ความมั่นคงมนุษย์


ถ้าอยากรู้ว่าคนไทยมีความมั่นคงแค่ไหน ดูอะไรดีครับ

วันนี้ผมไปประชุมกับกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงทรัพยากรมนุษย์ เรื่องการสร้าง scenario เพื่อทำยุทธศาสตร์ การพัฒนาความมั่นคงมนุษย์ของไทย (สามคำโตที่กว้างขวางใหญ่โตเหลือหลาย)

กระทรวงพัฒนาสังคมต้องจัดว่าเป็นกระทรวงที่มีความเคลื่อนไหวน่าสนใจ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยมีการทำตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์ โดยทำขึ้นมาใหม่ ไม่ใช้ตัวชี้วัดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ UNDP ทำมาก่อน (ไม่รู้ทำไม คงอยากให้เป็นแบบไทยๆ

ผมไม่รู้ว่าพวกเราตีความว่าความมั่นคของมนุษย์แปลว่าอะไร แต่ผมคิดว่าแนวคิดการพัฒนาตัวชี้วัดสถานะความมั่นคงมนุษย์ในไทยจัดว่าน่าสนใจ เพราะอาจมากระตุ้นให้คนไทยหันมาดูว่า ขณะนี้คนไทยมีความมั่นคงแค่ไหน ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนคงอยากถามว่า  ไอ้ความมั่นคงของมนุษย์นี่มันแปลว่าอะไร  ผมเองก็มีหลายกรอบความคิด ด้านหนึ่งก็คิดถึงอีกด้านของสิ่งที่เรียกว่า ความเสี่ยง แต่อักด้านก็คิดไปถึงแนวคิดเรื่อง อยู่ดีมีสุข (ซึ่งมากกว่าแค่ไม่มีความเสี่ยง)

 

ไม่รู้ว่าพวกเราที่อ่าน blog คิดไงนะครับ ถ้าอยากรู้ว่าคนไทยมีความมั่นคงแค่ไหน ดูอะไรดีครับ 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 12536เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2006 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมนึกถึง HDI ที่ดูสามตัว (ถ้าจำไม่ผิด) คือ
- ไม่โง่ (เด็กได้เข้าโรงเรียน)
- ไม่จน (standard of living, GDP)
- ไม่เจ็บ (อายุยืนยาว)

อีกอย่างที่น่าวัด ก็คืออัตราการตาย และการเกิดอาชญากรรม
รูปแบบต่างๆ  ถ้าจำแนกให้ละเอียด (วิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วย)
ก็น่าจะได้ตัวชี้วัดดีๆ อีกหลายตัว

มาเล่าเพิ่มเติมครับ

ที่คุณ morning glory(ไม่รู้ตั้งใจะให้แปลว่าผักบุ้งหรือเปล่าครับ) มาแลกเปลี่ยนก็อยู่ในขอบเขตที่เขาพูดๆกันอยู่ครับ

แต่หลายคนอาจจะตกเก้าอี้ถ้ารู้ว่าตอนนี้ทางกระทรวงเขากำหนดว่าความมั่นคงมนุษย์น่าจะมีทั้งหมด 10 ด้าน โดยส่วนใหญ่จะคล้าย จปฐ ที่เคยมี ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะหลักๆมนุษย์เราก็ต้องการของพวกนี้อยู่แล้ว ถ้าพระพุทธเจ้าท่านก็บอกว่าปัจจัย4

แต่ดูเหมือนสังคมทุกวันนี้ซับซ้อนขึ้น คววามมั่นคงจึงไม่ขึ้นกับแค่ปัจจัย4 หรือพูดอีกอย่างก็คือ แค่จะให้มีปัจจัย4 ก็ต้องมีโครงสร้างในสังคมที่ดี อย่างเช่น ยารักษาโรคที่จริงก็คือระบบบริาร หรือการเข้าถึงบริการเป็นต้น  เครื่องนุ่งห่มก็กลายเป็นของที่มีกันจนไม่น่าจะต้องห่วง เลยกลายเป็นเรื่องอื่นอย่างเช่นการศึกษา ซึ่งไปถึงเรื่องการเข้าถึงข้อมูลความรู้  ส่วนเรื่องที่อยู่อาศัยนั้น ผ่านพุทธกาลมากว่า 2000 ปีก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ และดูจะกลายเป็นปัจจัยที่สะท้อนความไม่มั่นคงมากขึ้นเรื่อยๆ

ที่น่าสนใจคือผู้แทนกระทรวงต่างประเทศเข้าร่สมประชุมด้วย พูดถึงข้อตกลงระหว่างประเทศ เรื่องการปลอดทุ่นระเบิด  ใครไม่เคยรู้ว่าเรื่องนี้กระทบความมั่นคงมนุษย์ยังไง ถ้าไปยีนรอข้ามด่านที่อรัญ (ซึ่งผมเคยไปเข้าคิวรอมาแล้วเพื่อจะข้ามไปเที่ยว นครวัดที่เสียมเรียบ) ก็จะเห็นผู้คนมากมายที่ชีวิตเปลี่ยนไปเพราะทุ่นระเบิด 

ที่น่าสนใจคือผู้แทนกระทรวงต่างประเทศบอกว่าประเทศเรามีถึง 27 จังหวัดที่ยังมีปัญหาทุ่นระเบิด ฟังดูน่าเป็นห่วงมาก ทำให่พวกเราที่วันๆอยู่แต่ที่กรุงเทพ ต้องกลับมาถามตัวเองว่าพวกเราช่างสบายจริงหนอ แต่สำหรับเพื่อนเราในหลานพื้นที่ ความมั่นคงในชีวิตที่พื้นฐาน คือการเดินไปไหนมาไหนโดยไม่ต้องกลัวขาขาด ก็ยังไม่มีเลย 

ถ้าใครสนใจชุดเต็มๆของตัวชี้วัดทั้ง 10 มิติจะติดต่อไปที่ กองพัฒนาตัวช้วัด ของกระทรวงพัฒนาฯก็ได้นะครับ

 

เรียน คุณหมอสมศักดิ์

ผมลองค้นไฟล์เก่า ๆ เรื่องความมั่นคงของมนุษย์ สมัยที่ผมร่วมจัดสร้าง(ให้กับกระทรวงปีแรก ซึ่งก็ลองผิด ลองถูกเชิงระเบียบวิธี) ได้ 70 ตัวชี้วัดครับ...

สังคม

ความมั่นคงมนุษย์ด้านสุขภาพ

1. อัตราผู้ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ

2.อัตราผู้ขาดการฝึกจิตใจให้สะอาดผ่องแผ้วเป็นนิจ

3. อัตราผู้ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคที่ป้องกันได้

4. อัตราผู้ติดเชื้อเอดส์ (HIV) และโรคติดต่อร้ายแรง

5. อัตราผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้าถึงสถานพยาบาลที่มีมาตรฐานภายใน 40 นาที

6. อัตราผู้ไม่สามารถเข้าถึงระบบประกันสุขภาพ

7. อัตราผู้สูบบุหรี่

8. อัตราผู้ติดสุราเรื้อรัง

9. อัตราผู้ติดสารเสพติด

10. อัตราผู้พยายามฆ่าตัวตาย

ความมั่นคงมนุษย์ด้านอาหาร

11. อัตราผู้มีอาหารกินไม่ครบมื้อ

12. อัตราผู้มีภาวะทุพโภชนาการ

13. อัตราผู้กินเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุกด้วยความร้อน

14. อัตราผู้บริโภคเครื่องดื่มชูกำลังเป็นประจำ

ควมมั่นคงของมนุษย์ด้านการศึกษา

15. อัตราคนไทยที่อ่านและเขียนภาษาไทยไม่ได้

16. อัตราคนไทยที่พูดภาษาไทยไม่ได้

17. อัตราผู้ที่ไม่สามารถเข้าเรียนในสถานศึกษาที่มีมาตรฐาน

18. อัตราผู้ไม่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

19. อัตราคนไทยที่ขาดความรู้พื้นฐานภูมิปัญญาไทย

20. อัตรานักเรียน / นักศึกษา ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศจากครู / อาจารย์

ความมั่นคงของมนุษย์ด้านศาสนา

21. อัตราผู้ถูกหลอกลวงให้หลงเชื่อหลักคำสอนทางศาสนา หรือลัทธิความเชื่อที่ผิดเพี้ยน

22. อัตราผู้ติดอบายมุข

23. อัตราผู้ประพฤติผิดคำสอนข้อห้ามทางศาสนาที่ร้ายแรง

24. อัตราผู้บริโภคสื่อลามก

ความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย

25. อัตราผู้มีที่อยู่อาศัยในสภาพผุพัง

26. อัตราผู้ที่ประสบปัญหาที่อยู่อาศัยจากอัคคีภัย

27. อัตราผู้ใหญ่ที่ไม่มีห้องส่วนตัวในที่อยู่อาศัย

28. อัตราผู้ถูกไล่รื้อ หรือถูกบังคับย้ายออกจากที่อยู่อาศัย

29. อัตราครัวเรือนที่ไม่มีน้ำประปา

30. อัตราครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้า

31. อัตราครัวเรือนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่ออุบัติภัยจากวัตถุอันตรายหรือสารพิษ

ความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม

32.อัตราผู้ป่วยจากมลพิษทางอากาศ

33.อัตราผู้ป่วยที่ใช้แหล่งน้ำธรรมชาติที่มีสารพิษปนเปื้อน

34.อัตราผู้ได้รับอันตรายจากจากสารเคมีทางการเกษตร

ความมั่นคงด้านบุคคล

35. อัตราผู้ทุพลภาพและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน

36. อัตราผู้ตกเป็นเหยื่อในขบวนการค้าเด็ก

37. อัตราผู้ตกเป็นเหยื่อในขบวนการค้าประเวณี

38. อัตราผู้ถูกข่มขืน

39. อัตราคนไทยที่ตกเป็นเหยื่อในขบวนการค้าแรงงาน

40. อัตราผู้ถูกประทุษร้ายขั้นรุนแรง

41. อัตราผู้ที่ถูกฆาตกรรม

42. อัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติภัยและภัยธรรมชาติ

43. อัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจร

44. อัตราผู้เสียชีวิตหรือสูญหายจากการกระทำของรัฐ (เจ้าหน้าที่)

45. อัตราผู้เสียชีวิตหรือหายสาปสูญจากการก่อการร้าย หรือสืบราชการลับของต่างชาติ

ความมั่นคงด้านครอบครัว

46. อัตราคู่สมรสที่แต่งงานก่อนบรรลุนิติภาวะ

47. อัตราคู่สมรสที่แต่งงานโดยไม่มีอาชีพหรือรายได้พอเพียงต่อการมีครอบครัว

48. อัตราคู่สมรสที่ไม่มีการตรวจเลือด

49. อัตราคู่สมรสที่แต่งงานโดยไม่จดทะเบียนสมรส

50. อัตราทารกที่ถูกทอดทิ้ง

51. อัตราเด็กที่ถูกทอดทิ้ง

52. อัตราผู้พิการที่ถูกทอดทิ้ง

53. อัตราผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง

54. อัตราเด็กที่ทำผิดกฏหมาย

55. อัตราผู้ถูกกระทำรุนแรงโดยสมาชิกในครอบครัว

56. อัตราผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยสมาชิกในครอบครัว

57. อัตราการหย่าร้าง

ความมั่นคงด้านชุมชน

58. อัตราผู้ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมหลักของชุมชน

59. อัตราผู้ประสบอันตรายจากความขัดแย้งหรือแบ่งฝักฝ่ายของชุมชน

60. อัตราผู้ตกเป็นเหยื่อวัฒนธรรมต่างถิ่นที่เป็นพิษภัย

ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ

61. อัตราเกษตรกรที่ไม่มีปัจจัยการผลิต

62. อัตราผู้ขาดความมั่นคงในรายได้

63. ร้อยละของคนว่างงาน

64. อัตราครัวเรือนที่มีหนี้สินเกินขีดความสามารถชำระคืน

65. อัตราผู้ตกเป็นเหยื่อในขบวนการอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

ความมั่นคงด้านการเมือง

66. อัตราผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

67. อัตราผู้ประท้วงหรือแสดงออกทางการเมือง

68. อัตราผู้อยู่ในพื้นที่ประกาศกฎอัยการศึก

69. อัตราผู้เสียชีวิตจากการปราบจราจล

70. จำนวนเงินต่อหัวประชากรที่สูญเสียเนื่องจากการคอร์รัปชัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท