สองคนยลตามช่อง


ถ้าแตกต่างในความคิดเห็น ก็จัดว่าเป็นสองคนยลตามช่องได้ทั้งสิ้น
.....จำได้ว่าสมัยยังเป็นเด็ก ได้อ่านบทกลอนบทหนึ่งและได้ท่องจำไว้ เนื้อความของกลอนบทนั้นมีอยู่ว่า
"สองคน ยลตามช่อง
คนหนึ่ง มองเห็นโคลนตม
คนหนึ่ง ตาแหลมคม
มองเห็นดาวอยู่พราวแพรว"
.....ต่อมาเมื่อได้ค้นคว้าเพิ่มเติมก็ได้ทราบว่าต้นแบบเป็นบทกวีของท่านเช็คสเปียร์ ที่ว่า "Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star." ถอดเป็นภาษาไทยโดยท่านภราดา ฟ. ฮีแรห์ แห่งอัสสัมชัญ เมื่อกว่า 50 ปีที่แล้ว (ข้อมูลจาก ไทยโพสต์ 25 พ.ย. 2547 โดยคุณสุวรรณ) ความหมายก็คือมุมมองของคนหลายคนในเรื่องเดียว อาจมีความแตกต่างกันได้ ไม่จำเป็นว่าคนหนึ่งต้องมองว่าบวกอีกคนต้องมองว่าลบเสมอไป อาจจะมองทางบวกทั้งคู่ หรือลบทั้งคู่ก็ได้ ถ้าแตกต่างกันในความคิดเห็นก็จัดว่าเป็นสองคนยลตามช่องได้ทั้งสิ้น

.....จนถึงปัจจุบัน พี่เม่ยก็ยังคงยึดมั่นในแนวคิดนี้และนำออกมาใช้เสมอๆ โดยเฉพาะเมื่อพบกับเหตุการณ์ที่มีความขัดแย้งเพราะความคิดเห็นที่แตกต่าง (ยิ่งถ้าความคิดเห็นของฝ่ายหนึ่งคือเราด้วยละก้อ..จิตใจไม่ค่อยจะยอมสงบทุกที) ต้องรีบท่องกลอนบทนี้ในใจหลายๆรอบ ทำให้รู้สึกใจเย็นขึ้น ช่วยให้ใจเราเปิดกว้าง และพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นได้มากขึ้นค่ะ

หมายเลขบันทึก: 12589เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2006 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมจำกลอนนี้ได้ตั้งแต่10กว่าปีมาแล้ว มีความหมายต่อการเข้าใจความแตกต่างทางความคิดของผู้คนในชีวิตของผมมาก แต่เพิ่งมาทราบวันนี้ว่า แต่งโดยเช็คเสปียร์และแปลเป็นไทยโดยภราดาแห่งอัสสัมชัญ

ขอบคุณครับ

แปลงเปนภาษาไทยโดย บราเดอร์ฟ.ฮิแลร

ความหมายข้างบนไม่น่าใช่(ผมอาจผิด) ความหมายคือ คนสองคนมองที่ชองเดียวกันเห็นแต่สิ่งไม่สวยงามในโลกเต็มไปหมดอีกคนมองโลกสวยงามน่าอยู่ ส่วนความคิดแง่บวกแง่ลบคนละเรื่องกัน (ผิดถูกข่วยชี้แนะ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท