ออกกำลัง กับความดันเลือด


การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การออกกำลังไม่ได้ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้นในระยะยาว นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยป้องกันโรคความดันเลือดสูงได้ในระดับหนึ่ง

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การออกกำลังไม่ได้ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้นในระยะยาว นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยป้องกันโรคความดันเลือดสูงได้ในระดับหนึ่ง

โรคความดันเลือดสูงมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เส้นเลือดสมองแตก-ตีบตัน ไตเสื่อมสภาพ-ไตวาย และอัตราการตายเฉียบพลัน เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันกำเริบ ฯลฯ

คนเรามีแนวโน้มจะมีความดันเลือดสูงเพิ่มขึ้นตามอายุ มีการประมาณการณ์ว่า คนอเมริกันสูงอายุมีแนวโน้มจะเป็นโรคความดันเลือดสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และอาจมีความดันเลือดสูงมากได้จนถึง 90%

ความดันเลือด (blood pressure / BP) ของคนเรามี 2 ค่าได้แก่ ค่าบน (systolic BP) และค่าล่าง (diastolic BP)

ค่าบนหมายถึงความดันเลือดในช่วงที่หัวใจหดตัว ค่าล่างหมายถึงความดันเลือดในช่วงที่หัวใจคลายตัว ค่าปกติที่ดีมากๆ คือ 120/80

ความดันเลือดของคนเราจะเพิ่มขึ้นเวลาออกกำลังอย่างหนัก ตัวอย่างเช่น

  • การออกกำลังแบบแอโรบิค ซึ่งออกแรงกล้ามเนื้อมัดใหญ่ต่อเนื่อง นานพอสมควร เช่น การวิ่ง ฯลฯ อาจทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้นจนถึง 200/80 ถ้าออกกำลังอย่างหนัก
  • การออกกำลังแบบต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก ฯลฯ อาจทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้นจนถึง 400/200 ถ้าออกกำลังอย่างหนัก

ความดันเลือดที่เพิ่มขึ้นจากการออกกำลังมักจะเพิ่มขึ้นไม่นาน หลังจากเลิกออกกำลังไม่กี่นาที ความดันเลือดจะค่อยๆ ลดลง และมักจะลดลงต่ำกว่าคนที่ไม่ออกกำลังเป็นประจำ

ข้อควรระวังในการออกกำลังที่สำคัญได้แก่...

  1. ควรตรวจวัดความดันเลือดเป็นประจำ โดยเฉพาะถ้าอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป อ้วน หรืออ้วนลงพุง
  2. ถ้าพบว่า มีความดันเลือดสูง ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนออกกำลัง
  3. ออกกำลังจากเบาไปหาหนัก ไม่หักโหมออกกำลังเพิ่มขึ้นในทันที
  4. ไม่กลั้นหายใจเวลาออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้ความดันเลือด หรือความดัน(ภายใน)ลูกตาเพิ่มขึ้นได้มาก

<p>ข่าวประกาศ...                                                  </p>

ข่าวประกาศ...                                                  

  • ผู้เขียนจำเป็นต้องปิดส่วนแสดงความคิดเห็นไปพลางก่อน เนื่องจากไม่มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงใช้
  • ตอนนี้ผู้เขียนต้องขับรถไปขอใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วต่ำที่โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี (ADSL เหมือนกัน แต่เส้นเดียวแบ่งใช้ทั้งโรงพยาบาล) ห่างออกไปคราวละ 7 กิโลเมตร
  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" มีนโยบายที่จะไม่ตอบปัญหาสุขภาพ เนื่องจากผู้เขียนมีงานมาก อินเตอร์เน็ตลำปางช้า+หลุดบ่อย และใช้เวลาเตรียมเขียนเรื่องใหม่+แก้ไขคำหลัก (keywords) ย้อนหลัง

ขอแนะนำ...                                                    

  • รวมเรื่องสุขภาพ > "ออกกำลัง"
  • [ Click - Click ] 
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "ความดันเลือด / ความดันโลหิต"
  • [ Click - Click ] 
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "ยกน้ำหนัก / ออกกำลังต้านแรง"
  • [ Click - Click ] 
  • ขอแนะนำบล็อก > "บ้านสาระ"
  • http://gotoknow.org/blog/talk2u

    แหล่งที่มา:                                      

</span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></font></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></font></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span><ul>

  • Many thanks to Dr. Mirkin > Gabe Mirkin. M.D. > Should blood pressure rise during weight-lifting? > [ Click ] > 8/10/07.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สำหรับการเอื้อเฟื้อทุกสิ่งทุกอย่างในการประชุม km เชียงใหม่ > 13-15 สิงหาคม 2550.
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ และทีม IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 6 กันยายน 2550.
  • </ul>

    หมายเลขบันทึก: 125713เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2007 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท