การจัดการเรียนรุ้ด้วยกิจกรรม "จรวดขวดน้ำ"


กิจกรรม "จรวดขวดน้ำ" ที่...บุญวัฒนา ๒

ข้อมูลผู้เสนอนวัตกรรม 1. หน่วยงานที่เสนอนวัตกรรม                  โรงเรียนบุญวัฒนา ๒            อำเภอ เมือง  จังหวัด นครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา   นครราชสีมา เขต 1 2. ผู้รับผิดชอบหลัก                  นายเดชจรัส   วัชรคุปต์         3. สถานที่ติดต่อ     โรงเรียนบุญวัฒนา         อำเภอเมือง    จังหวัดนครราชสีมา

    โทรศัพท์    086-6526621

 ข้อมูลเกี่ยวกับผลงานนวัตกรรม 1. ชื่อนวัตกรรม      จรวดขวดน้ำบุญวัฒนา ๒2. นวัตกรรมสนองกลยุทธ์ สพฐ.    £    กลยุทธ์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม 1. ความเป็นนวัตกรรม                                จรวดขวดน้ำ คือ การนำเอาขวด  PET  (ขวดพลาสติกใส  บรรจุน้ำปรุงแต่งรส  อัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ )   มาประดิษฐ์เป็นจรวด สำหรับการยิงแข่งขันของนักเรียน  และบุคคลทั่วไป   ซึ่งกิจกรรมการประดิษฐ์จรวดขวดน้ำ เป็นการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะทางช่างฝีมือทุกแขนง การทำงานเป็นหมู่คณะ  การรู้จักใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง  ทักษะทางศิลปะการประดิษฐ์  ฝึกความอดทน    มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยผ่านกิจกรรมการประดิษฐ์และการแข่งขันจรวดขวดน้ำ    จรวดขวดน้ำมีการพัฒนาจากจุดเริ่มต้น  เมื่อปี 2545  เป็นเพียงขวดใบเดียว ติดปีก ติดหัว โดยมี การแข่งขันกันในระดับโรงเรียนทั่วประเทศ  องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ        เป็นผู้จัดการแข่งขันระดับประเทศ                                   โรงเรียนบุญวัฒนา ๒  ได้จัดทำจรวดขวดน้ำและพัฒนารูปแบบของฐานยิงและตัวจรวดขวดน้ำมาโดยลำดับ  เริ่มตั้งแต่                                  1. ขวดใบเดียว ติดปีก ติดหัวกระโปรงจรวด  ถ่วงน้ำหนักหัวจรวด  การปล่อยจรวด       โดย ใช้ฐานปล่อยล๊อคตัวยู                                2. ขวดใบเดียว แต่เป่าลมร้อนแต่งให้เป็นรูปร่างตามต้องการ ใช้ฐานปล่อยระบบท่อมีตัวล๊อค  และ เพิ่มระบบสลัดท่อปล่อยกลางอากาศ                                3. ขวดต่อ 2ใบ ระบบการปล่อยจรวดเป็นแบบระบบ ท่อมีตัวล๊อค  แต่ขยายรูปากขวดและฐานยิงจรวดให้ใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มแรงขับดัน  และเพิ่มระบบสลัดท่อนปล่อยกลางอากาศแบบการส่งจรวดขึ้นไปในอวกาศ จากการที่ปลายปากขวดใหญ่ขึ้นทำให้เกิดความเร็วสูงของน้ำและอากาศ เป็นผลให้เกิดแรงขับของน้ำและอากาศสูงขึ้น โดยหลักการทางวิทยาศาสตร์                                 ดังนั้น เมื่อน้ำและอากาศผ่านปลายปากขวดซึ่งขยายใหญ่ได้เร็วขึ้น  ทำให้แรงขับสูงขึ้นกว่าเดิมจรวดจะไปได้ไกลขึ้นอย่างแน่นอน  แต่เราไม่มีเครื่องมือที่จะวัดความเร็วของน้ำและอากาศที่ออกมาจากปลายขวดได้  จึงเทียบเคียงจากการทดลองใช้ความดันลม 50  ปอนด์                                   การพัฒนานวัตกรรมจรวดขวดน้ำของโรงเรียนบุญวัฒนา ๒  เพื่อให้มีสถิติการยิงไกลขึ้นและแม่นยำขึ้นกว่าเดิม   โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย   2   ส่วนหลัก   คือ  ตัวจรวด และ ส่วนตัวฐานยิงจรวด ตัวจรวดได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  จากตัวจรวดรูปแบบเดิม คือปากขวดปกติมาเป็นตัวจรวดที่ขยายให้รูปากขวดใหญ่ขึ้น จากเดิม  0.5  นิ้ว  เป็น  1.25  นิ้ว    <p style="margin: 0cm -16.7pt 0pt 36pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ฐานยิงจรวดได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง   จากฐานยิงรูปแบบเดิม</p> มาเป็นฐานรุ่นพัฒนา ที่เป็นนวัตกรรมล่าสุด  เป็นฐานที่พัฒนาครั้งที่ 3  ลักษณะคือ เป็นฐานที่มีถังพักลมและมีท่อปล่อย ขยายขนาดเป็น  1.25  นิ้ว      เพื่อให้สอดคล้องกับตัวจรวดรุ่นพัฒนา  ผลการพัฒนาดังกล่าวได้มีการทดลอง ทดสอบและบันทึกสถิติ พบว่ามีสถิติการยิงได้ไกลกว่าเดิมและ เป็นฐานยิงจรวด และ ตัวจรวดที่พัฒนา โดยยังไม่พบเห็น ในที่ใดมาก่อนหลังจากการพัฒนาและทดสอบ ได้มีการนำเข้าร่วมการแข่งขัน ชิงแชมป์จรวดขวดน้ำแห่งประเทศไทย ที่จัดโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย   ในช่วง 17 18  สิงหาคม 2550  ผลแห่งความสำเร็จ คือ  ได้เข้ารอบ  10  ทีมสุดท้ายในการแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทย โดยเข้ารอบ 3  ทีม จากการส่งเข้าแข่งขันจำนวน 4 ทีม ( เข้ารอบมากที่สุดจากทีมที่ส่งเข้าแข่งขัน  ) จากสถิติยิงไกล 2 ทีม และยิงแม่น 1 ทีม  ซึ่งจะได้ไปเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศใน วันที่  19 20  ตุลาคม  2550 ต่อไป

 

3. คุณค่าของนวัตกรรม               3.1 การแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพของกลุ่มเป้าหมาย                                นักเรียนที่ไม่สามารถทำกิจกรรมอย่างอื่นได้  แต่สามารถทำกิจกรรมจรวดขวดน้ำได้อย่างดีเยี่ยม  เป็นกิจกรรมที่ให้ทั้งความสนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ  มองเห็นเป้าหมายชัดเจน  นักเรียนหลายคนเมื่อเข้าสู่กิจกรรมจรวดขวดน้ำแล้วไม่หนีไปเล่นเกม อีก  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เยาวชนได้ เรียนรู้หลักการทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และการประยุกต์ใช้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว   จึงถือว่าเป็นกิจกรรมที่พัฒนาความรู้ ทักษะกระบวนการและความคิดอย่างเป็นรูปธรรม

 

หมายเลขบันทึก: 125869เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2007 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท