มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ไม่รู้ว่าจะรู้สึกอย่างไรดี: กรณีที่พบว่าผู้ป่วยที่อยู่เหมือนตายมา 5 ปีแล้วอาจเป็นมะเร็ง


เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ก็ออกตรวจที่โรงพยาบาล แผนก extended care เหมือนทุกๆวันศุกร์ แต่วันนี้เจอกรณีที่ทำให้ คิดและพูดในใจกับตัวเองว่า

"ไม่รู้ว่าจะรู้สึกอย่างไรดี" 

ผู้ป่วยเป็นชาย อายุ 60 กว่าๆ ถือว่าอายุไม่มากเลยเมื่อเทียบกับคนอื่นๆที่รับการรักษาอยู่ที่แผนกนี้

ได้รับความกระทบกระเทือนทางสมองขึ้นรุนแรง จากอุบัติเหตุรถยนต์เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ท่านต้องอยู่บนรถเข็นที่เป็นกึ่งเก้่าอี้กึ่งเตียงตลอด พูดไม่ได้ ขยับตัวไม่ได้ ขยับหัวได้ แต่ปากเบี่้ยว เคี้ยวอาหารไม่ได้ กลืนลำบาก (dysphagia) ต้องรับอาหารทางท่อเจาะท้อง(PEG tube)

ท่านั่งของผู้ป่วยก็ดูไม่สบายเลย คอตก มีเสลดก็ไอ จะหายใจไม่ออกเอา ท่านหลับตาตลอด โต้ตอบกลับมาไม่ได้

ท่านมีฟันเหลือหลายซี่  แผงฟันหน้าไม่มี สงสัยหักไปตอนรถชน แต่มีฟันเขี้ยวบนทั้ง 2 ข้างเหลือกัดริมฝึปากล่างจนเป็นแผลที่กลายเป็นแผลเป็นบวกกับแผ่นขาวๆ (white patches) ขนาด 3cm x 2cm ขูดไม่ออก ผิวก็ขรุขระ คลำก็แข็ง ดูไม่ดีอย่างแรง

วันที่ไปตรวจมีหมออีกคนไปด้วย เราหันหน้ามามองกัน แล้วก็พูดว่า "doesn't look good" 

หน้าตาของรอยโรค (lesion) ก็คล้ายๆในรูปเหล่านี้ค่ะ เพียงแค่ตำแหน่งต่างกัน 

 

source: http://www.entusa.com/oral_photographs/leukoplakia.JPG

http://www.cfpc.ca/cfp/2003/Sep/_images/Bentley1.gif

source: http://www.cfpc.ca 

เราก็ทำตาม protocol คือต้องส่งต่อผู้เชี่ยวชาญทาง oral med/oral pathology ที่มหาวิทยาลัยซึ่งทำงานร่วมกับสถาบันมะเร็งของเมืองเพื่อทำการวางแผนการรักษา ว่าต้องผ่าชิ้นเนื้อ (biopsy) หรือต้องทำอะไรต่อไป สำหรับหน้าที่เราวันนั้นคือเขียน consultation requisition form ส่งต่อผู้ป่วย แล้วก็จบ แต่ขั้นตอนถัดจากนี้ไปนี่น่าคิดเหมือนกันค่ะ

--------------------------------------------------------------- 

เจอแบบนี้ก็เงียบไปค่ะ ธรรมดาเวลาพบรอยโรคที่อาจเป็นมะเร็งในช่องปากจะรู้สึกดีใจว่าเราพบมันแต่เนิ่นๆ จะได้รักษาทัน

แต่ในกรณีผู้ป่วยท่านนี้ไม่รู้เลยว่าจะรู้สึกอย่างไร ตอนที่คุยกับหัวหน้าพยาบาล พยาบาล(ชาย)ท่านก็หน้าเฉยๆมาก ไม่ตกใจไม่อะไรเลย ทำให้เราแอบสงสัยไม่ได้ว่าเค้าคิดอะไรอยู่น้า

แล้วญาติผู้ป่วยเมื่อทราบข่าวแล้ว (ถ้าเกิดมันเป็นมะเร็งจริงๆ) จะตัดสินใจอย่างไร จะ consent ให้รักษาถึงขั้นไหน

---------------------------------------------------------------
หมายเลขบันทึก: 125445เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2007 04:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
ที่น่าเห็นใจมากคือว่าท่านเป้นอะไร มีอาการอย่างไร ก็บอกเราไม่ได้ครับ )-;

สวัสดีค่ะ อ.มัท

อ่านเรื่องนี้แล้วทำให้นึกชมน้ำใจคนที่เป็นแพทย์พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องนะคะ   นอกจากความรู้สูงแล้วยังต้องมีใจสูงอีกด้วย จึงจะรับภาวะ(และภาระงาน)ได้อย่างดี

และทำให้เห็นด้วยว่า พรหมวิหารสี่ ที่เรียนมา(หรือผู้ใหญ่สอนมา)แต่เล็กแต่น้อยนี่สำคัญจริงๆ

สวัสดีครับอาจารย์ มัท 

อาจารย์กำลังรู้สึกถูกต้องตามที่ควรจะเป็นแล้วครับ เราไม่ควรจบ  เพียงเพราะว่าได้ทำตาม protocal เสร็จสิ้นการดูแลทางคลินิก

แต่เพราะ คนไข้ก็เป็นคน แม้อาจดูไม่น่าจะรู้สึกอะไร พูดไม่ได้ ตอบสนองอะไรก็ดูไม่ค่อยได้ แต่คนไข้แบบนี้ อาจจะรู้สึกได้ รับรู้ได้ ญาติที่ดูแลก็เป็นคน มีความรู้สึกทุกข์ มีความผูกพันธ์ เหมือนกัน

ที่สำคัญเราเองก็เป็นคน มีสุขมีทุกข์เหมือนกัน แล้วเราก็เป็นบุคคลเพียงไม่กี่คน ที่จะต้องร่วมตัดสินใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น ถ้าเราไม่รู้สึกคิดแบบที่อาจารย์คิด  การตัดสินใจจะอยู่บนพื้นฐานของตำรา ของprotocal  ที่ไม่แน่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้และญาติหรือไม่ 

หัวหน้าพยาบาลมองแล้วเฉย ๆ ก็คงไม่แปลกครับ เขาเห็นของเขาอย่างนี้มานานจนชินชาไปเสียแล้ว  ผมเห็นพวกเราตามโรงพยาบาล แผนก ER เวลา resuscitation ยังหัวเราะ ไป CPR ไป อยู่บ่อย ๆ เลยครับ

 

สวัสดีค่ะคุณหมอจิ้น

ขอบคุณมากๆเลยค่ะที่แวะมาอ่านและลงความเห็นไว้ มัทมีเหตุการณ์ให้เรียนรู้ใจตัวเอง และสอนการเป็นหมอที่มากไปกว่าอ่านเจอในตำราหรือกฎ protocol เรื่อยๆค่ะ  แล้วจะมาบันทึกไว้ เพื่อนขอคำปรึกษาอีกใน โอกาสต่อๆไปนะคะ

  

มัทคิดเหมือนพี่แอมป์ (ดอกไม้ทะเล) เลยค่ะ ยิ่งพยาบาลที่อารมณ์ดีตลอดเวลา ยิ้มแย้มทำงานในแผนกผู้ป่วยเรื้อรังยิ่งน่าชื่นชมมากค่ะ

 

ใช่เลยค่ะคุณ Conductor

่มัทก็ต้องพยายามไม่เผลอ ต้องคิดว่าท่านอาจจะได้ยินหมด แต่ตอบโต้ไม่ได้เท่านั้นเอง

  

ไม่แน่ใจว่าผู้ป่วยรายนี้มี caregiver ไหมครับ ถ้ามีเขาคิดอย่างไร คงต้องคุยในรายละเอียด น่าจะเกิดจากการตัดสินใจร่วมครับ

ส่วนความรู้สึกของคุณมัทที่ว่า

"ไม่รู้ว่าจะรู้สึกอย่างไรดี" ผมคิดว่าน่าสนใจครับ ผมคิดว่าคงเป็นความรู้สึกเชิงลบ+อึดอัดต่อความไม่แน่นอน ความไม่แน่นอนทำให้เกิดความกังวล การกำจัดความรู้สึกที่ไม่ดีที่ดีที่สุดคือ "ทำความเข้าใจอารมณ์นั้น ตระหนักรู้ โดยไม่นำมาเป็นอารมณ์ สุดท้ายทุกปัญหามักคลี่คลายตัวเองตามเหตุปัจจัย"

สวัสดีค่ะ คุณโรจน์

ไม่ได้เจอนานเลย

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะ 

"ทำความเข้าใจอารมณ์นั้น ตระหนักรู้ โดยไม่นำมาเป็นอารมณ์"

ลองคิดดูเหมือนกันค่ะ พูดตามตรงว่า รู้สึกแย้งในใจค่ะว่า ถ้าเค้าเป็นมะเร็งอาจจะดีจะได้พ้นทุกข์เร็วขึ้น เพราะอยู่แบบนี้มันทรมานเหลือเกิน เจ็บอยู่ทุกวัน  สื่อสารก็ไม่ได้ แต่อีกใจก็คิดว่าเราไม่น่าแว๊บคิดแบบนั้นเลย เราไม่มีสิทธิ์ เพราะชีวิตก็คือชีวิต แถมมะเร็งก็เจ็บเช่นกัน 

มัทนึกถึง พรหมวิหาร 4 เลยค่ะ ช่วยได้มาก แล้วก็นึกต่อเรื่องอิทัปปัจจยตาต่อมา

คล้ายกับที่คุณโรจน์แนะนำเลยค่ะ 

"สุดท้ายทุกปัญหามักคลี่คลายตัวเองตามเหตุปัจจัย"

ขอบคุณมากเลยนะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท