เรียนจบบรรณารักษ์ไปทำอะไรกิน


บรรณารักษ์
ในยุคปัจจุบัน ถือกันว่าเป็นยุคแห่งสังคมสารสนเทศ ที่ข้อมูล ข่าวสารมีมากมายหลากหลาย ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งในรูปที่จับต้องได้เช่น หนังสือ วีดีโอ เทปเสียง ภาพถ่าย แผนที่ และที่เป็นดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ท ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เกิดขึ้นทุกวัน วันละมากๆเสียด้วย บางครั้งก็มีคุณภาพ บางทีก็ด้อยคุณภาพ บางครั้งมีระเบียบแบบแผน บางทีก็กระจัดกระจายไม่เป็นระบบ ทั้งๆที่ข้อมูลเหล่านี้มีคุณค่าต่อการตัดสินใจ ในชีวิตประจำวัน ในการดำเนินธุรกิจ
         แต่บางครั้งเราก็ไม่สามารถนำเอาทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
อุปมาดังปลาในสระใหญ่ ที่คนไม่มีคนทำอวน ทำแห มาทอดจับไปขาย
ฉันใดก็ฉันนั้น บรรณารักษ์(Librarian)และนักสารสนเทศ(Information Specialist) ก็คือชาวประมง
ผู้ชาญฉลาด มีเครื่องมือคือแห อวนอันทรงอานุภาพ จับปลาเหล่านั้นมาขาย แล้วไม่ใช่ขายธรรมดา
ต้องสามารถจำแนกปลาแต่ละประเภท ได้อีกด้วย เพื่อให้เหมาะกับลูกค้าที่จะมาซื้อหาไปทำการอื่นใดต่อไป

         โลกปัจจุบันและตลาดงานปัจจุบัน ยังขาดคนเหล่านี้อยู่มาก ทางรัฐบาลเองก็ส่งเสริม
การสร้างแหล่งเรียนรู้ ทั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ขนานใหญ่ แล้วใครเล่าใครจะไปทำงาน ถ้าไม่ใช่ผู้ที่จบในสาขาเหล่านี้


         บรรณารักษศาสตร์ , บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
, สารนิเทศศึกษา, สารสนเทศศาสตร์ จะชื่อใดก็ตาม ล้วนแต่มีกำเนิดและมีเนื้อหาหลักวิชาตรงกันทั้งสิ้น คือการสร้าง
นักวิชาชีพ หรือ มืออาชีพ ในด้านการจัดการข้อมูลข่าวสารให้เกิดระบบ ตั้งแต่การแสวงหาสารสนเทศ การจัดเก็บ
การนำออกมาใช้ การให้บริการ ซึ่งงานลักษณะนี้ สาขาวิชาชีพอื่นๆไม่สามารถจะทำแทนกันได้ ต้องเป็นผู้ที่จบใน
ศาสตร์เหล่านี้จริงๆเท่านั้น

         ดังนั้นหน้าที่จริงๆของบรรณารักษ์จึงไม่ใช่การจัดชั้นหนังสือ แต่เป็นการจัดการให้หนังสือแต่ละเล่มอยู่อย่าง
เป็นระบบในห้องสมุด โดยการวิเคราะห์และกำหนดสัญลักษณ์ คือเลขหมู่ให้หนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันอยู่ด้วยกัน สร้างเครื่องมือช่วยค้นให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงหนังสือที่ตัวเองต้องการได้ เช่นการค้นจากคอมพิวเตอร์ และให้บริการ
ตอบคำถาม แก่ผู้ใช้ที่สงสัยเกี่ยวกับสารสนเทศต่างๆ


        วิชาในหลักสูตรนี้ จะมีทั้งวิชาด้านการวิเคราะห์เนื้อหา และการจัดการสารสนเทศประเภทต่างๆเป็นวิชาหลักเพื่อให้สามารถจำแนกแยกแยะว่าสารสนเทศเนื้อหาแบบใด
ควรจะจัดการย่างไรให้เหมาะสมกับผู้ใช้ และวิชาด้านเทคนิคต่างๆ ซึ่งในปัจุบันต้องเรียนวิชาด้านคอมพิวเตอร์ทั้ง
การทำเว็บไซต์ การวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ ฯลฯ รวมถึงวิชาด้านการประชาสัมพันธ์ และการให้บริการ
อีกด้วย
ด้วยเนื้อหาวิชาลักษณะนี้ผู้ที่จบออกไปจึงสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับสารสนเทศที่ไม่ใช่หนังสือได้
หลากหลาย ดังนั้นเราจึงพบว่า ผู้ที่จบบรรณารักษ์ สามารถไปทำงานเป็น นักจัดการข้อมูลในศูนย์ข้อมูลต่างๆได้ หรือจะเรียกให้โก้ๆก็ต้องเรียกว่าศูนย์สารสนเทศขององค์กร ต่างๆ มีหลายๆคนก็ไปเป็นนักข่าว , ฝ่ายข้อมูลบริษัท
โฆษณา , เว็บมาสเตอร์, เจ้าหน้าที่บริการงานทั่วไป, นักวิชาการสารสนเทศ, อาจารย์ กระทั่งเป็นเจ้าของร้านทอง
ก็เป็นร้านทองIT

        จุดเด่นของสาขาบรรณารักษ์ฯ ก็คือการสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานลักษณะต่างๆได้อย่าง
หลากหลายนั่นเองอีกทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดงานมาก โดยเฉพาะตำแหน่งบรรณารักษ์ฯ เนื่องจากคนสนใจ
น้อยแต่ความต้องการ และการพัฒนาห้องสมุดมีมากนั่นเอง

คำสำคัญ (Tags): #บรรณารักษ์
หมายเลขบันทึก: 125183เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2007 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สสวัสดีค่ะ น้องภาวินี

เปรียบลักษณะการทำงานของบรรณารักษ์เช่นเดียวกับชาวประมง

ทำให้มีความสุขขึ้นเยอะเลย...เพราะดูว่าลักษณะงานจาเหมือนกัน...แต่บรรณารักษ์ดูท่างานจาเบากว่าเยอะ อิอิ

ว่างๆ จะแวะมาเยี่ยมอีกค่ะ

30 กันยายน 2551

ขอเพิ่มเติม ให้อีกนิดหนึ่งนะจ้ะ ว่าแบบแผนที่บอกไว้ นั้นมีร่ำเรียนกันมากว่า 50 ปีแล้วและปัจจุบันยังคงไม่พัฒนาไปไหน มากนัก

ในหลายมหาวิทยาลัย ยังคงใช้หลักสูตรทำนองนี้อยู่เรื่อยมา ปัญหาใหญ่ๆของ บรรณารักษ์ในปัจจุบัน คือ มีความเข้าใจในศาสตร์ต่างๆไม่ลึกซึ้ง

มากเพียงพอ จึงมักมีอุปสรรค ในการจัดหมู่ไม่ถุกต้องเท่าที่ควร และมีศักยภาพในการให้ หัวเรื่องไม่สมบูรณ์เท่าที่ เนื้อหาของสารสนเทศนั้นๆพึงมีได้ อุปสรรคสำคัญประการหนึ่ง คือ บรรณารักษ์เกือบจะ 97% ในประเทศไทย จะมีพื้นฐานความรู้ด้านศิลปศาสตร์ หรือ อักษรศาสตร์ดีพอใช้ แต่ไม่สันทัด หรือเข้าถึงศาสตร์ด้าน วิทยศาสตร์และเทคโนโลยีดีพอ จึงทำให้ การให้หมวดหมู่หลายหมวดหมู่สับสน หรือ ไม่สามารถกำหนดชื่อหัวเรื่อง ได้หลากหลายคุ้มค่ากับที่ สารสนเทศนั้นมีอยู่ ส่วนใหญ่จะ เรียกใช้คู่มือ ที่กำหนดมาให้แล้ว ถ้าไม่มีมาให้ก็ งงงวยหนักหน่อย และปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสูงมากๆ การเรียกใช้ keyword ในการสืบค้น ทดแทน เลขเรียกหนังสือ ทดแทนหัวเรื่อง ทดแทนคำค้นชื่อเรื่อง ฯลฯ ผล คือ บรรณารักษ์จะ แสวงหาคำค้นเหล่านั้นได้อย่างยากลำบากมากๆยิ่ง ขอยกตัวอย่างให้ท่านลองอธิบายความแตกต่าง ของเนื้อเรื่องในหมวดหมู่ ธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา ภูมิศาสตร์กายภาพ ดิน หิน อุตุนิยมวิทยา แตกต่างกันตรงไหนบ้าง ทำไมจึงต้อง

อยู่ในหมวดหมู่ที่ต่างกัน อย่าบอกว่า เพราะคู่มือ ดรรชนีบ่งบอกไว้ (มันง่ายเกินไป) อีกตัวอย่างหนึ่ง ที่น่าสนใจ ว่าจะวิเคราะห์ให้อยู่ในหมวดหมู่ที่แตกต่างกันได้อย่างไร คือ หมวดหมู่สาขา โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ กับ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีชื่อเรียกเหมือนกัน

งานของบรรณารักษ์ในปัจจุบัน ไม่ใช่บอกรายละเอียดของสารสนเทศ 8-12 บรรทัด เท่าที่เคยใช้ในบัตรรายการเท่านั้น เมื่อนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้แล้ว เราจะสามารถบรรจุรายละเอียดได้ถึง 25 บรรทัดและต่อเนื่องได้ไม่จำกัด แล้วบรรณารักษ์จะเอาอะไรมาใส่ไว้

สิ่งที่เราเรียกว่า OPAC นั้น จะต้องไม่บอกเพียงแค่ อยู่ที่ไหน อย่างไร จะต้องบอกได้อีกว่า มีอะไรอยู่ในนั้นบ้าง จะมีรายละเอียดโดยสังเขปได้ไหม หรือ จะมีรายละเอียดแบบ fulltext ได้เลย หรือ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสาขาอื่นๆได้อีกอย่างไร แลจะเชื่อมต่อกับสิ่งที่เรียกว่า e-access ได้อย่างไรบ้าง นอกจากนั้น งานของบรรณารักษ์ จะต้อง วางแบบแผนของอนาคตในสังคมแห่งการเรียนรู้ ไว้ให้กับสังคมที่บรรณารักษ์-ห้องสมุดแห่งนั้นปฏิบัติการอยู่ ด้วยทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น อาจจะเรียกว่า เป็นกระบวนการหนึ่งของ

อนาคตศาสตร์(future science)และห้องสมุดที่มีชีวิต ที่จะต้องมีพัฒนาการเจริญเติบโตเพื่อ ให้มีทรัพยากรสารสนเทศ

สำหรับอนาคตของสังคมเสมอๆ

ยังมีปัญหาอีกมากมาย ที่สังคมการเรียนรู้ ของเราก้าวไปไกลมากแล้ว แต่หลักสูตรบรรณารักษ์ยังคง กระเตาะกระแตะ ไปอย่างเชื่องช้า

เช่น ปัญหาของ สารสนเทศอ้างอิง ที่กำลังแข่งขันกับ วิทยาการโทรศัพท์มือถือ และอินเตอร์เน็ต ทำให้การสืบค้นรวดเร็วแม่นยำ ได้ไม่น้อยหน้าการสืบค้นด้วยมือคน และนี่คือ ศักยภาพของการตอบปัญหาช่วยการค้นคว้า ขอจบเท่านี้ก่อน ถ้ามีเวลาว่าง จะเขียนมาอีก

ทรัพยากรสารสนเทศ ในห้องสมุดนั้น ตามหลักสูตรบรรณารักษ์นั้น มีหลายๆชนิด แต่ในสังคมทุกวันนี้ จะมีอยู่ประมาณ 3 ชนิด คือ หนังสือตำราที่เป็นกระดาษพิมพ์ CDหรือ DVD และ website งานทีหนักหนาสาหัส สำหรับบรรณารักษ์ในปัจจุบัน คือ การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และการแปลงไฟล จากกระดาษ เป็น e-books, การแปลงไฟล จากทรัพยากรสารสนเทศ ประเภท ฟิล์มภาพยนต์ สไลด์ ภาพนิ่ง วิดิโอเทป เทปบันทึกเสียง แปลงให้เป็น หรือบันทึกใหม่ลงใน CD เพือนำไปจัดเก้บไว้ใน storage server

เพื่อการเป็น digital library และ e-library

นอกจากนี้ อีกงานหนึ่งที่ บรรณารักษ์ จำเป็นต้องเรียนรู้ คือ เรื่อง e-Journal ที่จะต้องทำ index ของบทความเหล่านั้น ให้สืบค้นได้ เพราะทุกวันนี้ e-journal กำลังมีบทบาทสูงในสังคมการเรียนรู้ และจะจัดการ articles แบบที่มี fulltextให้สืบค้นได้อย่างไร และทำให้เหมือนกับ วารสารสิ่งพิมพ์กระดาษอย่างไรต่อไป ซึ่งจะใช้คำเรียกว่า Current Awareness

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท