ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House (4) นวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ


... คือ มีความเชื่อ และความศรัทธาใน KM ส่วนหนึ่งมาว่า มันต้องมีอะไรดีนะ ไม่เช่นนั้นเขาก็คงไม่ให้เราทำหรอก ...

 

เรื่องเล่าเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องแรก เป็นเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ ในด้านอนามัยแม่และเด็ก ของกรมอนามัยค่ะ คุณจันทิรา หรือคุณปลา มาเล่าให้ภาคีราชการได้ฟังกันในวันนี้ 

  • อาจจะเป็นความสำเร็จเล็กๆ ของนวัตกรรมที่ใช้ในงานอนามัยแม่และเด็ก และคงจะเป็นส่วนของนวัตกรรมด้านสุขภาพที่จะได้มาเล่าให้ฟัง
  • ศูนย์อนามัยที่ 1 เป็นศูนย์ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมอนามัย ส่วนตัวของจันทิราอยู่ฝ่ายของ รพ.
  • เริ่มแรกได้เอา KM มาใช้เมื่อประมาณปี 47 ... ตอนนั้นรู้สึกหนักใจมาก เพราะทางศูนย์ฯ บอกว่า เราน่าจะมีการเอา KM มาใช้ และต้องให้เห็นได้ประโยชน์จริงๆ
  • ตอนนั้นเริ่มทำในภาพของ รพ. เป็นภาพใหญ่ คือ เชิญทุกท่านมา ลปรร. กัน ... ปรากฎว่าพอเราเริ่มทำในภาพใหญ่ เราก็รู้สึกว่า มันมีความขัดข้องหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลา เนื่องจากความเป็น รพ. ทีมงานก็จะมีเวลาที่ไม่ค่อยจะตรงกัน เพราะต้องขึ้นเวร เป็นกะ เป็นรอบ มีเวรเช้า บ่าย ดึก เพราะฉะนั้นเวลาที่เรานัดหมายมา ลปรร. จะค่อนข้างยากลำบาก จากสมาชิกที่เราเคยนัดหมายกันทีหนึ่ง 30-40 คน มาคัยกัน ก็เริ่มลดลงเรื่อยๆ จากเริ่มเป็นกลุ่มใหญ่ ก็น้อยลงเรื่อยๆ เราก็เลยมีความรู้สึกว่า มันไม่น่าจะไปไหวแล้ว เพราะว่าคนน้อยเหลือเกิน
  • จึงมาคิดว่า จะเอายังไงดี เพราะเราแยกออกไปทำในส่วนที่เรารับผิดชอบ ตัวเองตอนนั้นทำงานในส่วนของหอผู้ป่วยหลังคลอด ก็เลยเอา KM มาใช้ ... คือ มีความเชื่อ และความศรัทธาใน KM ส่วนหนึ่งมาว่า มันต้องมีอะไรดีนะ ไม่เช่นนั้นเขาก็คงไม่ให้เราทำหรอก ... บวกกันเหมือนถูกบังคับไปเหมือนกันว่า ต้องไปทำ และต้องทำให้สำเร็จ
  • และพอเอาเข้าไปในผลงาน ก็มาพูดคุยกันว่า แล้วเราจะมาพูดคุยกันในประเด็นไหน ในเรื่องอะไร เพราะว่าในส่วนงานที่ทำอยู่ก็มีความหลากหลาย ... แล้วก็จะมีประเด็นที่เด่นๆ อยู่ประเด็นหนึ่งที่มันเป็นตัวชี้วัดของหอผู้ป่วยเลยว่า เราจะทำในเรื่องของการส่งเสริม ในเรื่องของสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก และการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตอนนี้เราก็คิดว่า เป็นประเด็นหัวปลาของเราขึ้นมา ก็เกิดกระบวนการ ลปรร.
  • ตอนแรกเรามีความยากลำบากในเรื่องของคนที่จะเข้ามารวมกัน ก็ได้เข้าไปคุยกับหัวหน้าหอผู้ป่วยว่า ทำอย่างไรสมาชิกหรือทีมงานจึงจะได้มาเจอกัน มาพูดคุยกัน หัวหน้าท่านก็เอื้อต่อเรามาก บอกว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน พี่จะจัดเวรให้ เอาเป็นช่วงวันพุธบ่ายก็แล้วกัน ที่เราจะจัดให้มีการ ลปรร. ในทีมงานกัน
  • ... ก็มานั่งคุยกันในวันพุธช่วงบ่ายทุกๆ วัน ประเด็นก็คือ ในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก และการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และก็แลกเปลี่ยนกันในเรื่องของวิธีการทำงานว่า ใครมีเทคนิคอะไรดีดี และมีสิ่งที่ภาคภูมิใจ และประสบความสำเร็จก็มาแลกเปลี่ยนกัน
  • ตอนแรกเป็นช่วงวันพุธบ่ายที่เรามาคุยกัน แล้วก็ทำกันไปเรื่อยๆ แต่เพราะว่าช่วงวันพุธอาจจะไม่เหมาะ เพราะว่าบางทีวันนี้จะมีการประชุมของคณะกรรมการต่างๆ เลยมีความรู้สึกว่า อาจจะไม่เหมาะ และสมาชิกอาจจะหายไปด้วย
  • ... เพราะฉะนั้นเราก็ใช้วิธีที่จะต้องเจอกันในตอนเช้า หรือว่าตอนเย็น คือ อาจจะเป็นช่วงของการที่เรารับส่งเวรกันในตอนเช้า ตรงนี้สมาชิกก็จะมาเจอกันทั้งในคนที่ต้องขึ้นเวรเช้า และคนที่จะลงเวรดึก ก็ใช้เวทีนี้สำหรับการ ลปรร.
  • เราก็แลกเปลี่ยนกันอยู่ระยะหนึ่ง ก็ได้ตัว tacit knowledge ออกมาเยอะมาก เสร็จแล้วว่าเราเอาไปทำอะไรต่อ ... ในส่วนสมาชิก ถ้าถามว่า เราเข้าใจ KM กันดีมั๊ย ก็บอกว่า ยังไม่ค่อยเข้าใจหรอกว่า KM มันคืออะไร และที่ให้มาเล่าๆ นี่ เล่าแล้วเอาไปทำอะไร
  • ตอนนั้นก็คิดมากเหมือนกันว่า เล่าเสร็จแล้วจะเอาไปทำอะไรดี เราก็เลยเอาตัว tacit knowledge ที่ได้จากตัวผู้ปฏิบัตินี่ละคะ ออกมาเขียนเป็นวิธีปฏิบัติ ... เช่น วิธีการที่จะไปดูคุณแม่ที่มีปัญหาเรื่องเต้านมคัดตึงต้องเข้าไปทำอย่างไร
  • ... ตอนแรกออกมาเป็นแค่วิธีปฏิบัติก่อนค่ะ ตอนนี้ถามว่า วิธีปฏิบัตินี้คุณมั่นใจได้อย่างไรว่า ทำแล้วมันดี เหมาะสม เราก็มีการนำวิธีปฏิบัติของเรามาลองปฏิบัติก่อน มา implement กับผู้ป่วยของเราจริงๆ
  • ... และเปิดโอกาสให้สมาชิก หรือทีมงานได้เขียนข้อเสนอแนะ หรือ comment ลงไปในแผ่นกระดาษ ลักษณะเหมือนใบงาน และจะมีรายชื่อว่า ใครได้นำวิธีปฏิบัติจากเรื่องเล่าของเราแล้วนำไปใช้ ลองปฏิบัติสักกี่ครั้ง และผลการปฏิบัติเป็นอย่างไรบ้าง พอใจ หรือไม่พอใจ ยังไงก็ให้บันทึกลงมา
  • ... และจะมีข้อเสนอแนะ ก็จะมีข้อเสนอแนะจากผู้ปฏิบัติทั้งหมดเลยว่า จากการปฏิบัติทั้งหมด 30 กว่าครั้ง เขารู้สึกว่า เหมาะหรือไม่เหมาะอย่างไรให้เขียนมาในข้อเสนอแนะนี้
  • ... และเราจะมีการพูดคุยกันในกลุ่มผู้ปฏิบัติอีกครั้งหนึ่งว่า ตรงนี้เราจะเอาข้อเสนอแนะที่ได้มาปรับ และเขียนเป็นวิธีปฏิบัติครั้งใหม่
  • ... ถามว่า วิธีปฏิบัติกว่าจะสำเร็จออกมาได้ มันใช้วิธีปรับเปลี่ยน และพูดคุยกันหลายครั้ง ก่อนที่จะได้ออกมาเป็นอย่างนี้ ส่วนวิธีปฏิบัติจะใช้หลักในเรื่องของการปฏิบัติที่อาจจะไม่ยุ่งยากมาก
  • จากการ ลปรร. เราไม่ใช่มีแค่มานั่งเล่าเรื่องแลกกันอย่างเดียว แต่มีส่วนอื่นๆ เช่น เราใช้วิธีมานั่งคุยกันตอนที่เราส่งเวร ว่า อย่างไร ทำอย่างไร อันนี้ดีมั๊ย และมีนวัตกรรมที่มานำเสนอในวันนี้

  • หลายๆ ท่านอาจจะสงสัยว่า ของชิ้นนี้คืออะไร อันนี้เป็นนวัตกรรมที่เราพัฒนามาจากผ้าห่มที่ใช้ห่มตัวคนไข้ เรามาพัฒนาเป็นหมอนรองนั่ง สำหรับคนไข้ที่มาคลอดที่เราจะมีแผลผ่าตัดทางช่องคลอด ซึ่งก็จะปวดมาก เวลาให้นมแม่จะมีปัญหานั่งไม่ได้ เพราะว่าเวลานั่งต้องนั่งคะแคงข้างใดข้างหนึ่ง เราก็มานั่งคุยกันว่า เราจะใช้วิธีอะไร อันนี้เป็นสิ่งที่เราพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกเลย เป็นผ้าห่มที่เป็นผ้าขนหนูมาพันกันเป็นเกลียว ต้องใช้คนสองคน
  • ... วิธีการพันก็จะมีเทคนิคเหมือนกันว่า จะพันแบบไหน จะต้องจับสองชาย คนหนึ่งบิดซ้าย คนหนึ่งบิดขวา
  • ... ตอนแรกเราใช้ผ้าห่มอย่างเดียว ตอนหลังทางโรงซักฟอกบอกว่า ผ้าห่มเราเปื้อนมาก
  • ... เราก็ใช้วิธีว่า เราเอาผ้าที่เป็นผ้าปูที่นอนทับไปอีก 1 ชั้น หลังจากทับไปอีก 1 ชั้นก็ยังคงเปื้อนอยู่
  • ... ก็คิดว่า เราเอา wrap พลาสติกที่ห่ออาหารมาพันอีกรอบหนึ่ง ก็จะสะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น แต่การใช้งานก็ได้แค่ 1 ครั้ง เนื่องจากว่า พอคนไข้นั่งแล้วก็จะเริ่มแบนลงไปเรื่อยๆ ก็ไม่เหมาะที่จะไปใช้ใน case ต่อๆ ไป อันนี้ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราได้พัฒนาขึ้นมา
  • ... ถ้าคนไข้ร้องขอในสิ่งเหล่านี้ เราก็ต้องใช้เวลาที่จะมาทำใหม่เรื่อยๆ
  • ล่าสุด เราก็ทำเป็นหมอนวงขึ้นมา คือ เป็นหมอนสำเร็จรูป และหยิบใช้ได้เลย

 

  • หมอนวงอันนี้ทาง รพ. เป็นคนเย็บให้ เรายัดนุ่นข้างใน และจะมี wrap พันอีกครั้ง จะได้ไม่เปื้อน คนไข้ก็บอกว่า นั่งแล้วสบาย
  • ตอนแรกเริ่ม เหมือนใช้เป็นห่วงยากสำหรับ support ให้คนไข้ แต่คนไข้บอกว่า นั่งแล้วไม่สบาย มันติด และแข็ง
  • ... เสร็จแล้ว KM เอาไปใช้ ก็เกิดนวัตกรรมเป็นหมอนรองนั่ง
  • ซึ่งจริงๆ หมอนรองนั่งนี้ไม่ใช่เรื่องที่มันเกิดขึ้นเรื่องเดียว ... แต่เป็นอีกเรื่องที่เราใช้เรื่องของการใช้กระหล่ำปลีมาช่วยในการประคบเต้านม ให้เต้านมคลายจากการคัดตึงได้ดี ก็จะมีอยู่ 2 เรื่อง ที่เราทำ จนเกิดนวัตกรรม (อิ อิ เรื่องนี้ เวลาพูดไม่ทันค่ะ ว่าคิดมาได้อย่างไร ไปถามต่อกับคุณจันทิราได้นะคะ ที่ศูนย์อนามัยที่ 1 กรุงเทพฯ)

บันทึกหน้าจะเป็นการต่อยอดประเด็นพูดคุยซักถามในเรื่องนี้นะคะ

รวมเรื่อง ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House  

 

หมายเลขบันทึก: 125844เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2007 07:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คุณหมอนนท์ลงวิธีละเอียดดีคะ เข้าใจ เห็นภาพเลย

ขอแจมด้วยนิดนึงนะคะ ว่าน่าทดลองใช้ห่วงยางเล่นน้ำของเด็กๆ ดูบ้างนะคะเห็นพี่ที่ทำงานเคยใช้น่ะคะ

  • น้องปลา เขาก็เล่านะคะ ว่า แรกๆ ก็ใช้ห่วงยาง แต่รู้สึกว่าคนไข้เจ็บนะ (... ถ้าให้แน่ๆ ต้องไปคุยกับคุณจันทิรา ที่ศูนย์ฯ 1 นะจ๊ะ)
  • เขาก็เลยมีการคิดค้น และ apply ใหม่ ค่ะ
  • ผลพลอยได้ คือ ทีมงานทำกันอย่างสนุกสนาน สนิทสนม กลมเกลียว และมีความสุขกันมากเลยละค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท