนวคิด  หลักคิด  หลักการที่ดีและเป็นประโยชน์
                  §  ได้แนวปฏิบัติ  วิธีปฏิบัติ  ที่ช่วยเพิ่มคุณภาพ  ประสิทธิภาพ  สัมฤทธิภาพ
                  §  ได้ทักษะ  ความชำนาญ  ความช่ำชอง  ในการเรียนรู้และการจัดการความรู้
           7. เครื่องมือในการจัดการความรู้
                  §  การสืบค้นความรู้
                  §  การ “เชิญเพื่อนมาช่วย” (Peer Assist)
                  §  การประชุมปฎิบัติการ
                  §  การเล่าเรื่อง (Storytelling)
                  §  การสะกัดความรู้
                  §  การระดมความคิด
                  §  การจดบันทึก
                  §  การทำ “คลังความรู้”
                  §  การสร้างสื่อการเรียนรู้
                  §  เครื่องมือชุด “ธารปัญญา” (ของ “สคส.”)
                         -  ตารางแห่งอิสรภาพ
                         -  แผนภูมิแม่น้ำ
                         -  แผนภูมิขั้นบันได
                         -  ขุมความรู้  (Knowledge Assets)
                         -  พื้นที่ประเทืองปัญญา          
                  §  “วงจรการเรียนรู้” (ของ British Petroleum) เรียนรู้ก่อน – เรียนรู้ระหว่าง – เรียนรู้ภายหลัง
                  §  การเยี่ยมเยียนเรียนรู้
                  §  การสร้าง “ชุมชนผู้ปฎิบัติ”  (Community of Practice)
                  §  การสร้าง “ศูนย์การเรียนรู้”
                  §  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                         -  Intranet , Internet
                         -  Website , Webboard
                         -  Webblog , etc.
           8. บทบาทในการจัดการความรู้
                  §  ผู้ปฎิบัติ  (Practitioner)
                  §  ผู้เอื้ออำนวย  (Facilitator)
                  §  ผู้บริหารระบบการจัดการความรู้ภายในองค์กร (Chief Knowledge Officer , CKO)
                  §  ผู้ประสานเครือข่ายการจัดการความรู้  (Network Manager)
                  §  ผู้บริหารสูงสุด (CEO)
                  §  อื่นๆ        
     หลังจากการบรรยายนำ  ได้ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา (ประมาณ 80 คน) แยกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 10 คน ได้ฝึกปฏิบัติ “การจัดการความรู้” เบื้องต้นโดยอาศัย “คำถามช่วยคิด” ดังต่อไปนี้
            1. ท่านได้มีส่วนทำอะไรอันมีผลสำคัญต่อการพัฒนาท้องถิ่น เลือกเรื่องที่ท่านเห็นว่าน่าพอใจหรือน่าภาคภูมิใจมากที่สุด  โดยมีรายละเอียดว่า      ทำอะไร ทำอย่างไร ได้ผลอย่างไร คิดจะทำอย่างไรต่อไป ฯลฯ
            2. ผลัดกัน “เล่าเรื่อง” ตามข้อ 1 ในกลุ่มย่อย จนครบทุกคน
            3. โปรดหาอาสาสมัคร หรือช่วยกัน “บันทึก” ใจความสำคัญของเรื่องที่เล่าลงบนกระดาษ “ฟลิปชาร์ท” (flip chart) เพื่อให้มองเห็นด้วยกันอย่างชัดเจน
            4. ระดมความคิดร่วมกันว่า กลุ่มได้ “เรียนรู้” อะไรบ้างที่สำคัญเกี่ยวกับในการพัฒนาท้องถิ่น เช่น
                  §  “หลักการสำคัญ”  เกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่น
                  §  “วิธีการสำคัญ”      ในการพัฒนาท้องถิ่น
                  §  ข้อคิดอื่นๆที่เห็นว่าสำคัญ
            5. ท่านคิดว่าจะนำสิ่งที่ได้ “เรียนรู้” ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในงานของท่าน แล้วประมวลไว้เพื่อเป็นข้อมูลร่วมกัน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 12593เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2006 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท