กิจกรรมวิจัย (มี.ค. – ก.ค. 49) เครือข่ายวิจัยภาคเหนือตอนล่าง (สกอ.)


แต่ละสถาบันมีชุดโครงการที่ดีมากขึ้น มีความร่วมมือกันมากขึ้น ได้รับทุนวิจัยมากขึ้นผลงานวิจัยถูกนำไปใช้ประโยชน์มากขึ้น และเครือข่ายมีความเข้มแข็งมากขึ้น

         ผมขอประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจร่วมกันกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทีมผู้บริหารงานวิจัย (รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย) และนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา (ทั้ง 15 สถาบัน) ในเขตภาคเหนือตอนล่างทุกท่าน ให้ทราบเพื่อช่วยกันเสนอแนะและช่วยกันเตรียมการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจกรรมในช่วงเดือน มี.ค. – ก.ค. 49 ที่สำคัญ ๆ ดังนี้ครับ

         1. โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาชุดโครงการวิจัย (เน้นโครงการที่เกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน) จะจัดขึ้นระหว่างวันศุกร์ที่ 10 ถึงวันเสาร์ที่ 11 มีนาคม 2549 ที่ทรัพย์ไพรวัลย์ แกรนด์ โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ต เราได้รับเกียรติจากวิทยากร รศ. ดร. พีระเดช ทองอำไพ (รอง ผอ. สกว.) มาช่วยเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ผมขอให้แต่ละสถาบันช่วยเตรียมการดังนี้

         แต่ละสถาบันช่วยคัดเลือกชุดโครงการที่ทำแล้วรู้สึกภาคภูมิใจ สถาบันไหนยังไม่เคยพัฒนาชุดโครงการก็ลองช่วยกันพัฒนาขึ้นมาสัก 1 ชุดโครงการ (เป็นโครงการที่อยากจะทำ) เน้นว่าเป็นชุดโครงการที่เกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน มีความร่วมมือกับจังหวัดหรือชุมชน และขอให้เชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้ให้ทุนหรือผู้ร่วมวิจัยหรือผู้ใช้ผลงานวิจัยจากชุมชนมาร่วมงานด้วย เลือกชุดโครงการมาเพื่อนำมานำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในงาน

         สิ่งที่คาดหวังจะให้เกิดก็คืออย่างน้อยที่สุด

         (ก.) แต่ละโครงการที่นำเสนอจะได้รับข้อเสนอแนะที่ดีจากทั้งวิทยากรและเพื่อน ๆ นักวิจัยภายในเครือข่ายจนได้เป็นชุดโครงการที่ดียิ่งขึ้น

         (ข.) ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดจะเห็นตัวอย่างการพัฒนาชุดโครงการที่หลากหลาย เป็นการเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาชุดโครงการของแต่ละสถาบัน

         (ค.) ชุดโครงการวิจัยบางชุดโครงการอาจต้องการความช่วยเหลือหรือร่วมมือกันระหว่างสถาบันก็จะได้รู้จักความต้องการกันในวันนั้น

         (ง.) สมาชิกเครือข่ายจะได้เห็นความเข้มแข็งและทิศทางของเครือข่ายร่วมกัน (shared vision) โดยอัตโนมัติ

         (จ.) นำไปสู่ความร่วมมือที่จะพัฒนาชุดโครงการที่ใหญ่ขึ้นในระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ

         (ฉ.) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (โดยเฉพาะผู้นำชุมชน) เกิดความเข้าใจและให้การสนับสนุนให้ความร่วมมือในการทำวิจัยด้วยกัน

         (ช.) แต่ละสถาบันมีชุดโครงการที่ดีมากขึ้น มีความร่วมมือกันมากขึ้น ได้รับทุนวิจัยมากขึ้นผลงานวิจัยถูกนำไปใช้ประโยชน์มากขึ้น และเครือข่ายมีความเข้มแข็งมากขึ้น

         2. โครงการติดตามผลการดำเนินโครงการวิจัย (เน้นไปที่โครงการที่ได้รับทุนจากเครือข่ายในปีงบประมาณ 2548) ให้หัวหน้าโครงการแต่ละโครงการเตรียมนำเสนอความก้าวหน้าที่ชั้น 3 สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.นเรศวร ในวันพุธที่ 29 มี.ค. 49 กรณีที่ทำวิจัยไปแล้วเกิดมีปัญหาหรืออุปสรรคก็จะมีผู้ทรงคุณวุฒิที่หลากหลายจากทั้งภายในและนอกเครือข่ายมาช่วยกันคิดเพื่อหาทางแก้ไข สิ่งที่คาดหวังก็คือแต่ละโครงการจะเสร็จทันเพื่อนำเสนอให้กับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นำชุมชนพร้อมผู้ร่วมงาน “นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 2 (28 – 29 ก.ค. 49)” โครงการนี้จะคล้าย ๆ กับการดำเนินการเมื่อปีที่ผ่านมาครับ

         3. โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัยของเครือข่ายคล้ายกันกับเมื่อปีที่แล้วครับ คือทุกสถาบันในเครือข่ายจะเป็นเจ้าภาพร่วมกันจัดงาน “นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 2 (28 – 29 ก.ค. 49)” ตรงจุดนี้อยากได้ข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไข/ปรับปรุงมาก ๆ ครับ เพื่อให้ผลงานวิจัยมีการเผยแพร่และถูกนำไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด

         ขอบคุณครับ

         วิบูลย์ วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 12585เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2006 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท