ฤาคือชุดผู้นำ APEC 2007


ความเรียง ต่อคำถามในความยิ่งใหญ่ของออสเตรเลีย เมื่อต้องตอบคำถามในนามของอัตตลักษณ์ ในความเป็นชาติออสเตรเลีย เมื่อต้องตอบคำถามในการจัดประชุมผู้นำประเทศ APEC 2007 ว่าแท้จริงแล้ว อัตตลักษณ์ของออสเตรเลีย ซึ่งปรากฎในเครื่องแต่งกายนั้น อยู่ ณ แห่งหนใด

ฤาคือชุดผู้นำ APEC 2007

    

อ้างอิง - ข้อมูลภาพ

Title : Personal photographs of the Hon. C L A Abbott during his term as Administrator of the Northern Territory - Aborigine Chief of Bathurst Island who died of fright in Darwin when he saw his first motor car Date : 1939 [[1]] 

ฤาคือชุดผู้นำ APEC 2007 

คำท้าทายสนุกสนานประการสำคัญของข่าวก่อนการประชุม APEC 2007 ในเช้าก่อนวันเปิดงานการประชุม 2 - 9 กันยายน 2550 คือ เนื้อหาแห่งภาพลักษณ์ ในเครื่องแต่งกายของผู้นำแต่ละชาติ ซึ่งจะต้องเข้าร่วมการประชุม

ซึ่งที่ผ่านมาในทุกครั้งของการประชุมแต่ละประเทศสมาชิก

ถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการจัดงาน 

ครั้งนี้ก็เฉกเช่นกัน ที่เครื่องแต่งกายของผู้นำ กลายเป็นคำตอบบางประการ ความหมายในเครื่องแต่งกาย ซึ่งมิใช่เพียงเครื่องนุ่งห่ม แต่ความหมายครั้งนี้  คือภาพประวัติศาสตร์ แห่งอัตตลักษณ์ของชาติ ออสเตรเลีย

ชาติแห่งหม้อต้มเผ่าพันธุ์จากดินแดนใต้ แผ่นดินยิ่งใหญ่ระดับทวีป ซึ่งกล่าวอ้างถึงการพัฒนาและอารยะ ของสังคมเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่หากไม่ลืมเลือนประวัติศาสตร์

นับสองร้อยปีที่ผ่านมา เราก็จะพบความจริง หรือนับแค่เพียงจากยุค 50 - 70 เราก็จะพบกับบาดแผลใหม่สดอันเจ็บปวด เพราะมีเรื่องราวของประชาชาติแท้จริงแห่งแผ่นดินนี้ ซึ่งล้วนถูกเข่นฆ่า กักขัง โยกย้ายถิ่นฐาน พรากแผ่นดิน พลัดถิ่นเกิด และอีกนานัปการของบทเรียนอันแสนเจ็บปวด 

ดินแดนแห่งนี้ ไม่ใช่เพียงอารยะแห่งการเริ่มต้นอันงดงาม เท่าที่คนขาวเคยกล่าวเยินยอยกย่อง แต่กลับกอปรด้วยรอยแผล   

อาจมีคำถามหรืออุทานว่า ก็แค่เครื่องแต่งกายผู้นำ  

แต่ไม่ควรลืมความจริงที่ซ่อนอยู่ภายใต้เนื้อผ้า หากมองคำตอบของอัตตลักษณ์ และความยิ่งใหญ่ซึ่งทุกชาติได้กระทำต่อเนื่องกันมา ความจริงจากภาพของเครื่องแต่งกาย ซึ่งประเทศเจ้าภาพจัดไว้ให้แก่ผู้นำของชาติสมาชิก คือ หนึ่งในสัญลักษณ์ของแต่ละประเทศ

ที่ต่างประกาศความจริง และอารยะอันยิ่งใหญ่ ซึ่งสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายของชนชาติให้บังเกิดขึ้น

และเป็นความภาคภูมิในอัตตลักษณ์ ที่จะมอบเป็นหนึ่งบรรณาการให้แก่ผู้นำชาติเหล่านั้น

เช่นกันในครั้งนี้ ที่ความพิกลพิการในอารยะของออสเตรเลีย ได้รับการขุดคุ้ยออกมา

ความจำเป็นในการใช้ชุดประจำชาติ อาจเป็นสัญลักษณ์ในการบอกกล่าวต่อชาวโลก

อาจคาดเดาได้ไม่ยากเย็นนักว่า แทบจะไม่มีทาง ที่ผู้นำแต่ละชาติจะสวมผ้าเตี่ยวผืนเดียว เช่นชาวเผ่าอะบอริจิน แทบจะปิดประตูตายได้ว่า 

ครั้งนี้ ผลิตผลชนเผ่า  จะไม่ใช่เครื่องแต่งกายของผู้นำชาติสมาชิก APEC อย่างแน่นอน แต่คำถามคือ ชุดที่จะนำมาแสดงแทนนั้น จะปิดรอยแผลแห่งประชาชาตินี้ได้อย่างไร

รอยแผลแห่งหม้อชนชาติหลากหลายเผ่าพันธุ์ ที่คนขาวพยายามจะปิดรอยแผลแห่งประวัติศาสตร์ และปิดความพ่ายแพ้ จากการเข่นฆ่ากดขี่ในประวัติศาสตร์ ให้ออกมาเป็นความสมานฉันท์ กลมเกลียว จนพยายามจะบอกกล่าวว่า เป็นน้ำเป็นเนื้อเดียวของประวัติศาสตร์ชาติตนเอง รอยแผลของออสเตรเลีย ที่ไม่ได้รับการตอกลิ่มมานาน 

ครั้งนี้ได้รับการท้าทาย จากบทพิสูจน์ของผู้นำประเทศซึ่งชอบทำศึกนอกบ้าน ให้ต้องแก้ปัญหาจากสงครามแห่งอัตตลักษณ์ และบาดแผลในชาติตนเอง

  

ครั้งนี้คือ คำตอบที่ออสเตรเลียต้องตอบ 

มากกว่าการตอบว่า ตนเองจะอยู่แผ่นดินเอเชีย หรือ แผ่นดินโอเชียเนีย 

ครั้งนี้ ตอบได้ยาก แต่ต้องตอบ  

และต้องบังคับตอบ เพื่อให้ได้คำตอบที่ออกมาดีที่สุด ทั้งยากลำบาก และต้องดำรงความเท่าเทียมเสมอภาคให้มากที่สุด 

โจทย์ยากตอบยากแก้ยาก แต่ต้องแก้โจทย์นี้ให้ได้ 

งานนี้ต้องลองตอบโจทย์ยาก ในบ้านกันดูสักที

     

Indigenous Australians

From Wikipedia, the free encyclopedia

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">Indigenous Australians are descendants of the first known human inhabitants of the Australian continent and its nearby islands. The term includes both the Torres Strait Islanders and the Aboriginal People, who together make up about 2.5% of Australia’s population. The latter term is usually used to refer to those who live in mainland Australia, Tasmania, and some of the other adjacent islands. The Torres Strait Islanders are indigenous Australians who live in the Torres Strait Islands between Australia and New Guinea. Indigenous Australians are recognised to have arrived between 40,000 and 70,000 years ago, though the lower end of this range has wider acceptance.</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">The term Indigenous Australians encompasses many diverse communities and societies, and these are further divided into local communities with unique cultures. Fewer than 200 of the languages of these groups remain in use — all but 20 are highly endangered. It is estimated that prior to the arrival of British settlers the population of Indigenous Australians was up to 1 million.[citation needed] The distribution of people was similar to that of the current Australian population, with the majority living in the south east centered along the Murray River.</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">Although the culture and lifestyle of Aboriginal groups have much in common, Aboriginal society is not a single entity. The diverse Aboriginal communities have different modes of subsistence, cultural practices, languages, and technologies. However, these peoples also share a larger set of traits, and are otherwise seen as being broadly related. A collective identity as Indigenous Australians is recognised and exists along names from the indigenous languages which are commonly used to identify groups based on regional geography and other affiliations. These include: Koori (or Koorie) in New South Wales and Victoria; Murri in Queensland; Noongar in southern Western Australia; Yamatji in Central Western Australia; Wangkai in the Western Australian Goldfields; Nunga in southern South Australia; Anangu in northern South Australia, and neighbouring parts of Western Australia and Northern Territory; Yapa in western central Northern Territory; Yolngu in eastern Arnhem Land (NT) and Palawah (or Pallawah) in Tasmania.</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">These larger groups may be further subdivided; for example, Anangu (meaning a person from Australia’s central desert region) recognises localised subdivisions such as Yankunytjatjara, Pitjantjatjara, Ngaanyatjara, Luritja and Antikirinya.</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">The term “blacks” has often been applied to Indigenous Australians. This owes rather more to racial stereotyping than ethnology, as it categorises Indigenous Australians with the other black peoples of Asia and Africa, despite the relationships only being ones of very distant shared ancestry. In the 1970s, many Aboriginal activists, such as Gary Foley proudly embraced the term “black”, and writer Kevin Gilbert’s groundbreaking book from the time was entitled Living Black. In recent years young Indigenous Australians — particularly in urban areas — have increasingly adopted aspects of black American and Afro-Caribbean culture, creating what has been described as a form of “black transnationalism.”[1</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p> 

หมายเลขบันทึก: 125397เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2007 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท