การวิจัยในชั้นเรียนคืออะไรกันแน่


ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน ชุดฝึกอบรม เรื่อง การทำวิจัยในชั้นเรียน โดยท่าน ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ครับ

บันทึกแรกนี้ เป็นบันทึกเกี่ยวกับความรู้เรื่องเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนโดยท่าน ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ครับ ขอบคุณครับ

การวิจัยในชั้นเรียนคืออะไรกันแน่

 1. คำนำ

ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ปีการศึกษา 2542 มีคำว่า  การวิจัยในชั้นเรียน   ซึ่งระบุว่าครูเป็นผู้ทำ

การระบุดังกล่าวทำให้ต้องมาตีความว่า  การวิจัยในชั้นเรียนคืออะไร  และครูทำอะไร

ก่อนคือ ควรตั้งคำถามก่อนว่า  อะไรคือการวิจัย  สิ่งที่เรียกว่าวิจัยจะต้องประกอบด้วย

1.       มีปัญหาที่จะต้องวิจัยเท่านั้น

2.       ระบุสาเหตุได้3.       มีวิธีการหาข้อมูลที่เชื่อถือได้

4.       มีการอภิปรายผลเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่/วิธีแก้ปัญหาแบบใหม่/คำตอบแบบใหม่ 

 2. การวิจัยในชั้นเรียนคืออะไร

การวิจัยในชั้นเรียนคืออะไร  การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยของครู  อาจารย์  ซึ่งสังเกตพบว่านักเรียน/นักศึกษาบางคนมีปัญหาบางเรื่อง  และเมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาของนักเรียน/นักศึกษาบางคนดังกล่าว  ระบุได้หลายสาเหตุ  จึงเลือกสาเหตุที่ตนสามารถแก้ไขได้  หาวิธีแก้ไข (ซึ่งไม่ใช่วิธีสอนแบบเดิม) ดำเนินการแก้ไขไปพร้อมๆกับการสอนนักเรียน/นักศึกษากลุ่มใหญ่   จนปัญหาดังกล่าวได้รับการคลี่คลาย  จึงเขียนรายงานการวิจัยซึ่งมีความยาว 2 – 3 หน้า 

สรุปการวิจัยในชั้นเรียน  คือ  การที่ครู/อาจารย์ทำการแก้ปัญหานักเรียน/นักศึกษาอ่อน (บางคน บางเรื่อง) เพื่อให้เรียนทันเพื่อน  หรือพัฒนานักเรียน/นักศึกษาเก่ง (บางคน  บางเรื่อง)    เพื่อให้ถึงศักยภาพสูงสุดของเขา

 3. การวิจัยในชั้นเรียน  เพื่ออะไร  ของใคร

การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน  มิใช่เพื่อขอผลงานของผู้ทำวิจัย การพัฒนาผู้เรียน  หมายถึง    การแก้ปัญหาให้ผู้เรียนอ่อนเรียนทันเพื่อน  กับการเสริมผู้เรียนเก่งให้เก่งตามศักยภาพของเขา

การวิจัยเพื่อนำไปขอผลงาน  ควรทำทีหลังและใช้การสังเคราะห์ผลการการแก้ปัญหาที่แต่ละสาเหตุ  หลายๆสาเหตุจนเกิดองค์ความรู้  ภายใต้ปัญหาวิจัยเดียวกัน

 4. การวิจัยในชั้นเรียนจัดอยู่ในการวิจัยประเภทใด

การวิจัยมีหลายประเภท  เช่น

1.       การวิจัยเชิงทดลอง  ประกอบด้วย  ตัวแปรอิสระ  ตัวแปรตาม  ตัวแปรควบคุม  ประชากร  การสุ่มตัวอย่าง  กลุ่มตัวอย่าง  การเปรียบเทียบใช้สถิติสรุปอ้างอิง (F, ANOVA, t)

2.       การวิจัยเชิงสำรวจ  ประกอบด้วยเครื่องมือวิจัย (แบบสอบถาม  สัมภาษณ์) ประชากร  กลุ่มตัวอย่าง  การสุ่มตัวอย่าง  การสรุปอ้างอิงด้วยสถิติ

3.       การวิจัยเชิงคุณลักษณะ (Qualitative  Research)  เน้นการฝังตัว  ลุ่มลึก  และต่อเนื่องของผู้วิจัยในการรวบรวมข้อมูล

4.       การวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์  เหมาะสำหรับผู้ทำเพื่อรับปริญญามักแบ่งเป็น 5 บท

5.       การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi – Experiment) เป็นการวิจัยที่มีตัวแปรต้น  ตัวแปรตาม  มีการควบคุมตัวแปรเกิน  ใช้การทดลองกับคน แต่ต้องระวังเรื่องจรรยาบรรณของ    นักวิจัย

6.       การวิจัยเชิงสหพันธ์  เป็นการวิจัยที่มีตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัว  และต้องการทราบว่าตัวแปรคู่ใดมีความสัมพันธ์มากน้อยเพียงใด

7.       การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการวิจัยอดีตที่ผ่านมา

8.       การวิจัยเชิงอนาคต  เป็นการวิจัยจากสภาพปัจจุบันเพื่อทำนายอนาคต

9.       การวิจัยในสาขาต่างๆ เช่น  สาขาการศึกษา  เศรษฐศาสตร์  วิทยาศาสตร์  นิติศาสตร์ ฯลฯ

 

การวิจัยในชั้นเรียนจัดอยู่ในสาขาศึกษาศาสตร์  และใช้วิธีวิจัยแบบคุณลักษณะ โดยเน้น การวิจัยรายกรณี (Case Study Research) โดยกรณีนี้ ได้แก่ สาเหตุ มิใช่พื้นที่

           5. การวิจัยในสาขาการศึกษา (ศึกษาศาสตร์) แยกได้กี่ประเภท

        4  ประเภทคือ  (1) การวิจัยในชั้นเรียน  (2) การวิจัยในโรงเรียน  (3) การวิจัยการเรียนการสอนและ  (4) การวิจัยทางการศึกษา  ซึ่งสรุปความเหมือนและต่างดังนี้

 
รายการ การวิจัย
ในชั้นเรียน ในโรงเรียน การเรียนการสอน การศึกษา

เป็นการวิจัยหรือไม่

ü

ü ü ü

ใครทำ

ครู-อาจารย์ประจำ

ศึกษานิเทศ  ผู้บริหารโรงเรียน//

ครู-อาจารย์ที่ว่าง และ ผู้เชี่ยวชาญ

นักวิจัยการศึกษา  นักการศึกษา

ทำอะไร

แก้ปัญหาผู้เรียนบางคน  บางเรื่อง

แก้ปัญหาครู-อาจารย์บางคน  บางเรื่อง

แก้ปัญหาผู้เรียนทั้งห้อง หาองค์ความรู้

แก้ปัญหาระดับใหญ่ หาข้อมูลเชิงนโยบาย

เริ่มที่ไหนและอย่างไร

สังเกตเห็นผู้เรียนบางคนมีอาการผิดปรกติ

สังเกตครู-อาจารย์บางคนมีอาการผิดปรกติ

ทบทวนงานวิจัย และระบุปัญหาวิจัย

ทบทวนงานวิจัย  หรือผลการศึกษาเกี่ยวกับสภาพทางการศึกษาของประเทศ

ทำที่ไหน

ใน/นอกห้องเรียน

ใน/นอกโรงเรียน//

ใน/นอกห้องเรียน/โรงเรียน

ใน/นอกโรงเรียน

ทำเพื่ออะไร

แก้ปัญหาผู้เรียนบางคน  บางเรื่อง

แก้ปัญหาครู-อาจารย์บางคน  บางเรื่อง

ทดลองแนวคิดใหม่ๆหาองค์ความรู้

ทดลอง/แก้ปัญหาระดับใหญ่  หาคำตอบใหม่ เพื่อกำหนดนโยบายใหม่

การออกแบบการวิจัย

ไม่เป็นทางการ

ไม่เป็นทางการ

เป็นทางการ

เป็นทางการ

เครื่องมือวิจัย

ไม่ต้องมี ครู-อาจารย์ คือเครื่องมือวิจัย

ไม่ต้องมี ศึกษานิเทศ ผู้บริหาร คือ เครื่องมือวิจัย

ต้องมีและเชื่อถือได้

ต้องมีและเชื่อถือได้

การระบุประชากร กลุ่มตัวอย่าง

ไม่

ไม่

ต้อง

ต้อง

การสุ่มตัวอย่าง

ไม่

ไม่

ต้อง

ต้อง

การเก็บข้อมูล

2-3 วัน

4-5 วัน

นาน

นาน

 
รายการ การวิจัย
ในชั้นเรียน ในโรงเรียน การเรียนการสอน การศึกษา

การวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์เนื้อหา

วิเคราะห์เนื้อหา

สถิติและทดสอบนัยสำคัญ

สถิติและทดสอบนัยสำคัญ

เวลาใช้ทำวิจัย

2-3 วัน

4-5 วัน

นาน

นาน

ความยาวของรายงาน 1เรื่อง

2-3 หน้า

2-3 หน้า

5 บท

มากกว่า 5บท

ทำเมื่อไร

ทำไปสอนไปพร้อมกัน

ทำไปนิเทศ/บริหารไป พร้อมกัน

ต้องมีเวลาว่าง (หนีสอนไปทำ)

ต้องมีเวลาว่าง

เสียค่าใช้จ่าย

ไม่

ไม่

ต้อง

ต้อง

อนาคตของผู้ทำ

ครู-อาจารย์มืออาชีพ

ศึกษานิเทศ  ผู้บริหารมืออาชีพ

นักวิจัยการศึกษา

นักวิจัยการศึกษา

ทำเพื่อใคร

ผู้เรียน

ครู

ตัวเอง

ตัวเอง/ประเทศ

จำนวนเรื่อง/ปี

มากกว่า 100 เรื่อง

หมายเลขบันทึก: 125343เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2007 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมต้องการตัวอย่างแบบทดสอบปลายเปิดของการวิจัยในชั้นเรียน

กรุณาค้นหาให้ผมครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท